สื่อนอกเผยเทคนิคการสอนลูก เปลี่ยน "เด็กดื้อ" เป็น "เด็กดี" ได้ง่ายๆ ถ้าสอนแบบถูกวิธี

LIEKR:

วิธีการเลี้ยงลูก ที่พ่อแม่เข้าใจว่าเป็นการหวังดีต่อลูกน้อย แต่มันอาจส่งผลเสียกับลูกในทางอ้อมได้โดยไม่รู้ตัวนะ

    คำพูดของพ่อแม่ส่งผลต่อลูกตั้งแต่เด็กจนกระทั่งพวกเขาโตขึิ้น คำพูดดีๆ ที่เต็มไปด้วยความรักและการให้กำลังใจสามารถทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างดี และคำพูดที่บั่นทอนจิตใจก็อาจฝังอยู่ในความคิดและจิตใจไปตลอดกาล

 

    คำพูดที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่บั่นทอนและทำร้ายจิตใจของลูกๆ หรือคำพูดที่อาจจะมาจากความหวังดีแต่อาจสร้างความเครียดและความกดดันให้กับพวกเขาได้ และพ่อแม่ควรเปลี่ยนมาใช้คำพูดอีกแบบแทนจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

 

Sponsored Ad

 

    1.อย่าบอกว่าเหลือเวลาเท่าใด

    หากคุณบอกว่าเหลือเวลา 5 นาที ในการเล่นเกมหรือกิจกรรมใดๆ เด็กอาจไม่เข้าใจและไม่รู้ว่ามันนานแค่ไหน เพราะเขาไม่ได้จับเวลา แนะนำว่าให้บอกว่า “ลูกสามารถโยนบอลได้อีก 5 ครั้งนะ” แบบนี้จะเข้าใจง่ายกว่า

  

 

Sponsored Ad

 

     2.เด็กในวัยที่เริ่มทำอะไรได้ด้วยตนเองแล้ว 

    พ่อแม่สามารถทำให้เขาดูก่อน เพื่อให้เขาสามารถทำเองได้ ด้วยการดูตัวอย่างของพ่อแม่ แบบนี้ลูกจะได้เข้าใจง่ายกว่าว่าควรทำอย่างไร เพราะมีตัวอย่างจากคุณพ่อคุณแม่แล้ว

 

      3.ขอบคุณ และ ขอโทษ

 

Sponsored Ad

 

    หากลูกๆอยากช่วยเหลือคุณ อย่าละเลยจุดนี้ ผู้ใหญ่ทุกคนล้วนชอบฟังคำยกยอ ดังนั้นเด็กก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ใหญ่ควรฝึกพูดชมเช่น “ขอบคุณ” เมื่อลูกช่วยเหลือเรา และ “ขอโทษ” เมื่อเราทำผิดต่อลูก ลูกจะได้ดูเป็นตัวอย่างและทำตามจนเป็นนิสัย 

    4. เบี่ยงเบนความสนใจลูก

 

Sponsored Ad

 

     เช่นถ้าลูกร้องไห้ จากที่จะพูดว่า “พอแล้วนะ อย่าร้องไห้” หรือ “ไม่เป็นไรแล้ว อย่าร้องไห้” ในตอนนั้นลูกของคุณกำลังอยู่ในอารมณ์แห่งความเศร้าโศก คุณต้องพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของลูก ด้วยการถามถึงประเด็นอื่นเพื่อให้ลูกตอบคำถาม

 

    5.ใช้สัปดาห์ในการแยกให้เด็กจดจำ

 

Sponsored Ad

 

    หากคุณมีเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันในบ้าน ก็อาจเกิดปัญหาแย่งของเล่นได้ ดังนั้นผู้ใหญ่อย่างเราก็ควรยื่นมืออกกไปช่วยด้วยการใช้สัปดาห์เพื่อให้เด็กสามารถรู้จักแบ่งแยก และการเรียงลำดับเพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะกัน เช่น วันจันทร์ให้ใครเล่นก่อน จากนั้นค่อยให้อีกคนเล่นทีหลัง 

 

    6.ให้เลือกคำว่า “โอเค ลูกจดจำไว้นะ” แทนการปฏิเสธ

 

Sponsored Ad

 

    อย่าพยายามปฏิเสธเด็กโดยตรง แม้ว่าคุณจะรู้ว่าลูกๆมีของเล่นมากมายที่เหมือนกันอยู่แล้ว เพราะความรู้สึกแบบนี้ไม่มีใครชอบหรอก ดังนั้นอย่าปฏิเสธ แต่บอกพวกเขาว่า "ตกลง หนูจำได้ก่อนนะ" แล้วเรากลับบ้านไปดูกันว่าเรามีของเล่นชนิดนี้แล้วหรือยัง? วิธีนี้สามารถช่วยได้!

 

    7. การให้ลูกเข้านอน

Sponsored Ad

    ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำพูด ดังนั้นคุณก็ควรขึ้นไปนอนเป็นเพื่อนลูกด้วย ปิดทีวี ปิดมือถือ ปิดไฟ จากนั้นก็แกล้งนอน แบบนี้จะทำให้ลูกสงบลง และมีอารมณ์ร่วมในการอยากนอน

 

    8.พ่อแม่ไม่ควรพูดแทนลูกๆ ของตัวเอง 

    โดยเฉพาะในเรื่องง่ายๆ อย่างเช่นเมื่อมีคนแปลกหน้าถามชื่อ พ่อแม่นั้นสามารถแนะแนวทางให้เด็กๆ ตอบคำถามอย่างถูกต้องได้ แต่ไม่ควรพูดแทนเพราะจะทำให้เด็กๆ ไม่มั่นใจในตัวเอง

    9.งานอดิเรกของลูก

    นอกจากรสนิยมแล้ว งานอดิเรกหรือความสามารถพิเศษก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรบังคับลูกๆ เช่นกัน เพราะนอกจากจะทำให้พวกเขาไม่มีความสุขแล้วยังทำให้ความสามารถที่แท้จริงของเด็กๆ ต้องถูกละทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย

    10.การเก็บออม

    แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมเป็นห่วงเรื่องการใช้เงินและการเก็บออมของลูกๆ แต่สิ่งที่ไม่ควรทำก็คือไปควบคุมหรือวุ่นวายกับเงินเก็บของเด็กๆ แต่ควรให้คำแนะนำหรือสอนวิธีการเก็บเงินให้กับพวกเขาอย่างถูกต้องต่างหาก

    11.การบังคับ

    พ่อแม่หลายคนมักบังคับให้ลูกทำทุกสิ่งตามความคิดเห็นหรือความต้องการของตนเอง ด้วยวิธีการที่ออกแนวบังคับมากกว่าสอนหรือแนะนำ ซึ่งจะทำให้ลูกๆ กลายเป็นคนที่ไม่กล้าคิดกล้าทำ หรืออาจเป็นคนที่ต่อต้านสังคมไปเลย

    12.การถามว่าวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง เป็นคำถามที่กว้างและดูไม่มีจุดมุ่งหมาย เด็กๆ อาจจะตอบแค่ว่าก็ดีแล้วจบไป พ่อแม่จึงควรเปลี่ยนมาใช้คำถามที่เฉพาะเจาะจงกว่า อย่างเช่น วันนี้มีเรื่องอะไรดีๆ เกิดขึ้นที่โรงเรียนบ้าง

    เห็นไหมว่าการพูดที่ดีนั้นทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับลูกนั้นดีขึ้น ไม่เพียงเท่านี้เด็กยังรู้สึกไม่กดดันอีกด้วย

ที่มา:teepr,kidjarak.

แปลและเรียบเรียงโดย สารพันคนท้อง

บทความที่คุณอาจสนใจ