ทำไมต้องเรียก "ปาบึก"? เปิดที่มาของพายุโซนร้อนลูกแรงในปี 2562 น่าเกรงขามสมชื่อ!

LIEKR:

"ปาบึก" ไม่ใช่ "ปลาบึก" ชื่อนี้ได้แต่ใดมา?

        จากกรณีที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน พายุปาบึก (PABUK) แล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 6.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.8 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (อ่านเพิ่มเติม :เปิดคลิปนาที "พายุปาบึก" ก่อนจะเข้าไทย ทำทะเลคลั่ง ซัดเรือไทยกลางทะเลลึก!)

        ทำไมชื่อ “ปาบึก” (PABUK)

 

Sponsored Ad

 

        “ปาบึก” (PABUK) เป็นหนึ่งชื่อในรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในชุดที่ 2 ลำดับที่ 6 ของพายุที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งโดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

ซึ่งคำว่า “ปาบึก” ในภาษาลาวนั่นก็หมายถึง “ปลาบึก” จริงๆ เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่อยู่ในแม่น้ำโขง

        พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศใต้ค่อนทางตะวันตกเล็กน้อยอย่างช้าๆ พายุปาบึกมีความเร็วใกล้จุดศูนย์กลางประมาณ 65 กม.ต่อชั่วโมง เคลื่อนที่มุ่งหน้าเข้าอ่าวไทยด้วยความเร็ว ราว 10 กม. ต่อชั่วโมง โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากไว้ด้วย โดยมีผลกระทบดังนี้

 

Sponsored Ad

 

        ในช่วงวันที่ 3-4 มกราคม 2562 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล

        ในช่วงวันที่ 4-5 มกราคม 2562 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

        สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2562

 

Sponsored Ad

 

        ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


ข้อมูลและภาพจาก workpointnewskhaosod

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ