อยากรวยต้องฟัง! แนวคิดใช้ชีวิตแบบ "เจฟฟ์ เบโซส" ผู้รั้งบัลลังก์มหาเศรษฐีรวยที่สุดในโลก!

LIEKR:

อยากรวยต้องฟัง! เปิดแนวคิดใช้ชีวิตแบบ "เจฟฟ์ เบโซส" ผู้ก่อตั้ง Amazon สู่มหาเศรษฐีรวยที่สุดในโลก!

        "เจฟฟ์ เบโซส์ (Jeff Bezos)" คือเจ้าของเว็บไซต์ Amazon.com ที่ให้บริการขายสินค้าออนไลน์ ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์แบบอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นที่นิยมและรู้จักกันทั่วโลก ปัจจุบันเขาคือชายที่ได้ชื่อว่ารวยที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่สูงแตะ 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 4.95 ล้านล้านบาท

        ทำไมชายผู้นี้จึงกลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกซ้ำแล้วซ้ำเล่า? และมีโอกาสเป็นมหาเศรษฐีระดับ ‘ล้านล้านดอลลาร์’ คนแรกของโลก วันนี้เราจะมาเปิดแนวคิดเคล็ดลับของ เจฟฟ์ เบโซส์ ว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Amazon ก้าวมาถึงจุดนี้ได้สำเร็จ

 

Sponsored Ad

 

        - ไม่ใช่เรื่องของ “โชค” แต่คือความ “เชื่อมั่น

        เจฟฟ์ เบโซส์ ที่เติบโตมาจากสาย IT ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสายตา “แหลมคม” ในการเลือกลงทุนธุรกิจ IT เขาคือผู้ลงทุนคนแรกๆ ของกูเกิ้ลด้วยเงิน 250,000 เหรียญฯ ซึ่งสุดท้ายก็ทำเงินให้กับเขามากถึง 280 ล้านเหรียญฯ จากการลงทุนครั้งนั้นเลยทีเดียว ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงสายตาอันแหลมคมของ เบโซส นอกจากนั้นเขายังเชื่อมั่นที่จะถือหุ้นในธุรกิจเหล่านี้ในระยะเวลาที่นานพอ จนสามารถทำกำไรในท้ายที่สุดด้วย

 

Sponsored Ad

 

        - ให้ลูกถูกมีดบาดเหลือ 9 นิ้ว ดีกว่าใช้มีดไม่เป็นเลย

        เบโซส์และภรรยาสอนลูกให้ใช้มีดตั้งแต่อายุ 4 ขวบ โดยเขาได้ให้เหตุผลว่า ถ้าลูกถูกมีดบาด เขาจะได้เรียนรู้จากมัน โดยเบโซส์ ยังได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อีกว่า "ผมคงเลือกให้ลูกถูกมีดบาดเหลือ 9 นิ้ว ดีกว่ามีลูกที่ทำอะไรไม่เป็นเลย..."

        - เลือกคู่ชีวิตที่สามารถช่วยคุณออกมาจาก "คุก" ได้

        เขาเคยเปิดเผยว่า หลังจากที่ชีวิตการทำงานของเขาเริ่มลงตัว เพื่อนของเบโซส์ได้จัดให้เขาได้นัดเดทกับผู้หญิงหลายๆ คน ซึ่งแนวคิดในการเลือกภรรยาหรือคู่ชีวิตก็คือ "ผมต้องการผู้หญิงที่สามารถช่วยผมออกมาจากเรือนจำที่ยากเป็นอันดับ 3 ของโลกได้"

 

Sponsored Ad

 

        - กล้าออกจากงานอันมั่นคงเพื่อสร้าง Amazon.com

        เจฟฟ์ เบโซส์ทิ้งตำแหน่งรองประธานอาวุโสที่ ดี.อี.ชอว์ บริษัทด้านการบริหารจัดการการลงทุนในวอลล์สตรีต เพื่อลงมือสร้าง Amazon.com จากโรงรถบ้านตัวเอง พร้อมกับลูกน้องคนแรกที่ชื่อว่าเชล คาฟาน (Shel Kaphan) นับเป็นการตัดสินใจที่บ้าบิ่นที่สุดของเขา

        - สิ่งที่เขาคิดจะทำถ้าไม่ได้กลายมาเป็น "เจฟฟ์ เบโซส์" ในวันนี้

 

Sponsored Ad

 

        "ผมคิดว่าตัวเองคงจะกลายเป็นนักวิศวกรซอฟแวร์ที่มีความสุข..." คือคำสัมภาษณ์จากเจฟฟ์ เบโซส์ เมื่อมีคนถามเขาว่าเขาอยากเป็นอะไรถ้าไม่มีวันนี้ อีกทั้งเบโซส์ยังภูมิใจในฝีมือคราฟต์เบียร์ของตัวเองด้วย

        - เชื่อในทีมขนาดเล็ก

 

Sponsored Ad

 

        เจฟฟ์ เบโซส์เชื่อมั่นใน ‘กฎพิซซา 2 ถาด’ หากเขาไม่อาจเลี้ยงทีมทั้งทีมได้ด้วยพิซซาเพียง 2 ถาด นั่นก็หมายความว่าทีมใหญ่เกินไปแล้ว สำหรับเขาแล้ว ความคิดแบบอิสระสำคัญกว่าการความคิดที่ผ่านการตัดสินใจจากคนกลุ่มใหญ่

        - ทุกๆ วันคือวันแรกเสมอ

        คือหนึ่งในปรัชญาสำคัญที่เบโซส์ยึดถือมาโดยตลอดและพา Amazon ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีระดับโลกได้สำเร็จ จากร้านหนังสือออนไลน์ที่เริ่มต้นแบบสตาร์ทอัพ เขามักจะพูดประโยคนี้กับพนักงานในองค์กร รวมไปถึงผู้ถือหุ้นบริษัทอยู่เสมอว่าทุกคนควรเต็มที่และโฟกัสกับการทำงานเหมือนวันแรก หรือก็คือ ทุกๆ วันที่คุณเข้ามาทำงาน มันมีสิ่งใหม่ๆ ให้ทดลอง เปลี่ยนแปลง และสร้างสรรค์อยู่เสมอ ไม่มีทางที่คุณจะได้ทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในแต่ละวัน”

 

Sponsored Ad

 

        - ตัดสินใจเร็ว แต่มองในระยะยาว

        เบโซส์ย้ำกับพนักงาน โดยเฉพาะระดับอาวุโสเสมอว่า บางครั้งก็จำเป็นต้องตัดสินใจลงมืออย่างรวดเร็ว หลายบริษัทล้มเหลวไม่ใช่เพราะตัดสินใจพลาด ตรงกันข้าม พวกเขาตัดสินใจได้ดี แต่ช้าไปต่างหาก ยิ่งไปกว่านั้น การตัดสินใจเร็วจะช่วยกระตุ้นให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนุก และท้าทายมากขึ้น และข้อสุดท้าย เมื่อไรที่คนลังเลไม่กล้าตัดสินใจกัน จงกล้าที่จะเดิมพันกับสิ่งที่ทุกคนไม่เห็นด้วย ซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรุปได้ทันที

        นี่เป็นเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของกลยุทธ์ส่งเสริมการขายแปลกใหม่ ที่โดนใจลูกค้าของ Amazon จึงไม่แปลกที่ Amazon จะไต่อันดับขึ้นมาเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลกในปีนี้ จาก 500 บริษัทชั้นนำด้วยมูลค่าราว 106,400 ล้านดอลลาร์ รองจากกูเกิล (อันดับหนึ่ง) และเฟซบุ๊ก (อันดับที่ 2) แซงหน้าไมโครซอฟท์ (อันดับที่ 5) ทั้งหมดเป็นเพราะแนวคิดของ "เจฟฟ์ เบโซส์" นั่นเอง


ที่มา : buzzorange, forbes

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ