สาวญี่ปุ่นเผย "ฮาวทูทิ้ง" เคล็ดลับทิ้งยังไงให้บ้านไม่รก ชีวิตดีขึ้นทันตาเห็น!

LIEKR:

สาวญี่ปุ่นเผย "ฮาวทูทิ้ง" เคล็ดลับทิ้งยังไงให้บ้านไม่รก ชีวิตดีขึ้นทันตาเห็น!

    ใครๆก็อยากมีบ้านที่โล่งสะอาด อยู่แล้วสบายใจด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็คงจะเป็นเรื่องยากหาก หลับหูหลับตากวาดทุกอย่างใส่ถุงดำ แล้วสามารถเสกข้าวของรกรุงรังในบ้านให้หายวับไปกับตาได้ง่ายๆ โดยไม่รู้สึกรู้สาอะไร การเก็บ, การทิ้ง และการคัดแยก จึงสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ในการจัดบ้านใหม่ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม

    มาริเอะ คนโดะ สาวญี่ปุ่นวัย 34 ปี ปัจจุบันเธอแต่งงานมีสามีและลูก 2 คน ขณะนี้อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา หากย้อนกลับไปในวัยเด็กมาริเอะเป็นเด็กสาวผู้มี Passion อย่างแรงกล้าในการเป็นแม่ศรีเรือน โดยเธอชอบอ่านหนังสือในหมวดหมู่ของแม่บ้านตั้งแต่เด็ก ในขณะที่เพื่อนๆ ไปวิ่งเล่น เธอก็จะอ่านหนังสือแม่บ้านและขมักเขม้นกับการจัดตู้หนังสือของโรงเรียน 

 

Sponsored Ad

 

    จนวันนึงในขณะที่เธอเรียนมัธยม เธอได้พบกับหนังสือ “เทคนิคในการทิ้ง” ของ “นะกิสะ ทัตซึมิ” เธอหลงใหลมันอย่างมากและ อ่านตลอดทางที่นั่งรถไฟกลับบ้าน และลงมือทิ้งของในห้องทันทีที่เธอกลับมาถึงบ้าน เธอพบว่า แม้ห้องเธอจะเล็กแต่กลับมีขยะถึง 8 ถุง และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเป็นนักจัดบ้าน และเริ่มอาชีพที่ปรึกษาด้านการจัดบ้านในขณะที่เธออายุเพียง 19 ปี

 

Sponsored Ad

 

    ต่อมาหนังสือของมาริเอะดังเป็นพลุแตก และถูกนำไปแปลหลายภาษาโดยครั้งนี้ มาริเอะ คนโดะ จะเข้าไปช่วยจัดระเบียบบ้าน ของคุณ Shimizu นักแสดงรุ่นเก๋าในญี่ปุ่น

    เปิดบ้านออกมาบ้านกว้างขวางอยู่นะ แต่วางของรกไปหมดเลย 

 

Sponsored Ad

 

ตู้เสื้อผ้าเอย กองผ้าที่ถอดไว้แล้วยังไม่ได้ซักเอย โดย มาริเอะ ขอเวลาแค่ 2 วันเท่านั้น บ้านนี้จะเป็นระเบียบมากๆ คอยดูกันเลย

 

Sponsored Ad

 

    เทคนิคสำคัญในการจัดบ้านอันแรกที่คุณ มาริเอะ แนะนำ คือ ลำดับในการจัดบ้าน ให้เริ่มต้นจาก “เสื้อผ้า” เป็นอันดับแรก เพราะมีจำนวนมากสุด และเห็นการเปลี่ยนแปลงง่ายสุด ถ้าเรารู้สึกถึง “ความสำเร็จ” จากจุดเริ่มต้นตรงนี้ ก็จะทำให้เรามีแรงใจในการจัดระเบียบในขั้นตอนต่อๆ ไป

โดยลำดับการจัดระเบียบบ้านแนะนำตามนี้

    1. เสื้อผ้า

 

Sponsored Ad

 

    2. หนังสือ เอกสาร

    3. ของชิ้นเล็กๆ กระจุกกระจิก

    4. ของที่มีคุณค่าต่อความทรงจำ สังเกตนะครับว่า ของที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำจะอยู่อันดับสุดท้ายเลย เพราะมันยากมาก และต้องทำใจเยอะ ถ้าเราทำได้ 1-3 แล้ว ก็จะช่วยให้ข้อ 4 ทำง่ายขึ้น

    ขั้นตอนก็ง่ายๆ เพียง “เอาของทั้งหมดออกมากอง” การที่เราจะทิ้งอะไรได้ เราต้องรู้ก่อนว่าเรามีอะไรให้ทิ้งบ้าง โดย หยิบของขึ้นมาที่ละชิ้นสัมผัสมัน รู้สึกถึงมัน ถ้าเรารู้สึกอบอุ่นโรแมนติกกับมันหรือที่ มาริเอะ เรียกว่า Spark Joy ก็เก็บมันเอาไว้ค่ะ แต่ถ้าไม่รู้สึกกับมันก็บอกขอบคุณอย่างจริงใจและวางลงกล่องเพื่อนำไปบริจาคต่อไปค่ะ

 

Sponsored Ad

 

หมวดหมู่ที่ 1 เสื้อผ้า

    เทคนิคการเก็บเสื้อผ้าคือเมื่อเราเปิดตู้เราต้องเห็นทุกอย่างที่เรามี เพราะฉะนั้นนอกเหนือจากการเเขวน มาริเอะยังมีเทคนิคการพับ เพราะถ้าเราพับเเล้วซ่อนๆกันเราก็จะหยิบแต่ตัวเก่าๆอ่ะ ตัวล่างๆก็นะไม่ได้หยิบ วิธีของมาริเอะจึงช่วยให้เราเห็นเสื้อทุกตัวเเละหยิบง่ายขึ้น ไม่ต้องรื้อให้รก แล้วพอเราไม่ต้องหา เราก็ประหยัดเวลา เราก็ใช้เวลาแต่งตัวน้อยลงเอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้มากขึ้น 

    มาริเอะ เผยว่า คนส่วนใหญ่พอหยิบเสื้อขึ้นมาแล้ว ในใจจะคิดถึงอดีตของเสื้อผ้าตัวนั้นๆ เราเคยชอบ เราเคยว้าวนะ แต่หลักการสำคัญคือ อย่ายึดติดกับอดีต ให้ใช้เกณฑ์ว่า “ปัจจุบัน” ยังรู้สึกว้าวอยู่หรือเปล่า

Sponsored Ad

.

หมวดที่ 2 หนังสือและเอกสาร

    สำหรับหนังสือคงขัดใจคนรักหนังสือสักหน่อย แต่มาริเอะให้เเง่คิดว่าหนังสือเป็นการบอกตัวตนและ เรื่องที่เราสนใจเวลานั้น คนส่วนใหญ่เมื่ออ่านหนังสือจบแล้วจะไม่ย้อนกลับมาอ่านเล่มเดิมอีก ให้ถือว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ทำหน้าที่ของมันเสร็จสิ้นแล้ว ทิ้งได้เลยจ้า 

   บางครั้งเราเก็บหนังสือเก่าของเราไว้ ทั้งๆที่เราอาจจะไม่ได้สนใจเรื่องนั้นๆแล้ว การที่เราส่งต่อหนังสือไปให้คนอื่นจึงเป็นเรื่องที่ไม่เลวร้ายอะไร และเมื่อเรามีพื้นที่มากขึ้น เราก็จะได้รับสิ่งใหม่ๆ เข้ามาได้มากขึ้นอีกด้วย

 

    ต่อมาคือ เอกสาร บางคนชอบเก็บเอกสาร กลัวว่าวันนึงต้องใช้มัน มาริเอะบอกว่าไม่ต้องกังวลหรอกเพราะในชีวิตจริงไม่มีใครได้ใช้มันหรอก ฉะนั้นเก็บแต่ที่จำเป็น กล่องไอโฟน ไอแพดก็ทิ้งได้นะ ความจริงคือมันก็ไม่ได้ราคาอะไรมากหรอก คู่มือก็ทิ้งไปได้นะ เพราะเปิด Google ตามที่นายกบอกอาจจะง่ายกว่า หรือไม่หากเกิดปัญหาอะไรโทรถามผู้ผลิตจะง่ายสุด


หมวดที่ 3  ของชิ้นเล็กๆ กระจุกกระจิก 

    อย่างเคสของคุณ Shimizu นี่ยาเต็มเลย ยาหมดอายุทั้งนั้นตั้งแต่ปี 2006 แบบนี้ก็ต้องทิ้ง เอาจริงๆ นะถ้าเราไม่เอามันออกมาดู หรือไม่ได้ตั้งใจจะทำความสะอาดก็จะไม่ค่อยเห็นของพวกนี้จริงๆ 


พวกสายอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่คิดว่าจะได้ใช้ แต่จำไม่ได้ว่ามันคือสายอะไรก็ทิ้งไปเลย

   อันนี้คล้ายๆกับเสื้อผ้านั่นแหละคือเก็บเฉพาะที่จำเป็นและ จัดหมวดหมู่ตามขนาด กล่องจัดระเบียบจะมีประโยชน์มาก เพราะมันมีหลายขนาด ฉะนั้นเอากล่องมาช่วยจัดระเบียบเพื่อให้หาง่ายไม่กระจาย

หมวดที่ 4 ของที่มีคุณค่าทางจิตใจ

    เช่น รูปถ่ายครอบครัว เสื้อผ้าของผู้ที่จากไป หมวดนี้คงเป็นหมวดที่จัดการยากที่สุด จึงเป็นหมวดสุดท้ายของการจัดเก็บ เพราะเราจะใช้เวลารำลึกความหลังนานมากๆ กับหมวดนี้ มาริเอะบอกว่า เราสามารถเก็บได้แต่ไม่ใช่เก็บทั้งหมดเลือกอันที่มีคุณค่าทางจิตใจให้รำลึกถึงจริงๆ เพราะการเก็บมาจาก 2 ปัจจัยคือ การยึดติดกับอดีตและการกังวลกับอนาคต แต่เราไม่ต้องกังวลหรือยึดติดอะไรเลย

"สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญคือ ตัวเราในปัจจุบัน"

เอาล่ะมาดู ระหว่าง Before และ After กันดีกว่า

.

.

.

    จะเห็นได้ว่าต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลย เหมือนได้ห้องใหม่คืนมา แล้วพอห้องที่เราอาศัยอยู่มีแต่ความโล่งสบาย ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ประหยัดเวลาขึ้น หงุดหงิดน้อยลง มันจะช่วยให้วิธีคิดของเราดีขึ้นตามกันไปด้วย อย่าลืมไปลองทำกันดูนะ!

ข้อมูลและภาพจาก มาริเอะ คนโดะ / JapanSalaryman

บทความที่คุณอาจสนใจ