กระจ่าง! เปิดสาเหตุ ทำไม "ราคาน้ำมันพม่า" ถูกกว่าไทยลิบลับ!

LIEKR:

กระจ่าง! เปิดสาเหตุ ทำไม "ราคาน้ำมันพม่า" ถูกกว่าไทยลิบลับ!

    เปิดสาเหตุที่พม่าน้ำมันถูกกว่าไทย โดยกระทู้ดังกล่าวถูกโพสต์โดยสามชิกเฟสบุครายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า น้องปอสาม โดยกระทู้ดังกล่าวถูกโพสต์ระบุเอาไว้ จนได้พบกับคำตอบ อ๋อ! มันเป็นอย่างงี้นี่เอง

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

เห็นแชร์กันเยอะมาก เรื่องป้ายราคาน้ำมัน เมียนมาร์ ของบริษัทนึง (ตามภาพแหละครับ) ขอไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง อธิบายตามหลักความเป็นจริงเรื่องพลังงานล้วนๆนะครับ

       – ถามว่านี่ราคาจริง หน่วยเป็นอะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น

ก็ตอบตามจริงว่า เป็นราคาจริง หน่วยเป็นเงินบาท ขายแถวชายแดนฝั่งเมียนมาร์ ปั๊มนี้อยู่ที่เมียววดี

    – ส่วนราคาทำไมถูกกว่าไทยเรา

 

Sponsored Ad

 

ก็เหมือนเดิมครับ เหตุผลหลักๆ คือ

    1. เมียนมาร์เก็บภาษีน้ำมันน้อยมาก (ถ้าไทยทำตาม รัฐอาจไปหาทางออกกับการเพิ่มภาษีกับสินค้าชนิดอื่นๆ รวมถึงการเก็บภาษีส่วนบุคคลเพิ่ม) (ไม่ขอพาดพิงในส่วนของเมียนมาร์นะครับ)

    2. ไม่มีการส่งเสริมพลังงานทดแทน (ที่ผสม เอทานอล ไบโอดีเซล ถ้าไม่ส่งเสริม ก็เดียวชาวไร่ ชาวสวน ออกมาโวยวายว่ารัฐไม่มีการส่งเสริม ให้ช่วยพยุงราคาหน่อย แถมดันมีการเอาไปหาเสียงอี๊ก)

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

    3. มาตรฐานการปล่อยมลพิษของน้ำมันค่อนข้างแย่กว่าเรา อันที่เกิดฝุ่น PM2.5 ก็เป็นส่วนนึงนี่แหละ เอาแค่ปริมาณการใช้น้ำมันของไทยก็ชนะเพื่อนบ้านเราแล้ว ถ้าเราไปใช้มาตรฐานเดียวกับเค้า ฝุุ่นในไทยจะเยอะกว่านี้มากขนาดไหนคงไม่ต้องพูด

    – ในเมียนมาร์มีหลายเจ้า หลายยี่ห้อ เช่น Max Energy / PTTOR(เป็นการซื้อแบรนด์ไปดำเนินการเอง) / Petrochina / SPC / PPCL / Denko Pokkan / Shell และ อีกเพียบ

    – ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่โยงการเมือง ก็นานาจิตตัง คงห้ามไม่ได้ที่จะคิด บอก Fact เฉยๆ

 

Sponsored Ad

 

เคยโพสต์ลงเพจไปเมื่อนานมาแล้ว

    – น้ำมันสำเร็จรูปส่วนใหญ่นำเข้าจาก Singapore, มีเพียงส่วนน้อยที่นำเข้าจากประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เพียงบริเวณชายแดนไทยพม่า น้ำมันส่วนใหญ่ในเมืองใหญ่ เช่น Yangon, Mandalay มาจาก Singapore

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

    – โครงสร้างราคาในปัจจุบันไม่มีการเก็บเงินเข้ากองทุนใดๆ มีเพียงการเก็บ Custom duty 1.5% บนราคา Import Price และ Commercial tax อีก10% (ข้อมูลเก่ามาก)(ล่าสุดคือเก็บแค่ 5%) (Commercial tax มีลักษณะคล้าย VAT กับ Excise tax รวมกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย)

    – ปัจจุบันราคาหน้าปั๊มจะถูกตั้งโดยสมาคมกลุ่มผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ (Myanma Petroleum Trade Association – MPTA) โดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ (Myanma Petroleum Product Enterprise – MPPE) จะดูแลราคาไม่ให้ผู้นำเข้าตั้งราคาสูงเกินไปจากราคาตลาดโลก (ไม่ต่างกับประเทศไทย โดยมีกระทรวงพลังงาน รวมไปถึง กรมธุรกิจพลังงาน กำกับดูแล ให้ผู้ค้าทำตามกฎหมาย มาตรา 7 และ ปตท. / บางจาก ที่คอยคานราคาขึ้นช้าลงเร็ว)

 

Sponsored Ad

 

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

    – ในส่วนของราคาดีเซลของเมียนมาร์ มีราคาถูกกว่าไทยเนื่องจาก มาตรฐานน้ำมัน (ยูโร) ต่างกัน ในส่วนของ P-HSD = Premium HSD Sulfur content 10-50 ppm (EURO 4); HSD = Regular HSD Sulfur content 500 ppm (Euro 2) ถ้าของไทย Premium HSD จะเป็น EURO 5 และมีการผสมน้ำมันปาล์ม B100 ให้เป็นไบโอดีเซล ตามสัดส่วน 6-7% ส่วนไทยมีเพิ่มอีก ได้แก่ B20 และ B10 แต่เพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน ช่วยเหลือเกษตรกร และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมพลังงานทดแทนตามโครงการพระราชดำริ

Sponsored Ad

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

    แหล่งขุดเจาะน้ำมันที่ประเทศพม่า เป็นการบริหารจัดการของประชาชน ที่เป็นเจ้าของประเทศ นำขึ้นมาใช้เอง และขายเอง ไม่ผูกขาดกับระบบรัฐ หรือบริษัทสัมปทาน ไม่ต้องจบวิศวกร ธรณีวิทยา ก็สามารถขุดเจาะน้ำมันได้

.

ข้อมูลและภาพจาก น้องปอสาม

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ