"5 เทคโนโลยี" ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก แท็กซี่เริ่มต้นที่ 0.15 บาท ดูตอนนี้สิ

LIEKR:

ใครเกิดทันเคยเห็นบ้างไหม?

    หลายคนคงเคยสงสัยว่าในอดีตพวกเขาดำรงชีวิตกันอย่างไรโดยปราศจากเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบายเหมือนเช่นยุคปัจจุบัน วันนี้แอดมินก็เลยจะนำความรู้เกี่ยวกับ 5 สิ่งในอดีตที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยมาฝาก ว่าแล้วเราไปชอบกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง จะโบราณแค่ไหนกันเชียว...

    1.รถไฟสายปากน้ำ รถไฟสายแรกของประเทศไทย

 

Sponsored Ad

 

    โดยมีการบันทึกไว้ว่า ทางรถไฟสายปากน้ำ เปิดเดินขบวนรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 เป็นทางรถไฟเอกชนสายแรกของประเทศไทย ที่เดินรถจากสถานีรถไฟหัวลำโพง , กรุงเทพมหานคร กับสถานีรถไฟปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการเป็นระยะทางกว่า 21.3 กิโลเมตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2503 ซึ่งมีการก่อตั้งขึ้นก่อนการเดินรถของรถไฟหลวงสายกรุงเทพ-อยุธยาถึง 3 ปี

 

Sponsored Ad

 

    เส้นทางรถไฟดังกล่าวตกอยู่ในการบริหารกิจการของกรมรถไฟต่อ หลังสิ้นสุดสัมปทานในเวลา 50 ปี  แต่ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ยกเลิกเส้นทางรถไฟสายปากน้ำเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 และได้ขยายเป็นถนนพระราม 4 และถนนทางรถไฟสายเก่า

    2.รถเมล์คันแรกของประเทศไทย

    ผู้ริเริ่ม รถเมล์นายเลิศ หรือ รถเมล์ขาว เป็นรถโดยสารประจำทางสายแรกของไทย คือ พระยาภักดีนรเศรษฐ หรือ นายเลิศ เศรษฐบุตร ซึ่งเดิมทีเป็นกิจการบริการรถม้าเช่า นายเลิศเป็นผู้ออกแบบตัวรถเอง โดยคิดค่าโดยสารสำหรับรถม้าเดี่ยวชั่วโมงละ 75 สตางค์ รถม้าคู่ชั่วโมงละ 1 บาท แต่ภายหลังนายเลิศเห็นว่าเป็นการทรมานสัตว์ จึงคิดเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2453

 

Sponsored Ad

 

    กิจการรถเมล์นายเลิศ ดำเนินการมานานถึง 70 ปี ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในกรุงเทพฯ ถึง 36 สาย มีรถประมาณ 700 คัน มีพนักงาน 3,500 คน นับเป็นบริษัทรถเมล์ที่ใหญ่ที่สุด แต่ได้เลิกกิจการลงในปี พ.ศ. 2520  เมื่อรัฐบาลมีนโยบายรวมกิจการรถเมล์ทุกสายในกรุงเทพมหานครมาอยู่ในความดูแลของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ

    3.แท็กซี่คันแรกของประเทศไทย

 

Sponsored Ad

 

    ในประเทศไทย เริ่มมีแท็กซี่ให้บริการเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2466 โดยพระยาเทพหัสดิน ร่วมกับ พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท แท็กซี่สยาม ขึ้นเป็นครั้งแรก

    โดยมีรถให้บริการ 14 คัน คิดค่าบริการตามไมล์ ไมล์ละ 0.15 บาท (1 ไมล์ = 1.609344 กิโลเมตร) โดยใช้รถยนต์ยี่ห้อออสติน แต่ประสบปัญหาขาดทุน จึงต้องล้มเลิกกิจการไป

 

Sponsored Ad

 

    แต่ในปี พ.ศ. 2490 ก็ได้มีเจ้าของธุรกิจเอกชนบางรายมีความคิดริเริ่มที่จะฟื้นฟูกิจการแท็กซี่ในประเทศไทยขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยในช่วงแรกจะนิยมใช้รถยนต์ยี่ห้อเรโนลต์ ยุคต่อมาก็เปลี่ยนกลับมานิยมยี่ห้อออสติน ตามด้วยรถ ดัทสัน บลูเบิร์ด, และโตโยต้าในที่สุด

 

Sponsored Ad

 

.

    4.คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย

    คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทนคือ IBM 1620

Sponsored Ad

    คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดย  ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแรก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 ( ในขณะนั้นประมาณ 2 ล้านบาทเศษ) ซึ่งติดตั้งที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ๆโดยเริ่มมีการใช้ในการศึกษา วิจัย การพัฒนาสถิติของประเทศเป็นสถาบันแรก เน้นในด้านการปฏิบัติงานสำมะโนและในด้านการค้นคว้า และวิจัยนานาประการ  ซึ่งหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา และสิงคโปร์ก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ถึงกับส่งเจ้าหน้าที่มาดูการ ปฏิบัติงานของเครื่องอีกด้วย เนื่องจากประเทศเหล่านั้นยังไม่มี ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)เครื่องนี้อยู่ที่ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯไปแล้ว

    5.โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกของไทย

    ปี พ.ศ. 2529 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้เริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยนำระบบ NMT (Nordic Mobile Telephone System) ซึ่งมีให้บริการในประเทศแถบสแกนดิเนเวียน แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องความถี่ในการนำมาให้บริการจาก ความถี่ 450MHz เป็น 470MHz จึงเป็นที่มาของชื่อระบบ NMT470 

    ซึ่งนับเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแรกของประเทศไทย ระยะแรกให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมลฑลและจังหวัดชายฝั่งด้านตะวันออก ก่อนขยายบริการไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ลักษณะของเครื่องลูกข่ายของระบบ NMT470 จะมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 1-5 กิโลกรัม ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบมือถือเช่นปัจจุบัน บางครั้งผู้ใช้จึงเรียกว่าโทรศัพท์กระเป๋าหิ้ว

ที่มา : รายงานฉบับไม่รีบร้อน

บทความที่คุณอาจสนใจ