ไขข้อข้องใจ ประโยชน์ของ "รูเล็กข้างหู" ผลพวงจากพัฒนาการตั้งแต่กำเนิด น้อยคนนักที่จะมี

LIEKR:

"รูเล็กๆ ตรงใบหู" มันเกิดขึ้นได้ยังไง มีไว้ทำไม? รู้หรือเปล่าว่าอาจจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

    ลักษณะโดยปกติของมนุษย์นั้น มีทั้งหมด 32 ประการด้วยกัน แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีครบ หรือมีเกิน เว็บไซต์ Businessinsider ได้นำคำตอบมาให้ใครหลายคนที่กำลังสงสัยอยู่ได้กระจ่าง ว่าทำไมบางคนถึงได้มีรูเล็กๆ ตรงใบหู ในขณะที่อีกหลายคนไม่มี

    ไม่ว่าจะเป็นดวงตาสองสี นิ้วเกิน หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาผ่านร่างกายก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจทั้งสิ้น อีกสิ่งหนึ่งเล็กๆ ใกล้ตัวเราที่ไม่อาจทันสังเกตเห็นกันก็คือ บางคนจะมีรูเล็กๆ บริเวณข้างหูอยู่ด้วย ชื่อของมันก็คือ preauricular sinuses 

 

Sponsored Ad

 

    รูเล็กข้างหูนั้นมีอีกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น preauricular pit, preauricular tract, and preauricular cyst ถือว่าเป็นลักษณะหนึ่งของความผิดปกติแต่กำเนิดในขั้นตอนการพัฒนาหูและใบหน้า

 

Sponsored Ad

 

    ความพิเศษเล็กน้อยเช่นนี้พบการรายงานครั้งแรกในปี 1864 จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ Van Heusinger มักจะพบได้บริเวณหน้าหูส่วนบน และมักจะเกิดขึ้นหนึ่งหรือทั้งสองข้าง รูเปิดที่ผิวหนังมีลักษณะกลมเล็กขนาด 1-2 มิลลิเมตร มีความลึกประมาณ 2 เซนติเมตร

    นอกจากนั้นแล้วรูเล็กๆ เหล่านี้เชื่อมต่อกับต่อไซนัสที่อยู่ภายในผิวหนังของเรา มีท่อทั้งแบบสั้นและยาวแถมยังมีเส้นทางที่ซับซ้อนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะไม่ค่อยเกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ อาการลักษณะเช่นนี้ยังถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ด้วย อย่างไรก็ตามรูเล็กข้างหูเหล่านี้ก็อาจเกิดขึ้นมาเองได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมันก็ไม่ได้ช่วยก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับร่างกายนอกจากความเท่

 

Sponsored Ad

 

    ในขณะที่ยังไม่ทราบชี้ชัดได้ว่ารูเล็กข้างหูนี้เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใดกันแน่ แต่หนึ่งในนักชีววิทยาวิวัฒนาการ Neil Shubin ได้ค้นพบว่าลักษณะเช่นนี้มีความใกล้เคียงกับเหงือกปลาที่ใช้หายใจใต้น้ำ ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งเบาะแสว่ามนุษย์อาจมีวิวัฒนาการมาจากโลกใต้น้ำก็เป็นได้

 

Sponsored Ad

 

    ลักษณะเช่นนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับชาวเอเชียตะวันออกมีสัดส่วนมากถึง 10% ตามมาด้วยชาวแอฟริกัน 4% และชาวคอเคเซียนอีก 0.5%

    แม้ว่ารูเหล่านี้จะไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ กับคนที่มี แต่ในบ้างครั้งมันก็สามารถติดเชื้อและต้องรับการรักษาเฉพาะทางด้วยเช่นกัน

ที่มา : healthline

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ