คุณหมอหนุ่ม แนะนำท่าบรรเทา "อาการมือชา" ลดความเสี่ยงโรค ทำได้เลยตั้งแต่วันนี้

LIEKR:

ป้องกันไว้ก่อนน่าจะดีที่สุด

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ 

        บางครั้งอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่ร่างกายแสดงให้เห็นและเรามองข้าม อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของอันตรายต่อจากนั้นก็เป็นได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันสัญญาณและอาการต่าง ๆ ของร่างกายก่อนจึงเป็นการเตรียมตัวที่ดี และป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้

        สื่อต่างประเทศรายงานว่า ได้มีผู้ป่วยหญิงคนหนึ่งเล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า ตนเองรู้สึกปวดชาที่มือ เนื่องจากใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีมากไป เพราะต้องทำงานเกี่ยวกับการหาข่าวจากอินเตอร์เน็ตซึ่งทำมานานกว่า 10 ปีแล้วต่อพักหลังเริ่มมีอาการปวดชามือ ไม่มีเรี่ยวแรง 

 

Sponsored Ad

 

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

        กระทั่งอาการรุนแรงมากขึ้นจนร่างกายครึ่งซีกเริ่มมีปัญหา จึงรีบไปหาหมอทันที หลังการตรวจพบว่าป่วยด้วย "โรคภาวะเส้นประสาทถูกกดทับ 2 ตําแหน่ง พร้อมๆ กัน"  (Double crusch syndrome)

 

Sponsored Ad

 

อาการชาที่มือในระยะยาวคือ การกดทับเส้นประสาท

        คุณหมอ เฉินเซียงหง ของคลินิก Elite แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพกล่าวว่า "โรคภาวะเส้นประสาทถูก กดทับ 2 ตําแหน่ง พร้อม ๆ กัน” เป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้บ่อยมาก ในการถูกกดทับจะมี 2 จุด 

จุดที่ 1 รากประสาทคอถูกกดรัด (Cervical Radiculopathy (Pinched Nerve)

 

Sponsored Ad

 

จุดที่ 2 เส้นประสาทตรงกลางข้อมือและด้านข้าง

        เส้นเลือดภายในร่างกายก็เหมือนน้ำในแม่น้ำที่ไหลไปตามทาง ยิ่งหากมีสิ่งอุดตันบริเวณต้นคอก็จะทำให้เลือดถูกส่งไปเลี้ยงแขนและมือได้ยาก ส่งผลทำให้เกิดอาการมือชาได้


        อาการคล้ายกับความสับสนของ "carpal tunnel syndrome" : CTS  เป็นภาวะที่เส้นประสาทมีเดียนซึ่งเป็นเส้นประสาทหลักของมือถูกบีบอัดหรือกดทับภายในข้อมือ เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างมือ หรือการใช้งานมืออย่างไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ ชา และเป็นเหน็บบริเวณมือกับแขน ส่วนใหญ่อาการจะค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยมักต้องรักษาด้วยการใส่เฝือก การใช้ยา หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางประเภทที่ทำให้เส้นประสาทมือเสียหาย และอาจต้องรับการ ผ่ า ตั ด หากมีอาการรุนแรง

 

Sponsored Ad

 

        หมอแนะนำว่าหากมีอาการมือปวด ชาหรือปลายนิ้วมือ โปรดอย่าชะล่าใจเด็ดขาด นี่อาจเป็นอาการเบื้องตนของโรคต่างๆ ได้  

ควรหลีกเลี่ยงท่าเหล่านี้

 

Sponsored Ad

 

        คุณหมอชี้ให้เห็นว่า มักพบผู้ป่วยเส้นประสาทถูกกดทับบ่อยครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี่ต่างๆ  ฉะนั้นควรหลีกเหลี่ยง การก้มศีรษะจ้องมือถือ และ การยืดคอไปข้างหน้า 2 ท่านี้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิด "การกดทับเส้นประสาทได้" ซึ่งเป็นสาเหตุของการมือชา

        และข้อมือก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้เกิดการกดทับได้ง่าย เช่น การใช้คีย์บอร์ด ควรยกข้อมือให้สูงจากโต๊ะอย่างพอดี อย่าให้ข้อมือติดโต๊ะเด็ดขาด ใช้แขนในการพยุงข้อมือให้ลอยกลางอากาศ

 

Sponsored Ad

 

ท่าบริหารข้อมือ

        หากพิมพ์งานนานไปรู้สึกเมื่อยมือก็ให้หยุดพักและ บริหารข้อมือด้วยการใช้มืออีกข้างบิดกดทับนิ้วทั้ง 4 ให้งอไปทางด้านหลังให้มากที่สุด อย่าฝืนตนเองมากไป แนะนำทำ 10 ครั้งต่อชั่วโมง แต่ละครั้งกดทับนาน 10 วินาที ตลอดทั้งวัน

ชมคลิปต้นฉบับ

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<

ที่มา : health.udn | เรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ