เปิดพระฉายาลักษณ์ "13 พระอัครมเหสีแห่งราชวงศ์จักรี" ทั้ง ๑๐ รัชกาล

LIEKR:

ได้เห็นเป็นบุญตา!

        พระอัครมเหสี แห่งราชวงศ์จักรี เท่าที่ได้มีการจารึกพระนามไว้ทั้ง ๑๓ พระองค์ ตั้งแต่ต้นรัชกาลจนถึงปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ “พระอัครมเหสี” แห่งราชวงศ์จักรี เราจึงได้ทำการรวบรวมพระราชประวัติและความเป็นมาของพระอัครมเหสี ที่คนไทยอีกหลายคนไม่เคยทราบมาให้ได้ชมกัน…

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑

 

Sponsored Ad

 

        สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี หรือ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระนามเดิม นาก หรือ นาค เป็นชาวเมืองสมุทรสงคราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงมียศเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี ใน ร.๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่พระองค์ไม่ทรงยอมใช้ราชาศัพท์กับพระสวามีหรือพระราชโอรสและพระราชธิดาแต่อย่างใด ทรงเรียกพระสวามีว่า “เจ้าคุณ” และเรียกพระราชโอรสว่า “พ่อ” และพระราชธิดาว่า “แม่” โดยพระองค์ทรงยินดีที่จะใช้ภาษาสามัญของคนธรรมดา ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็มิได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นเจ้าแต่อย่างใด ยังคงเป็นท่านผู้หญิงนากตามเดิม มีพระราชบุตรทั้งหมด ๑๐ พระองค์ หนึ่งในนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงสถาปนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเป็น “สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์” ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ในรัชกาลก่อน ๆ ที่ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสี จึงประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยใหม่เป็น “สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี”

สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๒

        พระนามเดิมว่า “บุญรอด” หรือ “สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด” มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระสวามี) แม้พระองค์จะทรงมีเชื้อสายจีนจากบิดา แต่ก็ทรงมีพระฉวีค่อนข้างคล้ำ มักถูกเปรียบเปรยว่าทรงเป็น “จินตหรา” จากวรรณคดีเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ของพระราชสวามี และทรงมีฝีมือในกิจการเครื่องต้น ทรงประกอบอาหารคาวหวานได้อย่างประณีตและมีรสโอชา เป็นที่ต้องพระทัยของ ร.๒ ยิ่งหนัก ทรงแอบลักลอบไปมาหาสู่เจ้าฟ้าบุญรอดอยู่บ่อยครั้ง จนทรงพระครรภ์ได้ ๔ เดือน ความทราบถึง ร.๑ ก็ทรงกริ้วนัก แต่เมื่อ ร.๒ เข้าเฝ้าเพื่อขออภัยโทษ และได้ให้สัตย์ปฏิญาณว่า “จะมิให้บุตรและภริยาทั้งปวงเป็นใหญ่กว่าฤๅเสมอเท่าเจ้าฟ้าบุญรอด” จึงทรงยอมมอบเจ้าฟ้าบุญรอดให้

 

Sponsored Ad

 

        แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงต้องพระทัยสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระขนิษฐาต่างพระมารดา เป็นเหตุทำให้เจ้าฟ้าบุญรอดทรงน้อยพระทัย ไม่เข้าเฝ้า ร.๒ อีกเลย จนกระทั่งวันที่พระราชสวามีเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าบุญรอดมีพระราชโอรสทั้งสิ้น ๓ พระองค์ และได้เป็นพระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติด้วยกันถึง ๒ พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชา และมีพระเกียรติยศเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๒ เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

Sponsored Ad

 

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ ๒

        ในประวัติศาสตร์กล่าวว่า “เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี” เปรียบเสมือนเป็นพระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และมีศักดิ์เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กับ จอมมารดาเจ้าทองสุก (เชื้อสายเจ้าพระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์) มีพระนามเดิมว่า “พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทบุรี” แม้ว่าพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะทรงสนิทเสน่หาในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีมากเพียงใดก็ตาม แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ก็มิได้ทรงยกย่องหรือสถาปนาพระยศแต่งตั้งพระนาง รวมถึงพระโอรสกับพระธิดาแต่อย่างใด เนื่องจากถือสัตย์ที่เคยให้ไว้ว่าจะไม่ทรงยกย่องใครเหนือกว่า “เจ้าฟ้าบุญรอด” (พระอัครมเหสีฝ่ายขวา)

 

Sponsored Ad

 

        หลังจาก ร.๒ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เจ้าฟ้ากุณฑลผู้เป็นพระชายาก็ทรงชุบเลี้ยงเซาๆ อยู่อย่างนั้น ไม่เปิดเผยผิดจากปรกติขึ้นเท่าไร กล่าวกันว่า เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีนั้นเปรียบเหมือน “นางบุษบาวตี” ในพระราชนิพนธ์อิเหนา และแน่นอนว่า “นางจินตหรา” คือ เจ้าฟ้าบุญรอด นั่นเอง พระองค์ประสูติพระราชโอรส ๓ พระองค์ พระราชธิดา ๑ พระองค์ (สิ้ น พ ร ะ ช น ม์ ) คนในสมัยนั้นก็ไม่ได้ยินใครเรียกว่า เจ้าฟ้า หรือ ทูลกระหม่อมฟ้าแต่อย่างใด เมื่อสิ้นร.๒ สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีมีพระชนมายุได้ ๒๖ พรรษา ได้ทรงทำนุบำรุงเลี้ยงเจ้าฟ้าพระราชโอรส ๓ พระองค์ต่อมาด้วยความลำบากอย่างยิ่ง

 

Sponsored Ad

 

สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในรัชกาลที่ ๔

        สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระราชนัดดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลที่ ๓ ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า และได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเธอโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎบรมอัครราชเทวี” ของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๕ ขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง ๑๗-๑๘ พรรษา นับเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์แรก แต่ก็ได้ทรงดำรงพระอิสริยยศอยู่เพียง ๙ เดือนเท่านั้น ก็เสด็จสิ้ น พ ร ะ ช น ม์ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ “สมเด็จเจ้าฟ้าโสมนัส”

Sponsored Ad

        หลังจากการ สิ้นพระชนม์ของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ สร้าง “วัดโสมนัสราชวรวิหาร” เพื่อพระราชอุทิศให้แก่พระองค์ ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้ออกพระนามของพระองค์ว่า “สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี” ตามที่ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๔ หากแต่มิได้เป็นพระราชชนนีในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อ ๆ มาเท่านั้นเอง


สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๔

        พระนามเดิมคือ หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ พระมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์อยู่ในช่วงวัยเยาว์ ได้เข้ามาฝึกหัดการถวายงานพัด และพระองค์ก็สามารถพัดได้ถูกพระทัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามแก่หม่อมเจ้าหญิงนี้ว่า “รำเพย” อันมีความหมายว่า “ลมเย็นที่พัดค่อย ๆ อ่อน ๆ” หลังจากนั้นได้ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา

        ทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนพระยศเป็น “พระองค์เจ้า” พระราชทานพระนามว่า รำเพยภมราภิรมย์ และดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์” มีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งหมด ๔ พระองค์ เป็นพระราชมารดาในรัชกาลต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เมื่อพระองค์เสด็จส ว ร ร ค ต ในปี พ.ศ.๒๔๐๔ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ และในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น “สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี”

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕

        พระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์” พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา หรือที่ชาวบ้านขนานพระนามว่า “สมเด็จพระนางเรือล่ม” พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์มีพระสิริโฉมงดงาม พระสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม ทรงมีพระอัธยาศัยจริงจังเด็ดขาด ปฏิบัติข้อราชการและรับสั่งด้วยความเฉียบคมชัดเจนเสมอเป็นที่ประจักษ์แก่หมู่ข้าหลวงชาววังทั่วไป ทำให้เป็นที่โปรดปรานสนิทเสน่หายิ่งกว่าพระอัครมเหสีองค์อื่น ๆ จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น “พระอัครมเหสี”

        พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุพร้อมกับพระราชธิดา และพระราชบุตรในครรภ์ ที่อายุเพียง ๕ เดือน ภายหลังการสิ้นพระชนม์ทรงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี” ดำรงพระฐานันดรศักดิ์พระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕

        พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ใน ร.๔ กับเจ้าจอมมารดาสำลี พระองค์ทรงเป็นเจ้านายชั้นลูกหลวง พระองค์ที่สองที่ได้ถวายตัวเป็นพระมเหสี ใน ร.๕ เมื่อมีพระชนมายุได้ประมาณ ๑๕ พรรษา ภายหลังพระองค์เจ้าสุขุมาลฯ มีพระประสูติกาลพระโอรสถึง ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ทรงได้รับการเลื่อนพระยศเป็น “พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี” และทรงดำรงฐานันดรศักดิ์นี้จนสิ้นรัชกาล

        ถึงแม้ว่าพระมเหสีชั้นลูกหลวงอีกสามพระองค์ จะได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปก็ตาม แต่พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระราชเทวี กลับมิเคยได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีเลยจนตลอด ร.๕ เพิ่งจะได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ พระอัครราชเทวี ใน ร.๗ จากนั้นจึงถือว่าทรงดำรงพระยศพระอัครมเหสีพระองค์หนึ่งใน ร.๕ ด้วย พระฐานะอยู่ในลำดับกลาง ๆ เสมอมา ซึ่งอาจเพราะเหตุนี้ ถึงกับได้มีพระดำรัสว่า “แม่นี้เป็นมนุษย์ที่อาภัพ” (จากพระราชหัตถเลขาพระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต)

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในรัชกาลที่ ๕

        พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา พระราชธิดาใน ร.๔ กับเจ้าจอมมารดาเปี่ยม เป็นพระเจ้าน้องนางเธอในสมัย ร.๕ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้น พระองค์ก็มีพระสิริโฉมงดงาม จนมีคำกล่าวว่า “หน้าตาคมสันองค์สว่าง พูดจากระจัดกระจ่างองค์สุนันทา” พระองค์ทรงเข้ารับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ ๕ ขณะที่มีพระชนม์ ๑๖ พรรษา โดยมีพระองค์เจ้าหญิง พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๔ ที่รับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับพระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี และพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี

        ภายหลังการ สิ้ น พ ร ะ ช น ม์ ของพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์ต่อไป มีพระนามาภิไธยเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี” เนื่องด้วยทรงเป็นพระราชชนนีของ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร” ซึ่งเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย ภายหลังการส ว ร ร ค ต ของเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ จำต้องสถาปนาพระโอรสในพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็น สยามมกุฎราชกุมารแทน เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ (ร.๘) พระวรวงศ์เธอ เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเฉลิมพระนามพระศรีสวรินทิราขึ้นเป็น “สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า”

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๕

        พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม อีกหนึ่งพระองค์ พระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี” โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะมีพระเจ้าลูกเธอใน ร.๔ เข้ารับราชการเป็นภรรยาเจ้าในระยะเวลาใกล้เคียงกันถึง ๔ พระองค์ นั่นก็คือ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์, พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี, พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา และพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี พระภรรยาเจ้าทั้ง ๔ พระองค์มีพระเกียรติยศเสมอกันทุกพระองค์ พระเกียรติยศที่จะเพิ่มพูนนั้นขึ้นอยู่กับการมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเป็นสำคัญ

        เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปนั้น พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระบรมราชินีนาถ” ทำให้พระองค์ทรงเป็นปฐมบรมราชินีนาถของประเทศไทย มีตำแหน่งเป็น “สมเด็จพระอัครมเหสี” แม้จะทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดในขณะนั้น แต่พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ทรงให้เกียรติพระเชษฐภคินีโดยมิเคยเสด็จพระราชดำเนินนำหน้า และทรงหมอบถวายบังคมพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เมื่อเสด็จออกท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ด้วยความเคารพเสมอ

สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ในรัชกาลที่ ๖

        นายพันโทหญิง สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา มีพระนามเดิมว่า ประไพ สุจริตกุล พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้ สุจริตกุล) เมื่อได้ทรงอภิเษกสมรสก็ได้รับการสถาปนาให้มีตำแหน่งเป็นพระมเหสีองค์หนึ่งมีพระนามว่า “พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี และเมื่อทรงตั้งครรภ์ทำให้ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี” ตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสี เป็นพระอิสริยยศสูงสุด

        เนื่องจากพระองค์ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดไม่ได้หยุด ทำให้ทรงตกพระ โ ล หิ ต ขณะตั้งครรภ์ถึง ๒ ครั้ง เป็นเหตุให้พระนางเจ้าอินทรศักดิศจี ถูกลดพระอิสริยยศลงเหลือเพียง “สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา” เพื่อให้พระสนมที่กำลังตั้งครรภ์องค์ต่อมาคือ “พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี” สามารถสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระอัครมเหสี แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า พระนางเจ้าสุวัทนา ให้กำเนิดพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว และหลังจากประสูติพระธิดาได้เพียง ๑ วัน ร.๖ ก็ทรงเสด็จส ว ร ร ค ต

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗

        พระอัครมเหสีเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมเหสีพระองค์แรกตามแบบยุโรปและระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์” ชาววังเรียกขานพระนามพระองค์ว่า “ท่านหญิงนา” พระองค์ทรงเป็นสตรีที่มีพระสิริโฉมงดงาม พระจริยวัตรอันนุ่มนวล มีพระพักตร์แจ่มใส และแย้มพระสรวลอยู่เสมอ แลดูเอิบอิ่มเต็มไปด้วยพระกรุณา กล่าวกันว่าพระองค์เป็นสตรีชาวไทยที่ทรงพระสิริโฉมสามารถเลือกฉลองพระองค์ยุโรปมาสวมใส่ได้อย่างเหมาะสม

        ภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเคียงข้างกับพระราชสวามีเรื่อยมา ทั้งพระราชกิจภายในพระนคร การเสด็จพระราชดำเนินไปยังหัวเมืองต่างๆ รวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในแถบเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี หลังจากพระราชสวามีสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ประทับอยู่ประเทศอังกฤษจวบจนพระราชสวามีเสด็จสวรรคต และเสด็จนิวัติกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลในขณะนั้น

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙

        จอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระนามเดิมว่า “หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร” พระธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร และหม่อมหลวงบัว กิติยากร ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๕ เมื่อหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีอายุราว ๒ ปี ขณะที่พี่เลี้ยงอุ้มอยู่นั้นก็มีแขกเลี้ยงวัวเข้ามาทำนายทายทัก ว่าเด็กผู้หญิงคนนี้จะมีบุญวาสนาได้เป็นราชินีในอนาคต แม้จะเป็นเรื่องขบขันของราชสกุลกิติยากร แต่ไม่มีใครคาดถึงว่าในอีก ๑๕ ปีต่อมาคำทำนายของแขกเลี้ยงวัวผู้นั้นจะเป็นความจริง ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ได้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”

        เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะที่พระราชสวามีเสด็จออกผนวช พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ถือเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์ที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อจาก สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ใน ร.๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต อาชีพ และความเป็นอยู่ของบุคคลผู้ยากไร้ และประชาชนในชนบทห่างไกล ได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทั่วทุกหนแห่งในแผ่นดินไทยนี้

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑๐

        สมเด็จพระราชินีสุทิดา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ มีพระนามเดิมว่าสุทิดา ติดใจ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๓ มิ.ย. พ.ศ.๒๕๒๑ ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อปี ๒๕๔๓ ก่อนที่จะทรงเข้าทำงานการบินไทย ต่อมาทรงเป็นนายทหารบกหญิง และทรงดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ อัตรา พลเอกพิเศษ และยังได้รับพระกรุณาให้เป็นราชองครักษ์เวรในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์

        ต่อมา เมื่อวันที่ ๑ พ.ค.๒๕๖๒ ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศเรื่องสถาปนาสมเด็จพระราชินี โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ถูกต้องตามกฎหมาย และราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว จึงมีพระราชโองการให้สถาปนาพลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินี สุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน

ที่มา : วิกิพีเดียและคลังประวัติศาสตร์, kiddee

บทความแนะนำ More +