หมู่บ้าน "ผู้หญิงไร้มดลูก" กับเหตุผลเพราะต้องตัดอ้อย อายุน้อยสุดคือ 20 ปี!

LIEKR:

แบบนี้ก็ได้หรอ!

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ 

    สื่อต่างประเทศรายงานว่า ณ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย มีทัศนคติเชิงลบต่อ "การมีประจำเดือนของสตรี" เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมอินเดียมาช้านาน

    ทัศนคติเชิงลบต่อการมีประจำเดือนของสตรีเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมอินเดียมาช้านาน โดยผู้คนมีความเชื่อว่าผู้หญิงที่กำลังมีรอบเดือนนั้นไม่บริสุทธิ์ และพวกเธอจะถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมในงานทางสังคมหรือพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ

 

Sponsored Ad

 

    แม้ปัจจุบันความเชื่อที่ล้าสมัยเหล่านี้จะเริ่มถูกท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะจากกลุ่มสตรีผู้มีการศึกษา อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้เพิ่งจะมีข่าวที่น่าตกใจว่าผู้หญิงวัยมีประจำเดือนในอินเดียจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไร้การศึกษา กำลังถูกบังคับให้เลือกทำในสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของพวกเธอในระยะยาวและไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขให้เป็นดังเดิมได้

 

Sponsored Ad

 

    เรื่องนี้เกิดขึ้นในรัฐมหาราษฏระ ทางภาคตะวันตกของอินเดีย โดยสื่อมวลชนในอินเดียรายงานว่า มีหญิงสาวหลายพันคนเข้ารับการผ่าตัดเอามดลูกออก ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่าหญิงสาวกลุ่มนี้จำนวนมากเข้ารับการผ่าตัดเพื่อให้ได้งานเป็นคนตัดอ้อย

    ในแต่ละปีชาวบ้านจากพื้นที่ยากจนในรัฐมหาราษฏระจะเดินทางเข้าไปขายแรงงานเป็นคนงานตัดอ้อยตามพื้นที่ปลูกอ้อยทางฝั่งตะวันตกของรัฐ ซึ่งที่นั่น ชะตากรรมของพวกเขาต้องตกไปอยู่ในเงื้อมมือของบรรดานายทุนผู้ทำธุรกิจรับเหมาตัดอ้อยที่หาทางเอารัดเอาเปรียบพวกเขาในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะกับคนงานผู้หญิง

 

Sponsored Ad

 

    ผู้รับเหมาเหล่านี้มักไม่ค่อยอยากรับคนงานผู้หญิง เพราะการตัดอ้อยเป็นงานหนัก และผู้หญิงต้องลางาน 1-2 วันในช่วงที่มีประจำเดือน และหากพวกเธอหยุดงานไปก็จะต้องเสียเงินค่าปรับ

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้ สภาพความเป็นอยู่ของคนงานตัดอ้อยก็ห่างไกลจากความสะดวกสบาย ครอบครัวคนงานจะต้องพักอยู่ในกระท่อมหรือเต็นท์ใกล้ไร่อ้อย ซึ่งไม่มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ และการที่งานตัดอ้อยอาจต้องทำไปจนดึกดื่นค่ำคืน จึงไม่มีเวลานอนหรือตื่นนอนที่ตายตัว สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นความยากลำบากอย่างยิ่งยวดสำหรับผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน

    กลุ่มนักรณรงค์ในพื้นที่ระบุว่า ปัญหาด้านความสะอาดและสุขอนามัยดังกล่าว ทำให้คนงานหญิงหลายคนเกิดภาวะติดเชื้อ และหมอที่ไร้จรรยาบรรณก็สนับสนุนให้พวกเธอผ่าตัดเอามดลูกออกไปโดยที่ไม่จำเป็น แม้ว่าบางครั้งคนงานหญิงเหล่านี้จะไปพบแพทย์ด้วยปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาก็ตาม

 

Sponsored Ad

 

    การที่คนงานหญิงเหล่านี้มักแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย และหลายคนมีลูก 2-3 คนเมื่ออายุย่างเข้า 25 ปี รวมทั้งการที่หมอไม่ได้บอกถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเอามดลูกออก พวกเธอหลายคนจึงคิดว่าการเอามดลูกออกเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ นี่จึงทำให้หลายหมู่บ้านในภูมิภาคนี้กลายเป็น "หมู่บ้านผู้หญิงไร้มดลูก"

 

Sponsored Ad

 

    หลังจากเรื่องนี้ตกเป็นข่าวใหญ่ และมีการหยิบยกขึ้นหารือในที่ประชุมสภาท้องถิ่นของรัฐมหาราษฏระเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา รัฐมนตรีด้านสาธารณสุขของรัฐก็ออกมายอมรับว่า ในเขตหนึ่งของรัฐมหาราษฏระ มีผู้หญิงผ่าตัดเอามดลูกออกประมาณ 4,605 ราย แต่ก็ใช่ว่าผู้หญิงทุกรายเป็นคนงานตัดอ้อย ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบกรณีเหล่านี้แล้ว

    ผู้สื่อข่าวบีบีซี จากรัฐมหาราษฏระ ซึ่งลงพื้นที่ตรวจสอบในหมู่บ้านหนึ่งของเขตดังกล่าว พบข้อมูลว่าระหว่างเดือน ต.ค.-มี.ค. ของทุกปี ชาวบ้านที่นี่ราว 80% จะเข้าไปขายแรงงานเป็นคนตัดอ้อย และกว่าครึ่งของผู้หญิงในหมู่บ้านได้ผ่าตัดเอามดลูกออก ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอายุต่ำกว่า 40 ปี และมีผู้ที่อยู่ในวัย 20 ปีเศษด้วย

Sponsored Ad

    ผู้หญิงหลายคนเล่าให้ผู้สื่อข่าวบีบีซีฟังว่า สุขภาพของพวกเธอย่ำแย่ลงนับตั้งแต่เข้ารับการผ่าตัด ผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่า "มีอาการปวดเรื้อรังที่หลัง คอ และหัวเข่า" ขณะที่อีกคนเล่าว่าเวลาที่ตื่นตอนตอนเช้าจะมีอาการ "บวมที่มือ เท้า และใบหน้า" ส่วนคนอื่นบอกว่ามี "อาการเวียนศีรษะตลอดเวลา" จนทำให้เดินเหินไม่ได้ตามปกติ แม้จะในระยะใกล้ ๆ ก็ตาม ปัญหาเหล่านี้ทำให้พวกเธอไม่สามารถทำงานตามไร่อ้อยได้อีกต่อไป

    ข่าวที่เผยแพร่ออกมา ทำให้ทางการเริ่มหันมาสนใจเรื่องนี้ คณะกรรมการสตรีแห่งชาติของอินเดีย ชี้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในรัฐมหาราษฏระเป็น "เรื่องน่าสลดใจและลำเค็ญ" พร้อมเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของรัฐป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องทำนองนี้ขึ้นอีกในอนาคต

    ในอินเดียเอง ทางการรัฐพิหารก็มีนโยบายที่อนุญาตให้ลูกจ้างหญิงลางานได้เดือนละ 2-3 วันในช่วงที่มีประจำเดือน มาตั้งแต่ปี 1992 และเมื่อปี 2018 ส.ส.หญิงคนหนึ่งของอินเดียได้เสนอร่างกฎหมาย "สวัสดิการผู้มีประจำเดือน" ต่อรัฐสภา เพื่อให้ลูกจ้างหญิงทุกคนในอินเดียสามารถลางานได้เดือนละ 2 วันในช่วงที่มีรอบเดือน

    อุรวาสี ปราสาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะจาก นิติ อายอก หน่วยงานวิจัยของรัฐบาลอินเดีย ระบุว่า มีความท้าทายหลายประการในการดำเนินนโยบายระดับชาติในประเทศที่มีขนาดใหญ่อย่างอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเอกชน แต่หากมีการริเริ่มในภาครัฐ ก็จะช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคม และช่วยขจัดมุมมองเชิงลบต่อเรื่องการมีประจำเดือนในอินเดียให้หมดไปในอนาคต

    ชมคลิป

 

    คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<


ที่มา:news.tvbs,thehushpost

เรียบเรียงโดย Liekr

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ