ลาว ส่งออกยางพารา-กล้วย ให้จีน เติบโตต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน ทำรายได้เข้าประเทศได้กว่า 6.8 พันล้านบาท

LIEKR:

คนตกงานน้อยลง ประชาชนมีรายได้มากขึ้น น่าชื่นชมจริง ๆ

    กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของลาว เผยผลสำเร็จเชิงพาณิชย์ในการผลักดันมูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางการเกษตร อย่างยางพาราและกล้วย ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงขึ้น พร้อมราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์

    หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์ส ของลาวรายงานว่า ลาวทำรายได้ 153.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 4,800 ล้านบาท จากการส่งออกยางพาราในปี 2017 ก่อนเพิ่มเป็น 168.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือาว 5,260 ล้านบาท ในปี 2018 และเกือบ 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 6,810 ล้านบาทในปี 2019

 

Sponsored Ad

 

    การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ปี สะท้อนว่าสินค้าโภคภัณฑ์กำลังประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์

    ขณะเดียวกัน พืชผลทางการเกษตรที่ทำรายได้ส่งออกสูงสุดในปี 2018 ได้หล่นลงมาอยู่อันดับ 2 ในปี 2019 โดยการส่งออกวัวควายปรับตัวแซงหน้าขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 แทน ขณะที่มูลค่าการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นตามจำนวนต้นยางใหม่

 

Sponsored Ad

 

    ทั้งนี้ จีน เป็นผู้นำเข้ายางพาราของลาวรายใหญ่ โดยสั่งซื้อ 10,000 ตันในปี 2017 และสั่งซื้อยางพาราที่ผลิตในแขวงหลวงน้ำทาชุดใหญ่ในปี 2019 ส่วนปี 2020 หน่วยงานพาณิชย์ท้องถิ่นดังกล่าวเผยว่า โควตาการส่งออกยางพาราได้เพิ่มขึ้นเป็น 20,000 ตัน อีกทั้งยังยืนยันว่า การระบาดของไวรัสโควิด19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางพาราจากแขวงหลวงน้ำทาทางตอนเหนือของลาวสู่จีนตามปกติ

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ลาวยังเปิดเผยว่า กล้วย ได้กลับมาเป็นสินค้าเกษตรที่สามารถสร้างรายได้สูงสุดในบรรดาสินค้าเกษตรทั้งหมดของประเทศอีกครั้ง โดยปีที่ผ่านมา ลาวได้ส่งออกกล้วยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนและไทย เพิ่มขึ้นราว 198 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 6,200 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าสูงกว่าช่วงหลายปีก่อนหน้านี้

    โดยในปี 2017 ลาวทำรายได้จากการส่งออกกล้วย 167.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 5,300 ล้านบาท ทว่ากลับลดลงมาอยู่ที่ 112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3,500 ล้านบาทในปี 2018 รั้งอันดับ 4 ในกลุ่มสินค้าเกษตรที่ทำรายได้จากกส่งออกมากที่สุด เป็นรองสินค้าส่งออกอย่างวัวควาย ผลิตภัณฑ์ยางพาราและเยื่อไม้กับเศษกระดาษ

Sponsored Ad

    สำหรับสาเหตุที่ทำให้กล้วยของลาวส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายระบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) หรือการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าระหว่างฝ่ายเกษตรกรกับคู่สัญญาในพื้นที่ปลูกกล้วยหลายแห่ง ซึ่งช่วยสร้างโอกาสในการทำงาน ลดการตกงานของประชาชน และรายได้ให้แก่คนท้องถิ่นที่มีฐานะยากไร้ได้อีกด้วย

ข้อมูลและภาพ จาก businesstoday

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ