สาวชาวเคนยาปิ๊งไอเดีย สร้างอิฐที่แกร่งกว่าคอนกรีตด้วยขยะ เพราะรอรัฐแก้ปัญหาไม่ไหว

LIEKR:

#หญิงแกร่ง ใช้สมองแก้ปัญหาขยะ เพราะนั่งรอรัฐบาลเข้ามาแก้ปัญหาไม่ไหว

     ยุคนี้เป็นยุคที่ทุกคนต้องพยายามเอาตัวรอดกันด้วยตนเอง หากหวังพึ่งแต่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือบางครั้งก็รอไม่ไหว หรือกว่าจะมาถึงเราก็อาจช้าเกินไปแล้ว สู้เอาเวลาที่นั่งรอมาสร้างประโยชน์ดีกว่า เหมือนอย่างเช่นเธอคนนี้ 

    สื่อต่างประเทศรายงานว่า ปัจจุบันขยะพลาสติกยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิธีการจัดการกับปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอในการรับมือขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน นั่นเป็นจึงเป็นแรงบันดาลใจให้เธอคนนี้ คิดอยากที่จะใช้นวัตกรรมในการนำขยะพลาสติกไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และเพื่อลดจำนวนขยะให้น้อยลงอีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

    Nzambi Matee หญิงชาวเคนยาผู้ก่อตั้งบริษัท Gjenge Maker ได้นำขยะพลาสติกมารีไซเคิลให้กลายเป็นอิฐสุดแข็งแกร่ง มีความแข็งแรงกว่าอิฐธรรมดา 5-7 เท่า โรงงานของเธอรับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถแปรรูป และนำไปรีไซเคิลเป็นอย่างอื่นได้ มาแปลงเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต ส่วนมากเธอจะรับพลาสติกมาจากโรงงาน และบางครั้งก็จะจ่ายเงินเพื่อซื้อพลาสติกเหล่านั้น

 

Sponsored Ad

 

    พลาสติกที่โรงงานรับส่วนมากจะเป็น HDPE (High Density Polyethylene) หรือพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูงใช้ผลิตขวดน้ำดื่มแบบขุ่น ขวดน้ำกลั่น ขวดนม ขวดแชมพู LDPE (Low Density Polyethylene) หรือพลาสติกที่มีความหนาแน่นต่ำใช้ผลิตถุงซีเรียล ถุงแซนวิช และ PP (Polypropylene) ใช้ผลิตเชือก ฝาขวดและถัง

     แต่โรงงานของเธอจะไม่รับ PET (Polyethylene Terephthalate) ที่ใช้ผลิตขวดน้ำดื่ม

.

 

Sponsored Ad

 

    โรงงานของเธอผลิตอิฐ 1,500 ก้อนต่อวันจากพลาสติกหลากชนิดผสมกัน ด้วยการนำขยะพลาสติก ผสมกับทราย อบด้วยความร้อน และอัดเป็นก้อน ราคาจะขึ้นอยู่กับความหนา อิฐสีเทามีราคา 850 ชิลลิงเคนยาหรือ 7.70 ดอลลาร์ ต่อตารางเมตร (ประมาณ 232 บาทต่อตารางเมตร)

 

Sponsored Ad

 

    Nzambi Matee เปิดเผยอีกว่า นับตั้งแต่เปิดโรงงานในปี 2017 ตอนนี้เธอรีไซเคิลขยะพลาสติกไปแล้วกว่า 20 ตัน และเธอพยายามจะขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าภายในสิ้นปีนี้ เธอบอกว่า โรงงานนี้ขึ้นมาเพราะฉันหมดความอดทนที่จะรอรัฐบาลมาแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกแล้ว มันช่างไม่ได้ดั่งใจจริงๆ 

    ป้จจุบันอิฐของเธอถูกนำไปใช้ในการปูทางเท้าโรงเรียน จากวิดีโอการทดสอบคุณจะเห็นว่ามันแข็งแรงแค่ไหน ในอนาคตเธอคาดหวังว่าอิฐจากขยะเหล่านี้จะมีประโยชน์ และช่วยลดต้นทุนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างได้ไม่มากก็น้อยทีเดียว

 

Sponsored Ad

 

    ความคิดสร้างสรรค์ของเธอทำให้คนอีกหลายคนไม่ตกงาน มีรายได้ ที่สำคัญงานเหล่านี้เป็นงานที่ช่วยรักษ์โลก นำขยะพลาสติกมาก่อให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง

    ขอบคุณทุกคนที่ร่วมกันใจทำให้อิฐเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้ ร่วมเป็นกำลังใจให้พวกเขาสามารถผลิตอิฐที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อขยะจะลดน้อยลง 

Sponsored Ad

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิก <<<

ที่มา :  Reuters, unep, beartai

บทความที่คุณอาจสนใจ