เปิด 7 ข้อปฏิบัติเปิดเมือง สำหรับเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด กลับภูมิลำเนา

LIEKR:

ผู้ที่เดินทางจากกรุงเทพฯ กลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ต้องรู้!

        จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่นานมานี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีการพิจารณาผ่อนปรนให้กิจการบางประเภทกลับมาเปิดกิจการได้ในบ้างพื้นที่ และมีสายการบิน ที่เตรียมพร้อมกลับมาให้บริการ รวมทั้งบริษัทการเดินรถขนส่งในประเทศ กลุ่มนครชัยแอร์ และผู้ว่าหลายจังหวัดเตรียมพร้อมที่จะเปิดเมือง และมีข้อกำหนด รวมทั้งมาตรการบังคับออกมาอย่างชัดเจน

        จากการสังเกตการเคลื่อนย้ายคนจากกรุงเทพฯ ไปยังต่างจังหวัดในช่วงเวลานี้ เกิดจากส่วนแรก ประชาชนที่ตั้งใจจะเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว อีกส่วนหนึ่งคือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ขอกลับไปตั้งหลักที่ภูมิลำเนา เพราะมาตรการผ่อนปรนยังมาไม่ถึงกิจการ หรือกลุ่มอาชีพของพวกเขา

 

Sponsored Ad

 

        โดยทางกรุงเทพมหานครได้ออกข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะเดินทางจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล กลับภูมิลำเนา ในต่างจังหวัด ไว้ 7 ข้อ ดังนี้

        1. แยกตัว สังเกตอาการไข้ และอาการทางเดินหายใจทุกวัน

 

Sponsored Ad

 

        2. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้อื่นในที่พํานัก หรือที่พักจนครบ 14 วัน นับจากวันที่ถึงภูมิลําเนา

        3. ไม่รับประทานอาหาร และใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น

        4. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน ผ้าห่ม แก้วน้ำ ช้อนส้อม

        5. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ นาน 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์ 70% ลูบมือจนแห้ง

 

Sponsored Ad

 

        6. หลีกเลี่ยงการพูดคุย ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง

        7. หากมีไข้และอาการทางเดินหายใจ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยทันที

        นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาแล้ว ต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการเมื่อเดินทางถึงภูมิลำเนา ด้วยการเฝ้าระวังอาการอยู่กับบ้าน 14 วัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยมีข้อปฏิบัติตนดังนี้

 

Sponsored Ad

 

        1. วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน หากพบว่า มีไข้ อุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ให้ไปพบแพทย์ โดยแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือแจ้ง 1422 เพื่อประสานการรับตัว

        2. ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ด้วยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วย เจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70 เปอร์เซ็นต์ ปิดปากปิดจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอ จาม

        3. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ และควรอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร หรือ 1-2 ช่วงแขน หรือใช้เวลาพบปะผู้อื่นให้สั้นที่สุด

 

Sponsored Ad

 

        4. ให้แยกห้องนอน ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ โทรศัพท์ รวมทั้งให้แยกทำความสะอาด

        5. จัดให้มีน้ำดื่ม แยกเฉพาะ แยกการรับประทานอาหาร ไม่รับประทานร่วมกับคนในครอบครัว และเก็บล้างภาชนะด้วยน้ำยา ล้างจาน ผึ่งให้แห้งและตากแดด

 

Sponsored Ad

 

        6. ให้แยกขยะเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหารแบบใช้ครั้งเดียว ขวด เป็นต้น และแยกขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู ซึ่งในแต่ละวันให้เก็บรวบรวมและทำลายเชื้อโดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น และทำลายเชื้อโดยราดด้วยน้ำยาฟอกขาว แล้วมัดปากถุงให้แน่น นำไปทิ้งรวมกับขยะทั่วไป

        7. ให้แยกการใช้ห้องส้วมกับคนในครอบครัว หากแยกไม่ได้ ควรใช้ห้องส้วมเป็นคนสุดท้าย และให้ทำความสะอาดทันทีหลังใช้ส้วม ให้ปิดฝาทุกครั้งก่อนกดชักโครกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

Sponsored Ad

        8. กรณีจำเป็นต้องพบปะผู้อื่น ให้ใช้หน้ากากอนามัย ซึ่งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ให้ทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างด้วยสบู่และน้ำทันที

        9. งดกิจกรรมนอกบ้าน งดการสังสรรค์ งดไปในที่ชุมชน งดใช้ขนส่งสาธารณะ

        - ตัวช่วย “เก็บข้อมูลการเดินทาง” ไว้ตรวจสอบย้อนหลังเมื่อมีอาการ

        อย่างไรก็ตาม เมื่อพบผู้ป่วยรายใหม่ ในขั้นตอนการสอบสวนโรค หนึ่งในนั้นจะมีการสอบถามว่า ในช่วงระยะเวลา 14 วันที่ผ่านมา ได้เดินทางไปสถานที่ใดมาบ้าง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกับผู้ป่วยเฝ้าระวัง กักตัวเพื่อสังเกตอาการด้วยตัวเอง ซึ่งอาจมีหลายคนหลงลืมไปว่าระหว่างนั้นได้แวะไปในสถานที่ใดบ้าง

        ตัวช่วยหนึ่งที่สามารถทำได้ คือ การเก็บข้อมูลประวัติการเดินทางลงบนสมาร์ทโฟน ที่พกติดตัวไปตลอดในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะสามารถตรวจสอบการเดินทางย้อนหลัง แล้วแจ้งให้ทีมสอบสวนโรคทราบเพื่อช่วยกันเฝ้าระวัง ปัจจุบันผู้ใช้บัญชีกูเกิล (Google) สามารถบันทึกข้อมูลการเดินทางได้ ผ่านแอปพลิเคชัน Google Maps ซึ่งมีวิธีการตั้งค่าก็คือ เข้าไปที่เมนู “ไทม์ไลน์ของคุณ” เลือก “การตั้งค่า” เลื่อนไปที่ “การตั้งค่าตำแหน่ง” แล้วเปิด “บริการตำแหน่ง” และ “ประวัติตำแหน่ง” ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้

        อีกแอปพลิเคชันหนึ่ง คือ “หมอชนะ” ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และเครือข่ายพัฒนาขึ้น เพื่อใช้เก็บข้อมูลในช่วงการระบาด ประเมินความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อของแต่ละคน โดยจะขออนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลด้วยการเปิด GPS ระบุตำแหน่ง เปิดบลูทูธ และเปิดการแจ้งเตือน โดยจะมีคิวอาร์โค้ดให้สแกนในจุดหรือสถานที่ที่ติดตั้งคิวอาร์โค้ดไว้

        แอปฯ ดังกล่าวจะช่วยเฝ้าระวังและแจ้งระดับความเสี่ยงจากการตอบคำถาม ช่วยบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพอาการและข้อมูลการเดินทางจากการเช็กอินตามสถานที่ต่างๆ เพื่อยืนยันความปลอดภัยของผู้ใช้ โดยจะแสดงระดับความเสี่ยงของผู้ใช้เป็นสี ไล่ตั้งแต่สีเขียว ความเสี่ยงต่ำมาก สีแหลือง ความเสี่ยงต่ำ สีส้ม ความเสี่ยงปานกลาง และสีแดง ความเสี่ยงสูง ต้องไปพบแพทย์

        ใครที่จะเดินทางออกต่างจังหวัดในช่วงเปิดเมือง ก็ควรปฏิบัติตามกฏข้อบังคับนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดซ้ำ ปลอดภัย ทั้งตัวเองและคนรอบข้างด้วย อย่าใช้ชีวิตประมาท

ที่มา : prachachat

บทความที่คุณอาจสนใจ