เมื่อผู้ป่วยไม่มีเงินไปโรงพยาบาล สามารถ "เก็บเศษขยะ" ใช้แทนเงินไปจ่ายค่ารักษาได้!

LIEKR:

จะดีแค่ไหน ถ้าใช้ "ขยะ" ไปแลกการค่ายาค่ารักษาในโรงพยาบาลได้ คุณหมอคนนี้เริ่มต้นแล้ว!

        ในขณะที่ประเทศไทยมีประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ทำให้ชาวบ้านฐานะปานกลางสามารถเข้าถึงบริการทางสาธารณะสุขต่างๆ ได้ ทว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ประชาชนกลับยังคงต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายในการรักษาตัว หรือไปโรงพย าบาล จะดีแค่ไหน หากเราสามารถจ่ายค่ารักษาได้ด้วย "ขยะ" เพียงไม่กี่ชิ้น

ภาพประกอบบทความ

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อหลายปีก่อนตอนที่นายแพทย์กาเมล อัลบินเซด (Gamel Albinsaid) เริ่มอาชีพเป็นหมอใหม่ๆ เขาพบกับเด็กหญิงคนหนึ่งที่ต้อง จ า ก โ ล ก นี้ไปเพียงเพราะพ่อแม่ของเธอไม่มีเงินพาเธอไปหาหมอรักษา โ ร ค และนี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในประเทศอินโดนีเซีย

        เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้นายแพทย์หนุ่มไฟแรงอย่างกาเมล ฉุกคิดได้ว่า หากพวกเขาไม่ไปโรงพย าบาลเพราะไม่มีเงิน แล้วพวกเขามีอะไรที่พอจะแลกกับค่ารักษาพยาบาลได้บ้างล่ะ

 

Sponsored Ad

 

        ไม่นานนัก ความคิดหนึ่งก็แวบเข้ามาให้หัวของเขา “ขยะ” นั่นเอง พวกเขาสามารถหาขยะได้จากทุกที่ และสามารถนำมันมาเป็นทรัพยากรเพื่อการแลกเงิน ที่จะยังเป็นการได้รีไซเคิลไปในตัว ซึ่งในขณะนั้น การรีไซเคิลขยะยังไม่เป็นที่นิยมในอินโดนีเซีย อย่างไรก็ดีการขายกระดาษและพลาสติกให้ผู้รับซื้อนั้นมีอยู่ทั่วไป

 

Sponsored Ad

 

        คุณหมอจึงลองให้คนไข้เก็บขยะรีไซเคิลจำนวนหนึ่งในทุกๆ เดือน เช่น ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกจำนวน 2 กิโลกรัม หรือกระดาษแข็ง 4 กิโลกรัม มาให้คลินิก อันที่จริงเมื่อนำไปขายพวกมันมีราคาไม่ถึง 30 บาทด้วยซ้ำ แต่มันก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการรักษาทั่วไป

.

 

Sponsored Ad

 

        ฉะนั้น สำหรับคนไข้มันก็เหมือนกับการได้รับการรักษาฟรี พวกเขาไม่ต้องจ่ายอะไรแลกย า นอกจากขยะที่หาได้ทั่วไป

        "เราสนับสนุนให้พวกเขาจ่ายด้วยทรัพยากรที่เขามีอยู่" คุณหมอกาเมลกล่าว ในวัย 26 ปี เปิดคลินิกนี้มาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว และเขาสามารถช่วยคนยากจนได้กว่า 3,500 คนแล้ว "สุขอนามัยถือเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ และเรายังสามารถช่วยให้ประเทศสามารถจัดการกับขยะได้อีกทางหนึ่งด้วย"

 

Sponsored Ad

 

.

        สำหรับอินโดนีเซียถือเป็นประเทศที่ใช้พลาสติกมากเป็นอันดับ 2 รองจากจีน ตอนนี้มีหลายหน่วยงานต้องการนำความคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ มีบางโรงเรียนเริ่มมีโครงการนำขยะไปแลกกับการศึกษา เนื่องจากมันสามารถใช้แก้ปัญหาได้หลายอย่าง เรียกได้ว่าแพทย์หนุ่มคนนี้ สามารถนำสิ่งที่คนทั่วไปมองข้าม มาสร้างมูลค่า และยังเป็นการช่วยเหลือคนอื่นได้อีกด้วย ขอชื่นชมในหัวใจที่อุทิศเพื่อผู้อื่นค่ะ


ข้อมูลและภาพจาก pembaharublog

บทความที่คุณอาจสนใจ