ทำความรู้จัก คู่แข่งตัวฉกาจ ที่มีพื้นที่ "ปลูกทุเรียน" ส่งออกเยอะสุดในอาเซียน

LIEKR:

ทำความรู้จัก คู่แข่งตัวฉกาจ ที่มีพื้นที่ "ปลูกทุเรียน" ส่งออกเยอะสุดในอาเซียน

     เป็นที่นิยมจริงๆ สำหรับทุเรียนราชาผลไม้ไทย ที่มีความต้องการสูง คู่แข่งที่ปลูกทุเรียนย่อมเพิ่มตามไปด้วย ไม่ใช่แค่การขยายพื้นที่ปลูกในประเทศเท่านั้น แต่ภูมิประเทศในเขตอาเซียนนั้น ภาพอากาศ น้ำ และดินเหมาะแก่การปลูกทุเรียนเป็นอย่างมาก

      ทีมงาน LIEKR จึงขอชวนเพื่อนๆชาวสวนทุเรียน ทำความรู้จักทุเรียนในอาเซียน กับคู่แข่งที่มีพื้นที่ปลูกส่งออกเยอะสุดในตอนนี้ โดยเพจ ควายดำทำเกษตร เผยข้อมูล ระบุว่า...

 

Sponsored Ad

 

     เวลานี้ประเทศที่ปลูกทุเรียนเยอะสุด ส่งออกเยอะสุด คงไม่พ้นประเทศไทยบ้านเรา ซึ่งพื้นที่ปลูกที่รู้ล่าสุดเพิ่มขึ้นมาจาก 7 แสนไร่ มาเป็น 1.4 ล้านไร่ในระยะเวลาไม่กี่ปี ซึ่งถือว่าเรายังเป็นเบอร์ 1 เรื่องการส่งออกทุเรียนของโลกอยู่

 

Sponsored Ad

 


แต่ปัจจุบันรอบบ้านเราในอาเซียนได้เริ่มมีการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนกันมากขึ้น เดี๋ยวจะมาไล่เรียงตามลำดับดังนี้

    1.มาเลเซีย

คู่แข่งเบอร์ 1 ของเราที่พยายามปลูกทุเรียนและมีการวางแผน ตั้งยุทธศาสตร์ชัดเจนในเรื่องทุเรียนนั่นคือ ประเทศ มาเลเซีย

    มาเลเซีย หลังจากที่เคยเป็นประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมันเบอร์ 1 ของโลก แต่หลังจากที่มีการเลิกใช้ปาล์มน้ำมันทำให้ราคาปาล์มตกต่ำ จนตอนนี้ประเทศมาเลเซียได้มีการโค่นปาล์มแล้วปลูกทุเรียน 

 

Sponsored Ad

 

    โดยพื้นที่ปลูกทุเรียนของมาเลเซียตอนนี้มีอยู่ประมาณ 450,000 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่รัฐปาหัง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะมีนโยบายขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนชัดเจน อีกทั้งเมื่อปี 2562 มาเลเซียยังบรรลุข้อตกลงส่งผลสดแช่แข็งไปจีนได้แล้วด้วย นับเป็นประเทศที่ 2 ต่อจากไทย 

    ซึ่งมาเลเซียนี่แหละคือคู่แข่งของทุเรียนไทยที่น่ากลัวที่สุด เพราะมาเลเซียมีการวางแผนในเรื่องทุเรียนชัดเจนมาก ทั้งการตลาด การส่งเสริมเกษตรกร รวมไปถึงการเข้าไปส่งเสริมตลาดในจีนด้วย

2. ประเทศเวียดนาม

 

Sponsored Ad

 

    เวียดนามมีพื้นที่ปลูกทุเรียนอยู่ประมาณ 300,000 ไร่ อยู่ทางเวียดนามใต้ใกล้สามเหลี่ยมแม่น้ำโขง ในจังหวัดดองใน และ เบนแตร ซึ่งส่วนใหญ่พันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองเช่น Ri6 ,Chin Hoa และทางรัฐบาลเวียดนามก็มีการส่งเสริมปลูกทุเรียนหมอนทองของไทยเพื่อการส่งออกเช่นเดียวกัน

3.กัมพูชา

 

Sponsored Ad

 

    กัมพูชา มีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 50,000 ไร่ ได้ผลผลิต สามหมื่นกว่าตันต่อปี แหล่งปลูกส่วนใหญ่อยู่ทาง กำปอต กำปงจาม และ มณฑลคีรี ซึ่งใน กำปอต เป็นทุเรียนที่มีชื่อเสียงและผลิตมายาวนาน ส่วนใหญ่เป็นรายย่อย แต่ตอนนี้ใน กำปงจาม มีนักลงทุนชาวจีนมาลงทุนปลูกมากขึ้น นับเป็นการลงทุนที่น่าติดตามมากในกัมพูชา

4.เมียนมาร์

 

Sponsored Ad

 

    สำหรับพื้นที่ปลูกทุเรียนในเมียนมาร์ พื้นที่ดั้งเดิมเลยจะอยู่กระจายไปทั่วประเทศ ในเขตตอนใต้แถบ ทวาย มะริด แต่ในพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่จะอยู่ตอนกลางของประเทศในเขตปกครองของรัฐมอญ บริเวณเมือง เมาะลำไย มุตง ต๊าผิวชะยาด ที่เป็นเขตปลูกยางเก่า มีการเข้ามาสัมปทานพื้นที่ของนักลงทุนชาวจีน และมีการลงปลูกทุเรียนใหม่อีกกว่า 20,000 ไร่ ในเขตรัฐมอญ นับว่ามีการขยายพืนที่ปลูกไม่น้อยเลยสำหรับเมียนมาร์

    นี่คือเรื่องทุเรียนอาเซียนตอนแรกเป็นเรื่องพื้นที่ปลูกโดยรวมในแต่ละประเทศ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากจีนทั้งนั้นที่มาลงทุนปลูกทุเรียน แสดงให้เห็นว่าในประเทศจีนยังมีความต้องการบริโภคทุเรียนอีกมาก

Sponsored Ad

    เดี๋ยวโพสหน้าจะมาว่าด้วยเรื่องข้อเสียเปรียบของประเทศไทย ถ้าวันนึงทุเรียนในอาเซียนพร้อมให้ผลผลิตส่งออกไปจีนได้เหมือนกับเรา เราจะเสียเปรียบประเทศรอบบ้านเรายังไง

    ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.วรชาติ ดุลยเสถียรผู้เชี่ยวชาญโซ่อุปปทานด้านเกษตร CLMV เลขาธิการสมาคมส่งเสริมธุรกิจเกษตรระหว่างประเทศ

ที่มา : สมาคมส่งเสริมธุรกิจเกษตรระหว่างประเทศ ,ควายดำทำเกษตร

บทความที่คุณอาจสนใจ