กระจ่าง ทำไมหลวงพ่ออุตตมะ สร้างสะพานมอญดั้งเดิมให้คดเคี้ยวไปมา แลดูขับขี่ลำบาก

LIEKR:

ที่อาตมาสั่งให้ชาวบ้านสร้างสะพานคดเคี้ยวก็ทำเพื่อประชาชนจริงๆ

     สะพานมอญ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำซองกาเลีย ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ถือเป็นสะพานสามสายน้ำสำคัญที่มาบรรจบกันที่ดินแดนสามประสบ และในเมืองสามประสบเล็กๆ นี่เองที่แฝงไปด้วยวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของสองชนชาติ สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม 

 ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530 โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรีสะพานมอญ สังขละบุรี นอกจากนี้ยังเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 445 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า

 

Sponsored Ad

 

 

    แต่หลายคนที่เดินทางไปชมมาแล้วก็จะเห็นว่าสะพานไม่ได้มีลักษณะที่ตรงเลย จะมีช่วงที่คดไปมาบางช่วง และก็มีผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อ นิตยพร ว่องวานิช ได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยระบุว่า…. 

 

Sponsored Ad

 

        "สร้างสะพานสามประสบ" ขึ้นเดือนอ้ายหลวงพ่อจับงานใหม่อีกอย่างหนึ่ง คือ "งานสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสามประสบ" เพื่อให้ชาวบ้านเดินทางไปมาสะดวกและเพื่อไปซ่อมแซมเจดีย์สร้างที่อยู่เลยสะพานข้ามแม่น้ำนั้นไป

     ตัวสะพานอยู่ห่างจากวัดวังก์ขึ้นไปทางเหนือราวกิโลเมตรครึ่ง หลวงพ่อเลือกสร้างตรงส่วนที่เป็นแหลมยื่นเข้าไปในแม่น้ำบีคี่ทั้งสองฝั่ง สะพานจึงมีความยาวเพียง 400 เมตร ใช้ไม้ในป่าที่พวกเถ้าแก่ทิ้งไว้ไม่ได้ชักลากไปเพราะขนาดเล็กเกินกว่าที่ต้องการ ส่วนมากเถ้าแก่ต้องการไม้ใหญ่ขนาด 8 กำ ขึ้นไป (ประมาณ 30 นิ้ว) แต่แรงงานที่ตัดนั้นเป็นมอญ บางคนกะขนาดไม่ถูกก็ตัดเล็กเกินไป ไม้ขนาด 5-6 กำ จึงเหลือทิ้งอยู่ บ้างก็เป็นไม้ที่หล่นลงไปในเหว เถ้าแก่ไม่ลงทุนลากขึ้นมา

 

Sponsored Ad

 

     หลวงพ่อเพียงแต่แจ้งให้ทางป่าไม้ทราบก็สามารถนำขึ้นมาใช้ได้ เพราะเป็นไม้ที่ตีตราแล้วทั้งนั้น ท่านขอแรงชาวบ้านใช้ช้างไปชักลากขึ้นมาได้มาก สร้างสะพานนี้มีคนมาช่วยมากมายเหมือนเดิม หลวงพ่อใช้เงินที่ประชาชนทำบุญไว้ไปซื้อตะปู และจ้างคนงานบ้าง พวกที่ทำอะไรยังไม่เป็นได้ค่าแรงวันละ 20 บาท พวกที่พอมีฝีมือได้วันละ 35 บาท นอตแทบไม่ต้องซื้อเพราะมีโรงงานส่งมาช่วย หมดค่าก่อสร้างไปไม่เกิน 15,000 บาทสะพานก็เสร็จในเดือนสาม ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือน 

    ที่มา : หนังสือ "84 ปี หลวงพ่ออุตตมะ" หน้า 134-135

 

Sponsored Ad

 

        

       ปล. สะพานนี้หลวงพ่อเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างเอง ที่ต้องสร้างให้คดไปมาเพราะต้องการให้รถวิ่งช้าๆ ถ้าสร้างเป็นเส้นตรง รถจะวิ่งเร็วแล้วก็จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งเป็นแนวคิดหลักการเดียวกันกับการทำถนนเลยทีเดียว บางจุดต้องมีคดเคี้ยวเพื่อที่จะไม่ให้รถวิ่งเร็วจนเกินไป เพราะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นการป้องกันอุบัติเหตุนั้นเอง นับว่าเป็นอีกความรู้ที่ดีมาก สำหรับลูกหลานต่อไป

ที่มา: นิตยพร ว่องวานิช

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ