มหัศจรรย์! ชาวบ้านร่วมใจถักทอ "ต้นหญ้า" เล็กๆ จนเป็นสะพานใหญ่มหึมา มานับพันๆ ปี

LIEKR:

ภูมิปัญญาที่จะไม่มีให้เห็นอีกแล้ว! สะพานถัก จาก "ต้นหญ้า"

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

        ใครจะไปเชื่อว่า แค่ "ต้นหญ้าเล็กๆ" พอมามัดรวมกันด้วยแรงใจของชาวบ้าน จะกลายเป็นสะพานแข็งแกร่งขนาดมหึมาที่ข้ามแม่น้ำกว่า 118 ฟุตได้! นี่คือเรื่องราวของ "สะพานเกสวาชาก้า" หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า "Keshwa Chaca" สะพานเชือกถักด้วยมือหนึ่งในไม่กี่ที่ของชนเผ่าอินคาที่ยังหลงเหลืออยู่ 

        ในสมัยก่อนสะพานเชือกนี้ถือเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยในการใช้เพื่อคมนาคมของเผ่าอินคา สะพานถักมาจากหญ้าทอรวมกันเป็นความยาวกว่า 118 ฟุตและแขวนอยู่บนหน้าผาสูง 60 ฟุตเหนือแม่น้ำแม่น้ำอาปูริแมค ที่ไหลผ่านระหว่างหุบเขาในเมืองคุซโก แถบเทือกเขาแอนดีสของประเทศเปรู 

 

Sponsored Ad

 

        โดยในการสร้างสะพานนั้น หญ้า Qoya คือหญ้าที่สำคัญในการสร้างสะพาน มันจะถูกนำมาผ่านขบวนการเพื่อนำไปเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างสะพาน หญิงสาวชาวอินคาจะถักหญ้าให้เป็นเชือกเส้นบางๆ ก่อนจะนำไปให้ผู้ชายในเผ่าถักรวมกันจนกลายเป็นเชือกเส้นหนาอีกทีหนึ่ง สะพานเชือกถักกลายเป็นระบบคมนาคมของชาวอินคามานานกว่า 500 ปี

 

Sponsored Ad

 

        เชือกเส้นใหญ่มีจำนวน 6 เส้น ที่จะถูกนำมาใช้เป็นโครงสร้างหลักของสะพาน เหล่าผู้ชายจะช่วยกันลำเลียงเชือกเส้นใหญ่ ข้ามไปอีกฟากหนึ่ง

ภาพจาก JORDI BUSQUE

 

Sponsored Ad

 

ภาพจาก JORDI BUSQUE

        ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันใช่ว่าจะไม่สามารถจะสร้างสะพานสมัยใหม่ได้ แต่ เพื่อเป็นการรำลึกถึงรากเหง้า ตัวตนพวกเขาจึงยังคงสร้างสะพานตามวิธีโบราณสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

 

Sponsored Ad

 

        นอกจากจะมีหน่อยสร้างสะพาน ลำเลียงเชือก และถักทอเชือกแล้ว ยังมีหน่วยเสบียงอาหารที่สำคัญไม่แพ้ใคร ซึ่งก็คือชาวบ้านในหมูบ้านที่สมัครใจมาเองนั่นเอง

        เมื่อสามารถนำเชือกข้ามมาอีกฝั่งได้ ทุกคนจะช่วยกันดึงเพื่อให้เชือกตึงไม่ตก โดยพื้นทางเดินสะพานจะใช้เชือกเส้นใหญ่ 4 เส้น และส่วนราวสะพานอีกข้างละ 1 เส้น

 

Sponsored Ad

 

        พวกเขาจะใช้เชือกเส้นเล็กถักทอยึดเชือกทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง

 

Sponsored Ad

 

        ทั้งสองฝั่งจะค่อยๆ ถักทอโยงยึดสะพานเข้าหากัน ทั้งหมดนี้ใช้แค่ ต้นหญ้า และมือมนุษย์เท่านั้น

        อย่างไรก็ตามสะพานเชือกแห่งนี้ก็ได้เก่าและทรุดโทรมลงไปทุกที จึงได้มีการถอดสะพานและสร้างขึ้นใหม่จนกลายเป็นประเพณีประจำปีภายใต้กฎของชาวอินคา ซึ่งได้มีการรักษาไว้เพื่อเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างวัฒนธรรมและธรรมชาติของชนเผ่า นอกจากนี้สะพานเชือกเกสวาชาก้ายังได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี 2014 อีกด้วย

Sponsored Ad

        ไปดูวิถีชีวิตของพลังความสามัคคีของพวกเขากันเลย

ชมคลิป...

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ที่มา : bbc, winnews

เรียบเรียงโดย LIEKR