ชายชราวัย 81 ปี ผู้มีงานหลักเป็น "นักบริจาคเลือด" บริจาคไป 1,173 ครั้ง ช่วยคนมากกว่าล้านคน

LIEKR:

"ผมจะบริจาคต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าหมอจะไม่ให้ผมทำแล้ว"

    ถึงจะไม่ได้มีเงินทองมากมาย ไม่ได้มีอำนาจใหญ่โต แต่คุณก็สามารถเป็นคนดีที่ช่วยชีวิตคนบนโลกได้ เพียงแค่มีจิตใจเมตตา พร้อมเสียสละเพื่อผู้เดือดร้อนโดยไม่หวังผลตอบแทน

    ตอนที่เจมส์ แฮร์ริสัน(James Harrison)วัย 81 ปีจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย อายุได้ 14 ปีเขาป่วยหนักมาก หลังเข้ารับการผ่าตัด แอนติบอดีที่หาได้ยากก็สามารถสร้างตัวในเลือดของเขาในชั่วข้ามคืน และสามารถเอาไปทำยาเพื่อป้องกันโรค hemolytic ของทารกแรกเกิด (HDN) เพื่อช่วยชีวิตทารกที่ยังไม่คลอด

 

Sponsored Ad

 

    ต่อมาเขาจึงไปบริจาคเลือดเป็นระยะๆ ติดต่อกันมากว่า 60 ปี และได้ช่วยชีวิตเด็กทารกแรกเกิดไปกว่า 2.4 ล้านคน

 

Sponsored Ad

 

    แฮร์ริสันเป็นที่รู้จักในวงการแพทย์ว่า “ชายผู้มีแขนดั่งทอง” หลังเข้ารับการผ่าตัด เขาจึงต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานถึง 3 เดือน ได้รับการถ่ายเลือดถึง 13 ครั้ง และได้รับแอนติเจน Rh จากพลาสมาในเลือดโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งสามารถนำมาสร้าง “แอนติบอดี Anti-D” ใช้ในการรักษาโรค hemolytic ในทารกแรกเกิด

    โดย Neonatal hemolysis มันจะเกิดกับทารกที่แม่มีเลือด RhD-negative ถ้าทารกในครรภ์มีเลือดของพ่อซึ่งก็คือ RhD-positive ร่างกายของแม่จะสร้างสารขึ้นมาต่อต้านและปฏิเสธทารกในครรภ์และและโจมตีเซลล์เม็ดเลือดแดงเกิดอาการ hemolytic ทำให้โลหิตจาง ในรายที่อาการหนักๆ ทารกอาจจะมีปัญหาด้านสมอง ไม่สมบูรณ์ครบ 32 หรือแม้กระทั่งไม่รอด

 

Sponsored Ad

 

    เมื่อแพทย์พบว่าในเลือดของแฮร์ริสันมีแอนติบอดีพิเศษ ก็เชิญเขาให้เข้าร่วมงานด้านการแพทย์หลังอายุครบ 18 ปี เพื่อเอาเลือดที่เขาบริจาคมาผลิต แอนติบอดี anti-D เพื่อช่วยเหลือคุณแม่ตั้งครรภ์

 

Sponsored Ad

 

    เริ่มตั้งแต่อายุ 21 ปี ทุกๆ 1 หรือ 2-3 สัปดาห์ แฮร์ริสัน จะไปบริจาคเลือด 500-800 มิลลิลิตร โดย 60 ปีมานี้แขนขวาของเขาโดนเข็มมาแล้วถึง 1,162 ครั้ง และแขนซ้าย 10 ครั้ง สร้างแอนติบอดี anti-D ได้ 3 ล้านโดส ในออสเตรเลียคุณแม่ตั้งครรภ์ 17% ได้รับการฉีดยาชนิดนี้ และ แฮร์ริสัน ได้ช่วยชีวิตเด็กทารกไว้กว่า 2.4 ล้านคน

.

 

Sponsored Ad

 

    ตามสถิติ ในออสเตรเลียมีคนที่มีแอนติบอดีชนิดพิเศษนี้ไม่เกิน 50 คน และ แฮร์ริสันก็เป็นหนึ่งในนั้น หลายปีมานี้คุณแม่และเด็กทารกทั้งหลายที่ได้รับความช่วยเหลือจากเขารู้สึกขอบคุณมาก เพราะว่ามีเลือดของแฮร์ริสัน ถึงทำให้ทารกน้อยที่น่ารักออกมาลืมตาดูโลกได้อย่างปลอดภัย

 

Sponsored Ad

 

    คนภายนอกเรียกแฮร์ริสันว่า “ฮีโร่ออสเตรเลีย” และมอบ "เหรียญออสเตรเลีย" ให้เขาด้วย แต่แฮร์ริสันเองก็ถ่อมตัวมาก เขาคิดว่านี่เป็นสิ่งที่เขาควรทำ "การบริจาค โลหิตเป็นเพียงความสามารถที่ผมทำได้ตอนนี้เท่านั้น

    แม้ว่าจะบริจาคเลือดมากว่าพันครั้ง แต่ทุกครั้งที่ แฮร์ริสัน เห็นเข็มหรือเลือดก็ยังกลัวอยู่ พร้อมบอกว่า : “ผมไม่เคยกล้ามองตอนที่เข็มเข้าไปในแขนเลย”

Sponsored Ad

    อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการบริจาคโลหิตตามกฎหมายของออสเตรเลียมีสามารถบริจาคได้จนถึงอายุ 81 ปี แฮร์ริสันถึงเกณฑ์แล้ว และศูนย์บริจาคโลหิตทางการแพทย์ห้ามไม่ให้เขาบริจาคเลือดอีก เพื่อสุขภาพของตัวเขาเอง ดังนั้นแฮร์ริสันจึงต้องเกษียณอายุตัวเอง

    ในวันที่แฮร์ริสันมาบริจาคเลือดครั้งสุดท้ายเขาเศร้ามาก “การที่ต้องหยุดบริจาคเลือดทั้งที่ทำมานานทำให้ผมเสียใจมาก ถ้ารัฐบาลและโรงพยาบาลยอมรับ ผมก็ยินดีจะบริจาคเลือดต่อไป เพราะนี่เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของผม”

ชมคลิป...

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก <<<

    บริจาคเลือดช่วยคนมาอย่างต่อเนื่อง 60 ปี การทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้จะถูกเรียกว่า “วีรบุรุษ” ก็ไม่แปลก!

ที่มา : LIEKR

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ