เบื้องหลังชีวิต เด็กหนุ่มสลบไป 7 วัน ผู้เคยเกือบไปเจอกับพระเจ้า ที่หมอบอกให้พ่อแม่ทำใจ

LIEKR:

ชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่กลับไม่ถือตัว และนี่คือ #อัจฉริยะระดับโลก ในวัย 20 ปี !!

    เรื่องสุดแปลกของวันนี้ ที่ได้เกิดขึ้นกับ หนุ่มอินเดียรายหนึ่ง ที่ต้องกลายเป็นอัจฉริยะ จากเหตุการณ์ทางสมอง และตอนนี้เขาถูกยกให้เป็นมนุษย์ที่คิดเลขไวที่สุดในโลก

    หนุ่มคนนี้มีชื่อว่า "นีลากันธา ภานุ ปรากาช" ขอเรียกสั้น ๆ ว่า ภานุ เพื่อการอ่านง่ายและได้ใจความ เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปเมื่อช่วงภานุยังเป็นเด็กที่เกือบจะต้องอำลาโลกใบใบนี้ไปแล้ว เขามีเหตุทางสมองจนต้องหลับไปนานถึง 7 วัน คุณหมอก็ช่วยอย่างสุดความสามารถแต่ก็ไม่เป็นผล และบอกให้ครอบครัวทำใจไว้ดีดี เพราะผลออกมาว่าเขาอาจจะเป็นผู้ที่ปัญหาทางสติปัญญาไปตลอดชีวิต แต่ใครจะไปคิดว่า 15  ปีต่อมา เขากลับเป็น "มนุษย์ที่คิดเลขเร็วที่สุดในโลก" ไปได้

 

Sponsored Ad

 

    สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงาน ว่า เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ภานุ อายุได้ 20 ปี และได้รับการจดบันทึกลงในสถิติลิมกา บุ๊ก ออฟ เรคคอร์ด ของอินเดีย และนี่เป็นรางวัลที่เทียบเท่ากับ เนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด

    ในฐานะ มนุษย์ที่คิดเลขเร็วที่สุดในโลก เขาสามารถคำนวนเลขในใจโดยมีความเร็วกว่าสมองคนทั่วไปถึง 10 เท่า แม้แต่โจทย์ที่ยากและซับซ้อนก็สามารถหาคำตอบได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

 

Sponsored Ad

 

    ตัวอย่างโจทย์ที่เขาเจอ คือ 869,463,853 x 73 เขาสามารถคิดได้ในใจและใช้เวลา 26 วินาทีก็ได้คำตอบที่ถูกต้องออกมาแล้ว นั่นก็คือ 63,470,861,269 

    เขาไม่ชอบให้ใครเรียกหรือยกยอเขาว่าเป็นอัจฉริยะ เพราะเขาไม่คิดว่าตัวเองเก่งขนาดนั้น และได้บอกอีกว่า ความสามารถนี้เกิดขึ้นจากการฝึกฝนก็เท่านั้นเอง (ต้องฝึกกี่ปีคะเนี่ย!!)

 

Sponsored Ad

 

    เขาได้บอกวิธีคิดให้ทุกคนได้รู้ โดยบอกว่า... 

    "สมมุติว่าจะทำโจทย์ 8,763 x 8 ผมจะทำโจทย์นี้ด้วยการแยกเลขออกมา

    เป็น 8,000 x 8 เท่ากับ 64,000 

 

Sponsored Ad

 

    จากนั้น 700 x 8 เท่ากับ 5,600 

    ก่อนจะคิด 60 x 8 เท่ากับ 480 

    และ 3 x 8 เท่ากับ 24 จากนั้นก็นำผลลัพธ์มารวมกัน แค่นี้ก็ได้คำตอบแล้ว" (แอดลองทำตามแล้ว บอกเลยแอดลืมเลขแรกแล้วค่ะ 55555) 

    ภานุบอกว่า "ผมก็ใช้วิธีคิดแบบคนอื่น แต่จุดที่ต่างอาจจะอยู่ที่การฝึกฝนสมองจนมีประสิทธิภาพก็เท่านั้นเอง"

 

Sponsored Ad

 

    หลังจากเขาโด่งดังจนมีคนมากมายให้การยอมรับความสามารถนี้ แต่คนที่รู้เรื่องราวชีวิตเขากลับไม่มีใครเชื่อว่าครั้งหนึ่งเขาเกือบลาโลกนี้ไปแล้ว แถมคุณหมอยังบอกว่าจะมีปัญหาด้านสติปัญญาอีก

    ภานุได้เล่าเสริมว่า "ผมยังจำความรู้สึกตอนนั้นได้เป็นอย่างดี แต่ไม่อยากพูดออกมา ตอนนั้นอายุแค่ 5 ขวบเอง รถที่เขานั่งมานั้นปะทะกับรถบรรทุกจนเขาล้มลงไปติดถนน แน่นอนว่ารักษาตัวอยู่นาน สลบอยู่หลายวัน ตอนฟื้นมาก็ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่ได้ไปโรงเรียนเป็นปีๆ ช่วงพักฟื้น ผมได้เรียนรู้การเล่นหมากรุกและการไขปริศนาเพื่อพัฒนาระบบสติปัญญา เพื่อให้สมองยังทำงาน มีกระบวนการคิดอยู่ตลอด ๆ"

 

Sponsored Ad

 

    "จากเหตุการณ์นั้นมันยังทิ้งร่องรอยในใจให้กับพ่อแม่ เพราะสภาพผมมันดูไม่ได้จริง ๆ พ่อแม่ทุบกระจกในบ้านทิ้งเพื่อปกป้องความรู้สึกผม ผมก็ตัดสินใจเลยว่าต้องทำทุกวิธีเพื่อลบรอยในใจท่านให้ได้ ผมรู้ว่าผมชอบอะไร ผมถนัดอะไร ผมจะไม่ให้เหตุการณ์ในวันนั้นตามติดชีวิตผมไปตลอด ผมต้องพิสูจน์ตัวเอง"

Sponsored Ad

    ผ่านมาจนถึงปี 2550 เขาอายุได้ 7 ขวบ เขาได้ลงแข่งคณิตคิดเลขไวระดับรัฐมาครองจนได้ด้วยอันดับที่ 3 พ่อกับแม่ภูมิใจถึงกับต้องร้องไห้ออกมาเลยทีเดียว

    "ผมไม่คิดว่าสิ่งที่ผมทำให้พ่อแม่ร้องไห้นั้นคือรางวัลที่ได้ แต่มันเป็นความรู้สึกตื้นตันและดีใจที่ว่าลูกชายของเค้าไม่ได้เป็นคนที่มีปัญหาด้านสติปัญญา"

    ภานุไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ เขาเดินสายกวาดรางวัลแข่งขันทางคณิตศาสตร์ทั่วทุกเมือง  และได้เป็นตัวแทนไปแข่งระดับประเทศตั้งแต่อายุ 13 ปี และสามารถเป็นเจ้าของสถิติโลกหลายอย่างมาได้อย่างภาคภูมิใจ

    ภานุยังได้ก่อตั้งองค์กรด้านการศึกษาขึ้นในปี 2561 เพื่อหวังจะทำให้คณิตศาสตร์กลายมาเป็นเรื่องน่าสนใจ เป็นความท้าทายสำหรับผู้ที่สนใจ โดยเน้นเพิ่มความสามารถในพัฒนาการผ่านเกมคณิตศาสตร์

    และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ภานุ ก็กลายมาเป็นชาวเอเชียคนแรกที่คว้าเหรียญทอง จากการแข่งขัน Mental Calculation World Championship ใน Mind Sports Olympiad ซึ่งจัดขึ้นที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ด้วยความเร็วในการคำนวณที่ไม่ธรรมดา ในการเอาชนะคู่แข่ง 29 คน จาก 13 ประเทศ ทำให้กรรมการต้องขอให้เขาทำโจทย์พิเศษ เพื่อยืนยันความสามารถของเขา

    ทั้งนี้ นอกจากภานุจะเป็นผู้ชนะชาวเอเชียคนแรก เขายังเป็นผู้ชนะคนแรกในประวัติศาสตร์ 23 ปีของการแข่งดังกล่าว ที่ไม่ใช่ชาวยุโรปอีกด้วย 

ที่มา : ไลค์เกอร์ดอทคอม, ซีเอ็นเอ็น

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ