เปิดเรื่องราว "สะใภ้เจ้า" เส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ สู่เกียรติยศใน 10 ราชสกุล จากรัชกาลที่ 5

LIEKR:

"สะใภ้เจ้า" เส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ สู่เกียรติยศใน 10 ราชสกุลจากรัชกาลที่ 5!

        การเลือกสะใภ้ หรือพระสุณิสา หรือการเลือกคู่ครองให้แก่พระราชโอรสในสมัยรัชกาลที่ 5 และกลุ่มพระราชินี พระมเหสี พระมารดา นั้นมีเส้นทางที่ค่อนข้างเคร่งครัด เงื่อนไขหลักเกณฑ์เส้นทางการเข้าสู่การเป็น “สะใภ้เจ้า” ที่คู่ควรกับเจ้านายชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า มักจะเลือกจาก “เจ้านายฝ่ายใน” ซึ่งเป็นพระธิดาของพระบรมวงศานุวงศ์ใกล้ชิด

        สะใภ้เจ้า คือ สตรีที่แต่งงานมีสามีเป็นเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป เดิมผู้หญิงที่มาเป็นสะใภ้เจ้ามักเป็นระดับเจ้านายในราชสำนักฝ่ายใน ก่อนจะขยายวงมาเป็นบุตรสาวของบุคคลสำคัญ (เช่น ขุนนาง, พ่อค้า ประชาชนทั่วไป ฯลฯ) เพื่อให้สถานของครอบครัว “เธอ” และ “เขา” ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน แล้วพัฒนาไปสู่การแต่งงานกับสามัญชน

 

Sponsored Ad

 

(ซ้าย) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล พระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

(ขวา) หม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยยันต์ พระชายาในสมเด็จพระจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

 

Sponsored Ad

 

        ซึ่งเหล่า “สะใภ้เจ้า” มักจะถูกเลือกจากบรรดาพระธิดาของพระอนุชา ในรัชกาลที่ 5 หรือพระธิดา ที่เกิดจากหม่อมมารดาที่เป็นสะใภ้หลวง หรือธิดาของภรรยาเอก หากมิใช่เจ้านายฝ่ายในที่เกิดจากภรรยาเอก ก็จะเลือกจากเจ้านายฝ่ายในที่เป็นข้าราชสำนักในพระองค์ ที่สนิทเสน่หา ในสำนักสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ

หม่อมคัทริน ณ พิษณุโลก ชายาชาวรัสเซียในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ (ภาพจากหนังสือ “แคทยาและเจ้าฟ้าสยาม”)

 

Sponsored Ad

 

        หรือกรณีที่พระราชโอรส ทรงเลือกเส้นทาง ผู้หญิงที่ต้องพระทัยด้วยพระองค์เอง กับบรรดาเจ้านายในพระราชวงศ์ หรือเกิดจากการได้พบปะกับหญิงสามัญชนนอกราชวงศ์ เช่น ในงานออกร้านฤดูหนาวที่วัดเบญจมบพิตร หรืองานลีลาศที่โรงแรมพญาไท

        สัญลักษณ์หนึ่งของ “สะใภ้เจ้า” ที่ได้รับการยอมรับให้เป็น “สะใภ้หลวง” หรือ “ชายาเอก” นั้น จะต้องได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตระกูล “จุลจอมเกล้าฝ่ายใน” กล่าวคือ

        - สะใภ้หลวงที่เป็นชั้นพระองค์เจ้า จะได้รับพระราชทาน “ตราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ”

        - สะใภ้หลวงที่เป็นชั้นหม่อมเจ้า จะได้รับพระราชทาน “ตราทุติยจุลจอมเกล้า”

 

Sponsored Ad

 

        - สะใภ้หลวงที่เป็นสามัญชน จะได้รับพระราชทาน “ตราทุติยจุลจอมเกล้า”

        - หากสะใภ้เจ้าผู้ใด ไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รับรอง จะมีฐานะเพียง “หม่อมห้าม”

        ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีสะใภ้หลวง ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จุลจอมเกล้าฝ่ายใน” ทั้งสิ้น 10 พระองค์ ประกอบด้วย

1.พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรพัทธประไพ พระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ องค์ต้นราชสกุล “รพีพัฒน์”

2.หม่อมเจ้าประวาศสวัสดี โสณกุล และ 3.หม่อมเจ้าสุมนมาลย์ โสณกุล พระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช องค์ต้นราชสกุล “จิระประวัติ”

 

Sponsored Ad

 

4.หม่อมเจ้าอัปษรสมาน เทวกุล พระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ องค์ต้นราชสกุล “กิติยากร”

5. หม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์ ภาณุพันธุ์ พระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล “อาภากร”

 

Sponsored Ad

 

6. หม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยยันต์ พระชายาในสมเด็จพระจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต องค์ต้นราชสกุล “บริพัตร”

Sponsored Ad

7.หม่อมเจ้าวรรณวิลัย กฤดากร พระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทรโรดม องค์ต้นราชสกุล “เพ็ญพัฒน”

ซ้าย-หม่อมเจ้าวรรณวิลัย (กฤดากร) และ ขวา-หม่อมเจ้าพรรณเพ็ญแข เพ็ญพัฒน์

8. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล พระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ องค์ต้นราชสกุล “ยุคล”

9. หม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ ดิศกุล พระชายา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร องค์ต้นราชสกุล “วุฒิชัย”

        ข้อมูลจากศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่ 10 สิงหาคม 2561 และหนังสือ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” โดย ม.ร.ว.พูนพิศสมัย ดิสกุล สำนักพิมพ์มติชน

        ภาพจาก : หนังสือจุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์-พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย

ที่มา : LIEKR

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ