มาแล้ว ! เรือฟริเกตสมรรถนะสูง โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช"

LIEKR:

มาแล้ว ! เรือฟริเกตสมรรถนะสูง โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช"

    โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เรือฟริเกตสมรรถนะสูงหรือ เรือพิฆาต ที่ต่อจากอู่ต่อเรือเกาหลีใต้ จะเข้าประจำการ 7 ม.ค. นี้ ว่า "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช" จากเดิมที่จะใช้ชื่อว่า "เรือหลวงท่าจีน" สร้างความปลาบปลื้มให้กำลังพลเป็นอย่างมาก 

    เฟซบุ๊ก Wassana Nanuam ของวาสนา นาน่วม นักข่าวสายทหาร รายงานว่า ในหลวง รัชกาลที่ 10 โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เรือฟริเกตสมรรถนะสูงหรือเรือพิฆาต ที่ต่อจากอู่ต่อเรือแถวหน้าของ บริษัท แดวู ชิปบิลดิ้ง แอนด์ มารีน เอนจิเนียริ่ง (DSME) ประเทศเกาหลีใต้ โดยใช้งบประมาณลำละเกือบ 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะขึ้นระวางเรือประจำการในวันที่ 7 มกราคม นี้ ว่า "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช" จากเดิมที่จะใช้ชื่อว่า "เรือหลวงท่าจีน" โดย พล.ร.อ. ลือชัย รุดดิษฐ์ ผบ.ทร. จะเป็นประธานในพิธีต้อนรับ ที่ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ

 

Sponsored Ad

 

    ทั้งนี้ การพระราชทานชื่อใหม่ได้สร้างความปลาบปลื้มให้กำลังพลประจำเรือ และกองทัพเรืออย่างยิ่ง เพราะเดิมทีตามธรรมเนียมของกองทัพเรือ การตั้งชื่อเรือฟริเกต จะใช้ชื่อแม่น้ำ เช่น เรือหลวงเจ้าพระยา เรือฟริเกต ชั้นเจียงหู่ จากจีน เป็นต้น

 

Sponsored Ad

 

    สำหรับเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำนี้ เป็นการพัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลีใต้ในการต่อเรือ มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย

    โดยสามารถทนทะเลได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 6 ขึ้นไป มีโครงสร้างเรือแข็งแรง โอกาสอยู่รอดสูงในสภาพแวดล้อมของการสู้รบและการปนเปื้อนทางนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ และสามารถตรวจการครอบคลุมทุกมิติ ทั้งกลางวันและกลางคืน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสื่อสารกับเรือ อากาศยาน และหน่วยบนฝั่ง และสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ ทั้งผิวน้ำ ใต้น้ำ และทางอากาศ 

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้ ยังสามารถปฏิบัติการรบร่วม โดยผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี ให้สามารถปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) ได้แก่ ร.ล. จักรีนฤเบศร เรือฟริเกต ชุด เรือหลวงนเรศวร เรือคอร์เวต ชุด เรือหลวงรัตนโกสินทร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

Sponsored Ad

 

    อีกทั้งสามารถรบร่วมกับ เครื่องบินกองทัพอากาศ ตามบทบาทหน้าที่ที่จะได้รับมอบหมาย ซึ่งเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จะทำหน้าที่ควบคุมการปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก

    อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือมีแผนจะต่อเรือฟริเกตสมรรถนะสูงเอง อีก 1 ลำ โดยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จาก แดวู ชิปบิลดิ้งฯ อู่ต่อเรือของประเทศเกาหลีใต้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เฟซบุ๊ก Wassana Nanuam

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ