พระมหากรุณาธิคุณ "หนุ่มกะเหรี่ยง" รับทุนร.๙ ศึกษาต่อที่อิสราเอล พลิกผืนดินบ้านเกิด เป็นรายได้มหาศาล

LIEKR:

แม้จะเจอคนว่าเป็นลูกกะเหรี่ยง แต่ก็สู้ไม่ถอย มุ่งมั่นเรียนดีจนได้ทุน ร.๙ กลับมาพัฒนาบ้านเกิดบนที่ดินที่พ่อสร้างไว้!

    สู้ชีวิตฝ่าฟันคำว่ากล่าวครหา จากหนุ่มกะเหรี่ยง จนได้รับทุนพระราชทานในหลวง ร.9 เรียนด้านพืชศาสตร์ กลับมาพัฒนาบ้านเกิดบนที่ดินที่พ่อสร้างไว้ที่บ้านพุระกำ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ใช้แนวเกษตรทฤษฎีใหม่อยู่อย่างพอเพียง

    ที่บ้านไม้ไผ่ทรงแปลกตา มุงด้วยวัสดุหาง่ายในท้องถิ่นของ นายสงคาร กัวพู้ อายุ 32 ปี ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ที่อาศัยผืนป่าแนวเขตรอยต่อเทือกเขาตะนาวศรี โอบล้อมด้วยขุนเขาทอดยาวสลับซับซ้อน เขียวขจีไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาชนิด สลับกับไม้ยืนต้นและพืชล้มลุกอย่างข้าวไร่ที่มีชาวบ้านปลูกอยู่ริมชายขอบในหมู่บ้านพุระกำ ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 

 

Sponsored Ad

 

    พื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ถูกจัดแบ่ง ปลูกผัก ผลไม้ ผสมผสานกับไม้ผลยืนต้นมีทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ที่ปลูกแซมระหว่างกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยหิน พื้นที่อีกส่วนไว้ทำนาปลูกข้าวนาปีเก็บไว้กินในครอบครัว เป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีมาแต่สมัยบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น มีการนำความรู้ทางการศึกษาและเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาพื้นที่ด้วยใจรักในด้านการเกษตรจนประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่างที่ดี

 

Sponsored Ad

 

    นายสงคาร กัวพู้ ได้รับคัดเลือกรับทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9  เนื่องจากเป็นนักเรียนจากพื้นที่ชายแดนที่มีความประพฤติดี มีฐานะยากจน และมีผลการเรียนดี เข้ารับทุนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยม จนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยได้เริ่มเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที 1  - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรุจิรพัฒน์ อ.สวนผึ้ง ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับทุนในพระบรมราชานุเคราะห์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่เริ่มศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นมา

 

Sponsored Ad

 

    จากนั้นได้ไปศึกษาในระดับชั้น ปวช.เป็นเวลา 3 ปี ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี และไปศึกษาต่อในระดับ ปวส. ทวิภาคี อีก 2 ปีที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีษะเกษ  จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอิสราเอล และได้กลับมาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีอีก 2 ปีที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดยหลังเรียนจบจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังแล้ว ได้เข้าทำงานที่บริษัทสวนทรายงาม จำกัด อยู่ในเครือสหวิริยา ในตำแหน่งนักวิชาการประมาณ 2 ปี หลังจากปี 2558 

 

Sponsored Ad

 

    "ด้วยใจรักในอาชีพด้านการเกษตร จึงได้ลาออกจากงานเพื่อกลับมาพัฒนาผืนดินที่ของนายแฮเคาะ กัวพู้ อายุ 62 ปี  บิดาที่เป็นชาวกะเหรี่ยง บนที่ทำกินกว่า 10 ไร่เศษ นำแนวเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาพัฒนาบ้านเกิดด้วยสองมือของตัวเองอยู่กับยายในกระท่อมไม้ไผ่ ที่ปลูกอยู่ในร่มไม้ใหญ่ดูร่มรื่นใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายบนความพอเพียง" นายสงคาร กล่าว

    นายสงคาร กัวพู้ กล่าวต่อว่า เรียนจบสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ คณะพืชศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2545 หลังเรียนจบได้ทำงานอยู่ 2 ปี และได้ลาออกจากงานนำเงินที่เก็บไว้จากการทำงานมาซื้อรถไถนา เพื่อพัฒนาที่ดินของพ่อที่ให้ไว้ ใช้แนวเกษตรทฤษฎีใหม่ลักษณะแบบผสมผสานของในหลวงรัชกาลที่ 9 แบ่งพื้นที่ตามแนวคิด ช่วงหน้าฝนจะทำนาเก็บข้าวไว้กิน หน้าแล้งปลูกผักระยะสั้นอย่างแตงกวา ถั่วฝักยาวส่งขายตลาดศรีเมือง อ.เมืองราชบุรี ที่บ้านยังปลูกทุเรียนสายพันธุ์หมอนทองอยู่ประมาณ 200 ต้น

 

Sponsored Ad

 

    ปีนี้เริ่มเก็บขายผลผลิตแล้ว มีนักท่องเที่ยวขึ้นมาเที่ยวชมธรรมชาติวิถีชีวิตความเป็นอยู่และสนใจเลือกซื้อทุเรียนที่นี่ขายกิโลกรัมละ 120 บาท รวมทั้งมีผัก ผลไม้อีกหลายชนิดที่กำลังทยอยออกเก็บขายได้แล้ว มีแนวคิดอยากกลับมาผลิตอาหาร ซึ่งเป็นความมั่นคงที่มีความสำคัญ อย่างการปลูกทุเรียนที่สวนมองว่าอนาคตเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีราคาดี อีกทั้งพื้นที่ปลูกแถบนี้ยังมีสภาพดินถือว่าดีมาก มีลักษณะดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การปลูกกว่าพื้นที่ทั่วไป

 

Sponsored Ad

 

    แต่ขณะนี้ครอบครัวรู้สึกกังวลเกี่ยวกับโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำบ้านหนองตาดั้งมาก เพราะจะไปทับที่ทำกินและที่อยู่อาศัย 76 หลังคาเรือนในหมู่บ้านพุระกำรวมถึงพื้นที่ของตนด้วย หากอ่างเก็บน้ำเกิดขึ้นมาจริงๆ จะส่งผลทำให้น้ำท่วมที่ทำกินทั้งหมู่บ้าน อย่างการปลูกทุเรียนอย่างน้อยต้องใช้เวลาประมาณ 6 ปีขึ้นไปจึงจะเก็บผลผลิตได้ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ต้องเปลี่ยนไป ซึ่งก็ไม่อยากให้มีวันนั้น

    นายสมบัติ วริทธิกรกุล อายุ 57 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 กล่าวว่า บ้านพุระกำที่โครงการพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระองค์ได้สร้างธนาคารอาหารให้ป่าให้มีอาหารทุกอย่างไว้รับประทาน โดยบ้านพุระกำถือเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีธรรมชาติที่ดีมองว่าเรื่องการปลูกทุเรียนยังเป็นปัจจัยหนึ่งเพราะเป็นต้นไม้ที่ยืนต้น ลักษณะคล้ายแท๊งค์น้ำที่ดูดน้ำช่วงหน้าฝนให้ไปที่ลำต้น ช่วงหน้าแล้งก็จะคลายออกมาให้กับลำห้วย

Sponsored Ad

    ส่วนการปลูกผักต่างๆ ลักษณะเป็นการประคองชีวิตครอบครัวให้อยู่ได้ พระองค์ท่านได้ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ตลอดมา พวกเราจึงปลูกทุเรียนกับมะม่วง ขนุน ผลไม้ จะสอดคล้องกันที่จะสร้างวิถีชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวกับแหล่งน้ำก็ไม่เหือดแห้ง ทำให้สายน้ำที่ไหลลงมานั้นเป็นน้ำธรรมชาติโดยตรง สามารถใช้ดื่มกินได้  

    นอกจากนี้ พระองค์ท่านยังส่งเสริมให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านพุระกำมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ชาวบ้านที่เป็นผู้หญิงในหมู่บ้านพระองค์ทรงให้ไปฝึกอาชีพทอผ้า ปักผ้า เวลาว่างให้มาช่วยปลูกผัก ผลไม้เลี้ยงครอบครัว โดยความเป็นจริงแล้วลำภาชีไม่อยากให้มีเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ 

.

    แต่อยากให้มีเพียงแค่ฝายชะลอน้ำสร้างไว้ในพื้นที่ เหมือนในสมัยก่อนที่จะมีวางแต่ละจุด เพื่อเก็บน้ำและยังใช้งบประมาณไม่มากมีพันธุ์ปลาได้อยู่อาศัย ให้คนได้ดูแลผืนป่าก็จะอยู่กันได้แบบพึ่งพาอาศัยกัน แต่หากสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบกับชาวบ้านพุระกำและผืนป่าในพื้นที่นับพันไร่ จะส่งผลทำให้วิถีความเป็นอยู่เกิดความเปลี่ยนแปลงหากต้องไปอยู่ที่ใหม่ ไม่มีความสุขเหมือนกับอยู่ที่เดิมนี้

.

.

ที่มา : naewna

บทความที่คุณอาจสนใจ