"จากเด็ก ม.5 คิดเลขไม่เป็น" อดทนใจฮึดสู้ "สอบติดตำรวจ" เพื่อรอยยิ้มของพ่อแม่ !

LIEKR:

"จากเด็ก ม.5 คิดเลขไม่เป็น" อดทนใจฮึดสู้ "สอบติดตำรวจ" เพื่อรอยยิ้มของพ่อแม่ !

    คนเรา เมื่อมีความฝัน และตั้งใจสู้เพื่อฝันแล้ว ก็ไม่มีอะไรที่มาขวางทางเราในการไปสู่ความสำเร็จได้ “ความรู้ คือใบเบิกทางของชีวิต” เป็นประโยคที่หลายต่อหลายคนพิสูจน์แล้วว่า มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ 

    เช่นเดียวกับหนุ่มน้อยคนนี้ หนึ่งในเด็กของ “บ้านสร้างฝัน” โดยมี “ผู้กองมิ้น” หรือ “ร.ต.อ.อภิชิต ภัณฑะประทีป” อดีตรองสารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองบุรีรัมย์ ผู้ก่อตั้งและภายหลังขอลาออกจากข้าราชการตำรวจจนกลายเป็นข่าวโด่งดัง หันมาสอนให้เด็กฟรี ๆ หวังเพื่อให้เด็กยากจนและนิสัยดีได้มีอนาคตที่สดใส

 

Sponsored Ad

 

.

    “น้องเต้” หรือ นายอุกฤช ปุลันรัมย์ หนุ่มวัย 19 ปี ชาวจ.บุรีรัมย์ นักเรียนตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 จ.นครราชสีมา จดจำและบักทึกอดีตไว้เป็นบทเรียนได้ดี แม้เขาจะเป็นลูกชาวนา พ่อแม่มีความรู้ไม่มากนัก แต่เขาก็สามารถผลักดันตัวเองจนก้าวสู่ความสำเร็จได้

    หากถามว่าโจทย์เลขจำนวนน้อยลบจำนวนมากอย่าง 9-14 คุณเชื่อหรือไม่ “น้องเต้” ตอบไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เขาเรียนอยู่ชั้นม.5 นั่นคือจุดเริ่มต้นของการได้โอกาส เพราะเมื่อปลายปี 59 โชคร้ายพ่อแม่เขาถูกโกงในคดี “โกงตาชั่ง” ขายหมู เป็นจังหวะชีวิตที่ผู้กองมิ้นเป็นเจ้าของคดี และมองเห็นอะไรบางอย่างในแววตาของเด็กคนนี้ จึงรับไว้ในความอนุเคราะห์ และน้องเต้ก็เป็นเด็กที่เรียนอ่อนที่สุด

 

Sponsored Ad

 

    น้องเต้ บอกว่า เมื่อจบม.6 ก็ย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านสร้างฝันในปี 61 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่ผู้กองมิ้นลาออกจากตำรวจ เพื่อทุ่มเทและหันมาดูแลเด็ก ๆ อย่างเต็มตัว

    จำนวน 2 วิชา “คณิตศาสตร์” และ “ภาษาอังกฤษ” เป็นสิ่งที่น้องเต้ยอมรับว่า…ผมเรียนอ่อนมาก แต่วิชาอื่น ๆ ก็พอทันเพื่อนครับ จบได้เกรด 2 ปลาย ๆ คนอื่นก็ไปสมัครเรียนมหาวิทยาลัยกันหมด แต่ผมไม่เก่ง ไม่รู้จะไปสอบที่ไหน แต่ใจผมอยากเป็นตำรวจให้พ่อแม่ภูมิใจครับ

    ตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปีที่เขาตั้งใจและพาตัวเองออกจากกับดักความคิดที่ว่า…พ่อแม่ทำนาทำไร่ เราก็คงเป็นได้แค่นี้ จะเอาอะไรไปสู้คนอื่น ๆ เรียนก็ไม่เก่ง แต่ทว่าในบ้านสร้างฝันหลังนี้ เขาหมั่นอ่านหนังสือ ฝึกทำข้อสอบร่วมกับน้อง ๆ คัดศัพท์ภาษาอังกฤษวันละ 50 คำ ตามคำสอนของผู้กองมิ้น ฉะนั้นอุปสรรคมีเพียงอย่างเดียว คือ “ตัวเด็กเอง” แม้ไม่มีครูแต่มีหนังสือ ข้อสอบมีไว้ฝึกฝน ผิดครั้งแรกไม่เป็นไร แต่ครั้งต่อไปต้องพัฒนา คือ เป้าหมายของเด็กที่จะต้องเดินไปให้ถึง

 

Sponsored Ad

 

    “ผมอายุ 19 ซึ่งโตที่สุดในบ้าน น้องเล็กสุดก็อายุ 12 ปี ผมจึงเป็นพี่ใหญ่ ผมจะต้องดูแลน้อง ๆ กว่า 20 คนในบ้าน ผู้กองมิ้นก็จะสอนให้รู้จักรับผิดชอบ พาน้องอ่านหนังสือ ฝึกทำข้อสอบ ทำกับข้าวให้น้อง ๆ และที่สำคัญรู้จักแบ่งปันและเสียสละครับ”

    แม้จะเป็นพี่เพราะอายุมากกว่า แต่น้องเต้ก็เป็นเด็กที่เรียนอ่อนที่สุดในบ้าน จากเด็กที่บวกลบไม่ได้ในวันนั้น เขาฝ่าฟันสอบชิงลำดับที่จนได้เป็นนักเรียนตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 จ.นครราชสีมา สำเร็จในครั้งแรก ซึ่งมีผู้สมัครกว่า 5,000 คน นำความปลาบปลื้มมาให้ย่าวัย 80 ปีที่เขารักมากที่สุด และพ่อกับแม่รวมถึงเป็นแบบอย่างให้น้องชายวัย 14 ปี ที่ต่อจากนี้จะได้เห็นเขาบนเส้นทางข้าราชการตำรวจ

 

Sponsored Ad

 

    เขาพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นแล้วว่า สิ่งที่เขากลัว กับดักความคิด ความไม่เสมอภาค เมื่อสลัดมันทิ้งไป แลกกับความเหนื่อย มันหอมหวานและคุ้มค่ามากแค่ไหน มันเป็นความสุขก้าวแรกของเด็กที่ในหัวคละคลุ้งไปด้วยความสุข

    ในวันที่ครอบครัวพากันไปส่งตัวน้องเต้เข้าศูนย์ฝึก ผู้เป็นแม่ “นางสาวสุรัตน์ บัตรรัมย์” อายุ 41 ปี และผู้เป็นพ่อ “นายชูชาติ ปุลันรัมย์” อายุ 47 ปี รู้สึกอิ่มเอมใจอย่างมากที่ลูกชายเอาชนะอุปสรรคได้ เพราะรู้ดีว่าไม่มีความรู้มากพอที่จะให้ลูกได้ ทำให้มีน้ำตาแห่งความดีใจออกมาให้เห็น

 

Sponsored Ad

 

    ในขณะที่น้องเต้นั่งอยู่ในแถว เขามองกลับมาที่พ่อและแม่ เขารู้สึกและสัมผัสได้ว่าทั้งสองท่านดีใจและพูดไม่ออก แต่มันคือความสุขที่ไม่มีคำอธิบายมากไปกว่า “รอยยิ้มแห่งความดีใจ”

    หลายคนอาจจะตั้งข้อสงสัยว่า แม้ระบบการศึกษาของไทยไม่ได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่ได้เลวร้ายที่สุดเช่นกัน ฉะนั้นปัจจัยสำคัญอยู่ที่ตัวเด็กเองและครอบครัวที่สร้างพื้นฐานให้เด็ก ซึ่งการพยายามทำให้เด็กคนหนึ่งมีความรู้ โดยเด็กคนนั้นอยู่ในจำนวน 50-60% คือเด็กไม่เก่ง แต่ในระบบการศึกษของไทยมีเด็กเก่งเพียง 10-20% การพัฒนาเด็กปรับความคิดจึงไม่ได้ยากเกินไป มันจะสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าเด็กคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ การเปลี่ยนให้เด็กเขาเชื่อว่าทำได้ เปลี่ยนความคิดและดึงความเชื่อมั่นในตัวเด็กออกมา และพัฒนาให้มากกว่าคนอื่น สักวันความรู้ที่จะติดตัวไปก็อาจจะแซงคนทั้งหมดได้ แม้เริ่มต้นอาจจะช้าหน่อย แต่ก็ไม่ได้ช้าเกินไป และสิ่งที่สังคมจะได้รับกลับคืนไปเต็ม ๆ คือ บุคลากรที่มีความรู้

    น้องเต้ กล่าวทิ้งท้ายให้ฟังว่า “ผมบอกไม่ถูก ความรู้เปลี่ยนชีวิตผม ความรู้ทำให้มีความสุขได้ มีชีวิตที่ดีขึ้นแม้จะยังไม่ออกผล แต่ถ้าเราตั้งใจก็จะทำได้ ทำให้เราโตขึ้น ผมตอบไม่ถูก บางครั้งท้อแต่อย่าถอย สิ่งสำคัญอยู่ที่ตัวเราและชนะใจตัวเอง ร้องไห้ได้ แต่ทำให้ดีที่สุดก่อน แล้วค่อยบอกว่าทำไม่ได้ จริงไหมครับ

 

Sponsored Ad

 

    และนี่ก็คือเรื่องราวของน้องเต้ หนุ่มวัย 19 ปี กว่าจะข้ามกีดจำกัดตัวเอง ทิ้งอดีตเรียนแย่ได้ครูดี “ผู้กองใจงาม”สอนให้ฟรี ใจฮึดสู้ผลักดันตัวเองสอบติดตำรวจ สานฝันเพื่อพ่อแม่บนเส้นทางข้าราชการ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม : ซึ้งใจ ! ผู้กองหนุ่ม "ทิ้งอาชีพตำรวจ" เพื่อมาเป็น "ครู" สอนฟรีให้เด็กยากจน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม : คู่รักใจบุญ! ตร.หนุ่มกับแฟนสาว "ใช้เงินส่วนตัว" เช่าตึกให้เด็กยากจนอยู่ฟรี พร้อมสอนหนังสือให้

ข้อมูลและภาพจาก เดลินิวส์

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ