การแบ่งลำดับชั้น "พระอัครมเหสี" แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ ตามโบราณราชประเพณี

LIEKR:

การแบ่งลำดับชั้น "พระอัครมเหสี" แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ ตามโบราณราชประเพณี

    ในครั้งนี้ ทีมงานขออนุญาตนำเสนอ การแบ่งลำดับชั้น พระอัครมเหสี แห่งราชวงศ์จักรีไทย แห่งกรุงกรุงรัตนโกสินทร์ ในทุกรัชกาล มาให้ความรู้แก่ผู้อ่านทุกท่านให้ได้รู้ถึงประวัติแห่งราชวงศ์จักรีให้มากขึ้น

พระภรรยาของพระเจ้าแผ่นดิน

 

Sponsored Ad

 

    ตามโบราณราชประเพณี เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศพระภรรยา ให้มีพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดลำดับพระเกียรติยศแห่งพระภรรยาเจ้าและบาทบริจาริกาดังนี้

พระภรรยาเจ้า

 

Sponsored Ad

 

    พระภรรยาเจ้า หมายถึง ภรรยาของพระเจ้าแผ่นดิน ที่มีพระกำเนิดเป็นเจ้า ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยพระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ได้กำหนดไว้ว่ามี 4 ขั้น คือ พระอัครมเหสี พระมเหสี พระราชเทวี และพระอรรคชายา

พระอัครมเหสีเป็นพระอิสริยยศพระภรรยาเอกในพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นพระมารดาขององค์รัชทายาท ในอดีตนั้นพระอัครมเหสีมีคำนำพระนามแตกต่างกันแล้วแต่รัชสมัย อาทิ กรมหลวงบาทบริจาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระนางเธอโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎบรมอัครราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

 

Sponsored Ad

 

บาทบริจาริกา

    บาทบริจาริกา หมายถึง ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์ พระมหาอุปราช และเจ้าฟ้า คือ มีฐานันดรตั้งแต่ "หม่อมราชวงศ์หญิง" ลงไป โดยมีคำนำหน้านามว่า เจ้าจอม โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จว่า เมื่อแรกใช้นำหน้าประกอบการเรียกพระสนมที่เป็นคนโปรดว่า จอมพระสนม หรือ เจ้าจอมพระสนม แต่เวลาพุดจะย่อตัดคำว่า พระสนม ออก เหลือเพียง จอม หรือ เจ้าจอม และหากรับราชการจนมีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาจะได้เลื่อนเป็น เจ้าจอมมารดา โดยบาทบริจาริกามีลำดับชั้น 4 ชั้น คือ พระสนมเอก พระสนม เจ้าจอม และนางอยู่งาน

 

Sponsored Ad

 

การแบ่งลำดับชั้น "พระอัครมเหสี"

    สมเด็จพระอัครมเหสี คือพระมเหสีเอก ผู้เป็นใหญ่เหนือพระมเหสีอื่นๆทั้งปวง มีลำดับชั้นดังนี้

    - สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (Her Majesty Queen ) เป็นตำแหน่งพระอัครมเหสี หรือพระราชินี และเคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน มีเพียง 2 พระองค์ในประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่

 

Sponsored Ad

 

        สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ

        สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

    - สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี (Her Majesty Queen ) เป็นตำแหน่งพระอัครมเหสี แต่ไม่เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีเฉลิมพระนามโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี (พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2468)ลดพระอิสริยยศเป็นพระวรราชชายา
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี (พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2499)สถาปนาเป็นพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี


    - สมเด็จพระราชินี (Queen) พระอัครมเหสีในพระเจ้าแผ่นดินที่ยังไม่ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

Sponsored Ad

 

(28 เมษายน - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)พระอัครมเหสีที่พระมหากษัตริย์ยังไม่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สมเด็จพระราชินีสุทิดา (1 - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)

    - สมเด็จพระพระบรมราชเทวี (Her Majesty Queen) เป็นตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนมีการสถาปนาตำแหน่งพระบรมราชินีนาถขึ้นมา เมื่อมีตำแหน่งพระบรมราชินีนาถแล้ว ก็ไม่มีการสถาปนาพระอัครมเหสีในตำแหน่งพระบรมราชเทวีอีก เสมอด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พ.ศ. 2423)
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (หลังสิ้นพระชนม์)
ที่พระอัครมเหสี
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

    - สมเด็จพระอัครราชเทวี (Her Majesty Queen) เป็นตำแหน่งพระอัครมเหสีอีกตำแหน่งหนึ่ง

Sponsored Ad

สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี
(พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2440)
ในฐานะพระราชมารดาของสยามมกุฎราชกุมาร เสมอด้วยพระบรมราชเทวี
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีสถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

    - พระนางเจ้า พระวรราชเทวี (Her Majesty Queen/Her Royal Highness) เป็นตำแหน่งพระมเหสีลำดับที่ 2

พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (พ.ศ. 2423 - พ.ศ. 2437)สถาปนาเป็นพระอัครราชเทวี
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

    - พระนางเจ้า พระราชเทวี (Her Royal Highness) เป็นตำแหน่งพระมเหสีลำดับที่ 3

พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี (พ.ศ. 2421 - พ.ศ. 2424)สถาปนาเป็นพระบรมราชเทวี
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี (พ.ศ. 2423)สถาปนาเป็นพระวรราชเทวี
พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี (พ.ศ. 2424 - พ.ศ. 2468)สถาปนาเป็นพระอัครราชเทวี

    - พระนางเธอฯ หรือพระนางเธอ (Her Royal Highness) เป็นตำแหน่งพระมเหสีลำดับที่ 4

พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พ.ศ. 2419 - พ.ศ. 2423)
สมเด็จพระนางเธอสุนันทากุมารีรัตน์ (พ.ศ. 2423)
สถาปนาเป็นพระบรมราชเทวี
พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี (พ.ศ. 2420 - พ.ศ. 2424)สถาปนาเป็นพระราชเทวี
พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (พ.ศ. 2421 - พ.ศ. 2422)สถาปนาเป็นพระราชเทวี
พระนางเธอลักษมีลาวัณ

    - พระอัครชายาเธอ (Her Highness) เป็นตำแหน่งพระมเหสีลำดับที่ 5

หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์(พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2431)
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (หลังสิ้นพระชนม์)
พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาค (พ.ศ. 2421 - พ.ศ. 2431)
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย (พ.ศ. 2421 - พ.ศ. 2431)
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ

    - พระวรราชชายา (Her Royal Highness) เป็นตำแหน่งพระมเหสีลำดับที่ 6

พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี (พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2466)
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
สถาปนาเป็นพระบรมราชินี
ภายหลังลดพระอิสริยยศเป็นพระวรราชชายา
หม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรราชชายา (พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2469)พระอัครมเหสีแต่เดิมที่พระมหากษัตริย์ยังไม่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

    - พระราชชายา (Her Highness) เป็นตำแหน่งพระมเหสีลำดับที่ 7

เจ้าดารารัศมี พระราชชายา

    - เจ้าคุณพระ เป็นตำแหน่งพระสนมเอก

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์สถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีสถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

    - เจ้าคุณจอมมารดา เป็นตำแหน่งพระสนมเอก

เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ในรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2428 - พ.ศ. 2466)สถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4สถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2464)สถาปนาเป็นเจ้าคุณพระ

    - เจ้าจอม เป็นตำแหน่งพระสนมเอก



เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ในรัชกาลที่ 1
เจ้าจอมมารดาเรียม ในรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2369)สถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย
เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ 3
เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4
เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5


    - พระ (Lady) สำหรับพระสนมเอกในรัชกาลที่ 6

เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมสุวัทนา ในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2468)สถาปนาเป็นพระวรราชเทวี

    - เจ้าจอมมารดา เป็นตำแหน่งพระสนม

พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล)
พระอินทราณี (ประไพ สุจริตกุล) (พ.ศ. 2465)สถาปนาเป็นพระวรราชชายา

    - เจ้าจอม เป็นตำแหน่งพระสนม

เจ้าจอมมารดาพุ่ม ในรัชกาลที่ 1
เจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ 2
เจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์ ในรัชกาลที่ 3
เจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข ในรัชกาลที่ 5

    - จอมมารดา เป็นตำแหน่งพระสนม



เจ้าจอมบุญนาก ในรัชกาลที่ 1
เจ้าจอมแสง ในรัชกาลที่ 2 (? - พ.ศ. 2367)สมรสใหม่
เจ้าจอมเครือวัลย์ ในรัชกาลที่ 3
เจ้าจอมตนกูสุเบีย ในรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2404 - พ.ศ. 2411)สมรสใหม่
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5


ข้อมูลและภาพ จาก พระยศเจ้านายไทย

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ