หนุ่มคิดค้น "ข้าวสีชมพู" พิ้งค์ เลดี้ ปลูกโดยวิธีธรรมชาติ ไร้สารเคมี กินง่ายแถมปลอดภัย

LIEKR:

อยากรวยก็ต้องแตกต่าง!

    พบข้าวไรซ์เบอร์รี่กลายพันธุ์ทำให้ทุ่งนามีสีชมพู คนแห่เข้าชมถ่ายรูปเพียบ หนุ่มศิษย์เก่าคณะเกษตรฯ ม.นเรศวร เผยหลังลาออกจากงานบริษัท หันมาเกษตรเต็มตัวใช้เวลา 3 ปี คัดแยกพันธุ์ข้าวจนสามารถปลูกนาข้าวสีชมพูสำเร็จ อนาคตอาจพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

    อ่านข่าวก่อนหน้า : "นาข้าวสีชมพู" พิ้งค์ เลดี้ แหล่งท่องเที่ยวสุดตระการตา ฝีมือเกษตรกรหนุ่ม 2 ปริญญา หนึ่งเดียวที่พิษณุโลก

 

Sponsored Ad

 

    เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์แห่แชร์ภาพทุ่งนาข้าวสีชมพู จึงได้ตรวจสอบพบว่านาข้าวสีชมพูอยู่ที่แปลงนาบ้านในไร่ เลขที่ 106/8 หมู่ 11 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมีนายจตุรงค์ ชมภูษา อายุ 31 ปี ศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร เป็นเจ้าของโดยผันตัวเองจากพนักงานบริษัทมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวเนื่องจากต้องการที่จะอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว

    นายจตุรงค์ เปิดเผยว่า เริ่มเเรกเมื่อปี 2556 ตนเองได้นำเอาเมล็ดข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่มาจากสุพรรณบุรี มาปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งในช่วงของการปลูกนั้น ตนเห็นว่านาข้าวมีใบสีชมพู ตนจึงได้นำต้นข้าวสีชมพูคัดแยกออกมา จากนั้นก็ทดลองปลูกเรื่อยมาถึง 4 ครั้ง จนสามารถได้เมล็ดและนำมาปลูกในพื้นที่ได้ถึง 4 ตารางเมตร และมีการตั้งชื่อสายพันธุ์ของข้าวว่า ข้าว Pink Lady

 

Sponsored Ad

 

.

.

    ทั้งนี้ในการปลูกที่ผ่านมาเกิดแมลงกัดกินข้าวอย่างหนักทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ได้มีน้อย จึงไม่สามารถขยายเมล็ดพันธุ์ได้มากเท่าที่ควร อีกทั้งข้าวที่ปลูกไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด เพราะปลูกแบบปลอดสารพิษ แต่จะใช้วิธีการดูแลรักษาโดยใช้น้ำหมักชีวภาพในการควบคุมคุณภาพของนาข้าวและประสิทธิภาพของผลผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพมากยิ่งขึ้น

    ส่วนในเรื่องของคุณภาพข้าวที่ผ่านมายังไม่ได้ทดสอบเพราะเมื่อปลูกเสร็จก็จะเก็บเกี่ยวพันธุ์เมล็ดข้าวเพื่อมาคัดแยกและทดลองปลูก จนสามารถปลูกได้ขนาด 4 ตารางเมตรที่เห็น แต่การที่จะได้นาข้าวสีชมพูต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาโดยปลูกช่วงหน้าหนาว ใช้เวลา 120 วันจึงจะเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ยังได้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่สีม่วงควบคู่ไปด้วย สำหรับผลผลิตที่ได้มีขนาดสั้น อ้วนและป้อมคล้ายข้าวญี่ปุ่น แต่มีขนาดป้อมกว่าข้าวญี่ปุ่น ซึ่งข้าว 1 กิโลกรัม ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท และจะสามารถหุงได้ถึง 4 หม้อทีเดียว

 

Sponsored Ad

 

    นายจตุรงค์ กล่าวอีกว่า ทางเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวได้มาตรวจคุณภาพของเมล็ดข้าวของตน และพบว่าเมล็ดข้าวไรซ์เบอร์รี่มีการกลายพันธุ์เป็นสีชมพู จึงได้ถ่ายรูปแล้วนำไปโพสต์เฟซบุ๊ก ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจจากชาวบ้านและประชาชนเดินทางมาดูนาข้าวตลอดทั้งวัน อนาคตก็มีแนวคิดจะทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร


.

.

.

.

.

จากโพสต์ต้นฉบับ

ข้อมูลและภาพ จาก Suraphol Thubtong

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ