"ชุมชนพื้นบ้านของไทย" ทำ "รถแก๊สไม้ไผ่" คันแรกในเอเชีย ใช้ถ่าน 25 กก.วิ่งได้ไกล 500 กม.!

LIEKR:

คนไทยทำสำเร็จแล้ว "รถแก๊สไม้ไผ่" คันแรกของเอเชีย!

        “ไผ่” เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศ ดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม ไผ่ทุกชนิด สามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งยังเป็นพืชพลังงานสูง และในเชิงเศรษฐกิจเป็นพืชที่ลงทุนในปีแรกเท่านั้น

        ดังเช่น ชุมชนผาปัง จ.ลำปางที่ทำได้สำเร็จ ผลิตรถใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่ได้เป็นคันแรกของเอเชีย โดยท่าน ผู้ว่าฯทดลองขับคนแรก ซึ่งประหยัดพลังงานสูงสุด บรรจุถ่าน 25 กิโลกรัม วิ่งได้ไกลถึง 500 กิโลเมตร และเตรียมเข้าทดสอบมาตรฐานสมรรถภาพเครื่องยนต์กับกรมขนส่งและกรมธุรกิจพลังงาน และจดสิทธิบัตรในนามมูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง

 

Sponsored Ad

 

        นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยนายสมชัย กมลเทพเทวินทร์ นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และหัวหน้าส่วนราชการหลายหน่วยงาน ได้เข้าเยี่ยมชม การดำเนินงานของมูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง หมู่ 3 ต.ผาปัง อ.แม่พริก จ.ลำปาง ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการปลูก ต้นไผ่นำมาใช้ประโยชน์ปีละ 1,095 ตัน

 

Sponsored Ad

 

        โดยการนำมาทำตะเกียบ ถ่านอัดแท่ง เศษไม้ไผ่ใช้ผลิตเป็นปุ๋ยดินขุยไผ่ ธูปหอมไล่ยุง ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการอบอิฐบล็อก และทำเครื่องสำอางจากผงละอองไผ่ เป็นต้น และล่าสุดทางมูลนิธิฯ ได้ทำการทดลองการนำถ่านไม้ไผ่มาผลิตเป็นแก๊สรถยนต์ จนประสบความสำเร็จ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้ทดลองขับรถยนต์กระบะติดตั้งแก๊สจากถ่ายไม้ไผ่เป็นคนแรก ซึ่งรถใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่ของชุมชนผาปัง ถือว่าเป็นคันแรกในเอเชีย

        นายรังสฤษฏ์ คุณชัยมัง ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง อ.แม่พริก เปิดเผยว่า การนำถ่านมาผลิตเป็น แก๊สนั้นเป็นทฤษฎีสากลทั่วไป ซึ่งเดิมวิถีชีวิตของคนเราก็ใช้ถ่านกันมานานแล้ว โดยเฉพาะเรื่องถ่านไม้ไผ่ ตั้งแต่ที่มีองค์การแบตเตอรี่ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปองค์การแบตเตอรี่ก็ถูกยกเลิก การวิจัยเรื่องถ่านไม้ไผ่ก็หายไปด้วย เปลี่ยนมาเป็นเป็นแบตเตอรี่ที่นำเข้าจากประเทศอื่น

 

Sponsored Ad

 

        แต่ในเมื่อกลุ่มของเรามีวัตถุดิบที่เป็นถ่านไม้ไผ่เปรียบคือ คาร์บอน และอากาศก็เปรียบคือ ออกซิเจน เมื่อรวมกันกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นแก๊สได้ และเห็นว่าแก๊ส LPG และ NGV ก็สามารถนำมาใช้ในรถยนต์ได้ จึงเริ่มทดลองนำถ่านไม้ไผ่ซึ่งมีพลังงานความร้อนสูงมาก มาประยุกต์ทำเป็นแก๊ส โดยเริ่มทดลองกับแก๊สหุงต้มก่อน จึงขยับมาทดลองกับเครื่องยนต์ และทดลองกับรถยนต์ตามลำดับจนประสบความสำเร็จใช้งานได้จริง

 

Sponsored Ad

 

        มิสเตอร์ Koen Uan Looken วิศวกรหนุ่มชาวเบลเยี่ยม ผู้ที่ให้ความสนใจในการผลิตพลังงานจากไผ่ของชุมชนผาปัง อาสาตัวเข้ามาช่วยในเรื่องของการดำเนินการวิจัยและการทดลอง รวมถึงการพัฒนาให้การผลิตพลังงานจากไผ่ของชุมชนผาปังก้าวไปข้างหน้า โดย มิสเตอร์ Koen Uan Looken กล่าวว่า ชิ้นส่วนของไผ่ที่เหลือจากอุตสาหกรรมทั้งระบบ นำไปเข้าเตาเผานาน 3-6 ชั่วโมง เมื่อได้ถ่านไม้ไผ่แล้ว ก็นำเข้าเครื่องบดหยาบ หากต้องการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต้นทางของพลังงาน เมื่อนำไปใส่ยังเครื่องผลิตพลังงานจากไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นถัง มีท่อเชื่อมต่อไปยังแหล่งกำเนิดพลังงาน ไม่ได้มีระบบซับซ้อนแต่อย่างใด เป็นการแปรรูปพลังงานอย่างง่าย ไม่มีระบบออโตเมติกแม้แต่ชิ้นเดียว

 

Sponsored Ad

 

        ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง กล่าวต่อไปว่า รถยนต์ที่นำมาทดลองติดตั้งแก๊สจากถ่านไม้ไผ่นั้น เป็นรถยนต์กระบะ โดยจะมีถังสำหรับใส่ถ่านไม้ไผ่ความจุ 25 กิโลกรัม ใช้วิธีการติดไฟให้ถ่านมีความร้อนอยู่ตลอดเวลา ใช้เครื่องยนต์ดูดแก๊สเข้าไปให้เครื่องยนต์ทำงานลักษณะเดียวกับแก๊ส LPG และ NGV ซึ่งถ่านไม้ไผ่ 5 กิโลกรัมรถจะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นหากบรรจุถ่านเต็มถัง 25 กิโลกรัม รถจะวิ่งได้ระยะทาง 500 กิโลเมตร และราคายังถูกกว่าแก๊สรถยนต์อื่นๆ เนื่องจากถ่านที่ใช้หากเผาเองจะราคากิโลกรัมละ 6 บาท ถังหนึ่งอยู่ที่ราคา 150 บาทเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

        หากซื้อถ่านจากร้านค้าทั่วไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท เท่ากับถังละ 250 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 0.50 บาทเท่านั้น ถูกกว่าแก๊ส LPG และ NGV มาก เชื่อว่ารถยนต์คันนี้เป็นรถยนต์ที่ใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่คันแรกของประเทศไทย และถือว่าเป็นคันแรกของเอเชียเลยก็ว่าได้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้ที่ได้ทดลองขับเป็นคนแรกด้วย นอกจากนั้น ยังได้ทดลองกับรถจักรยานยนต์ และรถสามล้อ ซึ่งจะนำมาทดลองใช้ในงานส่งเสริมนวัตกรรมไผ่จังหวัดลำปาง

Sponsored Ad

        มิสเตอร์ Koen Uan Looken อธิบายว่า การเผาไหม้ของถ่านเมื่อใช้กับแก๊สหุงต้มจะไม่เกิดเขม่าหรือขี้เถ้าแต่จะหลงเหลือซิลิกาขนาดเล็กไว้แทน ซึ่งส่วนนี้ทางวิสาหกิจชุมชนผาปังก็นำไปจำหน่ายให้กับโรงงานทำกระจก เป็นรายได้จากไผ่อีกทอดหนึ่ง เมื่อถ่านไผ่ปริมาณลดลงตามการใช้งานก็สามารถเติมถ่านไผ่เข้าไปได้อีก

        นตอนต่อไปจะนำรถยนต์ไปเข้าทดสอบมาตรฐานสมรรถภาพเครื่องยนต์กับแก๊สกับกรมขนส่ง และกรมธุรกิจพัฒนาพลังงาน เพื่อนำมาใช้งานได้จริง หากผ่านการทดสอบก็จะจดสิทธิบัตรเป็นของมูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง ส่วนของการนำถ่านไม้ไผ่มาใช้แทนแก๊สหุงต้มในครัวเรือนก็จะมีการเปิดห้องเรียนให้ชาวบ้านมาฝึกฝนการใช้แก๊สให้ถูกต้องต่อไป

.

.

.

ข้อมูลและภาพจาก tvpoolonline / khaosod

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ