เส้นสายไม่มีอยู่จริง ? กว่าจะเป็น "นักบิน" เจาะลึกอาชีพในฝัน ค่าตอบแทนสูง ได้เดินทางไปทั่วโลก

LIEKR:

เส้นสายไม่มีอยู่จริง ? กว่าจะเป็น "นักบิน" เจาะลึกอาชีพในฝัน ค่าตอบแทนสูง ได้เดินทางไปทั่วโลก

 หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

   พาไปย้อนดูทีละสเตปกว่าจะมาเป็น “นักบิน” สุดสมาร์ท ครบเครื่องขนาดนี้ พวกเขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง…? ก้าวแรก…คุณสมบัติที่ต้องมี!

    ผู้ที่จะมาให้ความรู้ในด้านการ “คัดเลือกนักบิน” นั่นคือ กัปตันชลวิชย์ นันทวิสัย ผู้จัดการกองจัดหาบุคลากรการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยกัปตันชลวิทย์ อธิบายถึงคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครเป็นนักบิน ว่า การรับสมัครนักบิน จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

 

Sponsored Ad

 

    -Student Pilot (SP) นักบินฝึกหัด – อายุไม่เกิน 30 ปี จบปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ไม่จำกัดเกรดที่จบ มีภาษาอังกฤษดี พ้นพันธะทางทหาร มีสุขภาพร่างกายดี

    -Qualified Pilot (QP) นักบินพาณิชย์ตรี – อายุไม่เกิน 42 ปี ถือใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี มีชั่วโมงบินไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง มีระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษด้านการบิน (ICAO) ระดับ 4 ขึ้นไป เป็นนักบินปีกตรึง มี Multi Engine Rating และ Instrument Rating มีสุขภาพร่างกายดี

ก้าวสอง…ฝ่าด่านอรหันต์ 5 รอบ ใช้เวลา 8 เดือน

 

Sponsored Ad

 

    1. สอบข้อเขียน Basic Knowledge มีวิชาคณิตศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ โดยเนื้อหาเป็นระดับมัธยมปลาย เนื่องจากว่าในระดับโลกแล้ว นักบินที่จะถือใบอนุญาต ใช้คุณสมบัติจบแค่ไฮสกูล นอกจากนี้ ยังมีวิชาภาษาอังกฤษ และความรู้ทั่วไป และสุดท้ายคือ เรื่องการสอบ Aptitude Test การทดสอบ ความถนัดในทักษะด้านต่างๆ เบื้องต้น

    2. การตรวจร่างกายที่เวชศาสตร์การบิน ตรวจความสมบูรณ์พร้อม มีอวัยวะครบ 32 ประการ

    3. สอบสัมภาษณ์โดยกัปตันอาวุโส ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งกรรมการจะดูทุกอย่าง อาทิ ปฏิกิริยา การแก้ไขสถานการณ์เบื้องต้น การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ให้เล่นเกมและตอบคำถาม เพราะในการทำงานมือต้องบังคับเครื่อง สายตามองจอ หูต้องฟังการสั่งการ เท้าต้องควบคุม

 

Sponsored Ad

 

“บางคนตื่นเต้น มือเกร็ง ตากระตุก เขย่าเท้า ซึ่งบุคลิกเหล่านี้ หากเป็นคนทั่วไปก็คงไม่ซีเรียส แต่เนื่องจากการเป็นนักบินเป็นตัวแทนประเทศไทย คนเหล่านี้จะต้องพร้อมในการควบคุมอารมณ์ด้วย” กัปตันชลวิชย์ อธิบาย

    4. สอบทักษะในการเป็นนักบินพาณิชย์ (Pilot Aptitude Tests) แบ่งออกเป็น 3 รอบ

 

Sponsored Ad

 

รอบแรก เป็นการสอบข้อเขียนความถนัดว่า ผู้สมัครมีความสามารถเพียงพอที่จะเข้ามาเป็นนักบินได้หรือไม่

รอบสอง การทำงานเป็นทีม ว่า ผู้สมัครทำงานร่วมกับผู้อื่นได้หรือไม่

รอบสาม สัมภาษณ์กับนักจิตวิทยาชาวต่างชาติ 2 คน แบ่งเป็นรอบเช้า 1 คน และรอบบ่าย 1 คน หากผลลัพธ์ไม่เหมือนกันจะไม่ผ่าน ทุกอย่างต้องเป็นเอกฉันท์ โดยการสัมภาษณ์จะเป็นการนั่งคุยกัน เพื่อตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัคร และความรู้ในการตอบคำถามจากการสอบรอบที่ผ่านมาอีกครั้ง

    5. สอบจิตวิทยาการบินที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ อาทิ การมองภาพเป็นมิติ ความจำระยะสั้น ความช่างสังเกต

 

Sponsored Ad

 

…การคัดกรองทั้ง 5 ด่านนี้ เป็นเพียงปฐมบทของการก้าวเข้าสู่อาชีพนักบิน แต่ยังเหลืออีกหลายด่านที่ต้องฝ่าฟันไปให้ได้…

ก้าวที่สาม…เรียนในโรงเรียนการบิน 1 ปี

 

Sponsored Ad

 

    เมื่อฝ่าด่านอรหันต์ทั้ง 5 ด่านแล้วนั้น ผู้สมัครในประเภท Student Pilot บริษัทจะส่งไปเรียนที่โรงเรียนการบิน 1 ปี โดยจะเรียนภาคทฤษฎี อาทิ พื้นฐานการบินเบื้องต้น ระบบของเครื่องบินทั่วไป สภาพอากาศ กฎระเบียบการบิน และเรียนกับเครื่องบินจริงจนครบชั่วโมงบิน เพื่อไปสอบใบอนุญาตการบิน Commercial Pilot License (CPL)

    สำหรับค่าใช้จ่ายในการเรียนโรงเรียนการบิน ส่วนที่บริษัทออกทุนให้ จะอยู่ที่ 2.3 ล้านบาท ส่วนกรณีที่เรียนเองนั้น ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2.3-2.7 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน

Sponsored Ad

ก้าวที่สี่…เรียนหลักสูตร ATT 6 เดือน

    หลังจากที่เรียนที่โรงเรียนจบแล้ว จากนั้น จะต้องกลับเข้ามาเรียนต่อที่บริษัท โดยจะเรียนภาคพื้น Airline Transition Training (ATT) เป็นเวลา 6 เดือน โดยจะเรียนเจาะลึกในเรื่องกฎระเบียบสากลในการบิน กฎหมายที่เกี่ยวกับนักบิน การเดินอากาศ รวมทั้ง เข้าเรียนใน Simulator พื้นฐาน จำนวน 7-10 ครั้ง ก็จะจบในหลักสูตร ATT

ก้าวที่ห้า…ช่วง Initial Training เรียนเฉพาะรุ่นเครื่องบิน เข้า Simulator

    เมื่อจบหลักสูตร ATT จะมีการสอบ โดยคนที่สอบผ่านจะส่งไปตามชนิดเครื่อง ช่วงนี้จะเรียกว่า ช่วง Initial Training จะเรียนในระบบของเครื่องบินชนิดนั้นๆ เช่น โบอิ้ง 777 แอร์บัส 330 ซึ่งจะเรียนเฉพาะเครื่อง ทั้งในเรื่องของระบบ เครื่องยนต์ น้ำมัน โดยจะใช้เวลาเรียน 6-8 เดือน

ขณะที่อยู่ในช่วง Initial Training ก็จะมีการเข้าเรียนใน Simulator เฉพาะเครื่องอีก 9 ครั้งด้วย

    กัปตันวีรวุฒิ วัฒนกุล รองหัวหน้านักบิน เครื่อง BOEING 747-400 อธิบายว่า Simulator คือ เครื่องฝึกบินจำลอง มีความสำคัญในการช่วยฝึกบินในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ว่าไม่สามารถฝึกกับเครื่องจริงได้ จึงต้องมาฝึกใน Simulator แทน โดยสำหรับผู้ที่จะมาฝึกใน Simulator จะเป็นนักบินใหม่ที่เพิ่งมาบินกับเครื่อง หรือแม้แต่นักบินที่ทำการบินอยู่แล้วก็ต้องกลับมาทำการฝึกทบทวนความรู้ เพื่อให้พร้อมในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ กับ Simulator ทุกๆ 6 เดือน

    ภายใน Simulator กัปตันจะนั่งด้านซ้าย และนักบินผู้ช่วยนั่งด้านขวา ส่วนครูฝึกบินจะนั่งด้านหลัง เพื่อควบคุมเครื่อง ตั้งค่าสถานการณ์ต่างๆ ขึ้นมา ทั้งนี้ Simulator สามารถจำลองสถานการณ์ได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น เครื่องยนต์ดับ เครื่องยนต์ไฟไหม้ ระบบ Hydraulic เสีย ระบบไฟฟ้าต่างๆ หรือแม้แต่สภาพอากาศที่ต้องเจอ เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง การบินในทัศนวิสัยที่ต่ำ รวมทั้งสามารถฝึกขึ้นลงในสนามบินต่างๆ ทั่วโลกได้อีกด้วย

ก้าวที่หก การเพิ่มประสบการณ์ในเครื่องบินจริง ก่อนก้าวสู่นักบินเต็มตัว

    หลังจากผ่านการฝึกใน Simulator แล้ว นักบินฝึกหัดจะได้ Licence ตามแบบที่ฝึกจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) โดยมีศักดิ์และสิทธิ์ในการบินกับเครื่องบินจริงแต่จะต้องบินกับครูการบินประมาณ 4-6 เดือนเพื่อเพิ่มประสบการณ์ในเส้นทางบินของเครื่องบินแบบที่ปฏิบัติการบิน เมื่อครูการบินเห็นว่ามีความพร้อมตามกระบวนการตรวจสอบของบริษัทฯ และมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยแล้วก็จะออกมาเป็นนักบินเต็มตัว

…กว่าจะมาเป็นนักบินต้องใช้ระยะเวลา 2 ปีครึ่งถึง 3 ปี…ว่ากันว่า…นักบินต้องเรียนเก่ง จริงหรือ?

กัปตันชลวิชย์ อธิบายว่า การเรียนเก่งของนักบิน มาจากการมีวินัย ที่เห็นว่านักบินได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ บางคนเป็นแพทย์ ซึ่งเด็กที่เรียนเก่งเป็นเพราะเขามีวินัย รู้ว่าเวลานี้ควรทำอะไร หรือนักบินจะต้องเก่งอะไรสักอย่าง ต้องมีความสามารถโดดเด่น เช่น เป็นนักกีฬา แต่สรุปได้ว่า สิ่งนี้เป็นเพราะว่าพวกเขามีวินัยต่างหาก

เส้นสายไม่มีอยู่จริง? นักบินต้อง Perfect

    สำหรับเรื่องเส้นสายในการเข้ามาเป็นนักบินนั้น กัปตันชลวิชย์ ผู้จัดการกองจัดหาบุคลากรการบิน บมจ.การบินไทย ตอบจากประสบการณ์กว่า 23 ปี ว่า “ผมกล้าพูดได้เลยว่า การคัดเลือกนักบิน เส้นสายต้องไม่มีครับ พูดตรงๆ ไม่มีใครกล้าเสี่ยง เพราะเกิดอะไรขึ้นมา จะเสียหายมหาศาลมาก และทางบริษัทโดนจับตามองตลอดเวลาในเรื่องการคัดเลือก ดังนั้น ต้องมีมาตรฐาน

ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา จะเคยมีลูกคนใหญ่คนโตระดับประเทศมาสอบเป็นนักบิน แต่ก็สอบไม่ผ่านครับ…ส่วนตัวผมก็คิดว่า ครอบครัวผมยังต้องใช้บริการที่นี่ เพราะฉะนั้น ผมไม่กล้าเสี่ยงครับ”

Born to Fly อย่างเดียวไม่ได้!

    บางคนเกิดมามีพรสวรรค์ในด้านการบินก็ใช่ว่าจะสามารถเป็นนักบินได้ โดยกัปตันชลวิชย์ แสดงทัศนะจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า พรสวรรค์ คือ การเริ่มต้นของสิ่งนั้นๆ ซึ่งสามารถฝึกไม่นานก็สามารถทำได้ ส่วนพรแสวง คือ การพัฒนา เมื่อพูดถึงในเรื่องของการบิน คนที่ไม่มีพรสวรรค์เลยก็จะต้องเหนื่อยหน่อย เพราะต้องใช้พรแสวงเยอะ แต่ในขณะเดียวกัน หากมีพรสวรรค์ แต่ไม่มีพรแสวงก็ไปต่อไม่ได้เช่นเดียวกัน

    “ผมมองว่า พรสวรรค์ หรือ พรแสวง ต้องไปควบคู่กัน และโดยเฉพาะโลกการบินสมัยนี้เป็นเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เพราะฉะนั้น นักบินทุกคนจะต้องเรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาครับ” กัปตันชลวิชย์ ระบุ

ชมคลิป ฝ่า 5 ด่านอรหันต์ กว่าจะเป็น "นักบิน"

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ชมคลิป ตอน อาชีพนักบิน

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<


ข้อมูลและภาพจาก truststoreonline

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ