เล่าปี่ "รู้จักซื้อใจ รู้จักใช้คน" ว่าด้วยการจูงใจลูกน้องของมหาบุรุษในยุค สามก๊ก

LIEKR:

กุญแจแห่งความสำเร็จ ที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย

    วันนี้แอดมินจะพาไปย้อนอดีตกาลถึงสมัยปลายราชวงศ์ฮั่น ยุคที่แผ่นดินจีนเต็มไปด้วยโจรโพกผ้าเหลือง และการเมืองในราชวัง

    คนที่จะพูดถึงก็คือ เล่าปี่ เขามีปณิธานที่อยากให้แผ่นดินจีนสงบสุข ซึ่งเล่าปี่เองก็ถือเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่เดินตามอุดมการณ์ที่วางไว้ เมื่อย้อนประวัติคราวๆของเล่าปี่ เขาเกิดในครอบครัวคนขายเสื่อที่มีเชื้อราชวงศ์ จากนั้นค่อยๆ ก้าวขึ้นสู่เส้นทางของอำนาจ จนในที่สุด สามารถขึ้นครอง “จ๊กก๊ก” หนึ่งในอาณาจักรใหญ่ยุคสามก๊กเคียงคู่กับ “วุยก๊ก” ของโจโฉ และ “ง่อก๊ก” ของซุนกวนได้

 

Sponsored Ad

 

    ส่วนหนึ่งที่เขาประสบความสำเร็จนั่นก็คือ ความเชี่ยวชาญในหลักการ “รู้จักซื้อใจ รู้จักใช้คน” โดยที่เล่าปี่ไม่เคยลงเรียนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์จากคณะบริหารธุรกิจสักแห่ง เพราะสมัยนั้นยังไม่มีเปิดสอน 

 

Sponsored Ad

 

    กองทัพของ “จ๊กก๊ก” เต็มไปด้วยคนเก่งๆ มากมาย หากพูดถึงความเก่งกาจในเรื่องการต่อสู้ ก็ต้องยอมรับฝีมือของกวนอูและเตียวหุย พี่น้องร่วมสาบานของเล่าปี่ ทั้งยังมีทหารเอกฝีมือดีอย่างจูล่งร่วมทัพด้วย นอกจากความเข้มแข็งของฝ่ายบู๊แล้ว ฝ่ายบุ๋นก็ดูจะเคี่ยวไม่แพ้กัน เพราะได้สุดยอดกุนซืออย่างขงเบ้งมาช่วยวางแผนในการทำศึก

    ด้วยลักษณะนิสัยของเล่าปี่ที่มีลักษณะเป็น “ผู้พนมมือสิบทิศ” ซึ่งมีความอ่อนน้อมยอมรับลูกน้อง จนสามารถซื้อใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อให้การศึกของตนประสบผลสำเร็จ ทำให้บุคคลผู้เก่งกล้าสามารถเหล่านี้ยอมรับในตัวของเล่าปี่ได้ไม่ยากนัก แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ขอยกกรณีของการ “รู้จักซื้อใจ รู้จักใช้คน” มาเล่าสู่กันฟังใน 2 กรณี

 

Sponsored Ad

 

    กรณีแรกคือ ตอนที่เล่าปี่ต้องไปเชิญขงเบ้งผู้หยั่งรู้ฟ้าดินมาเป็นกุนซือประจำทัพตน เล่าปี่ต้องดั้นด้นไปที่กระท่อมไม้ไผ่ที่เขาโงลังกั๋งที่พักของขงเบ้ง พอเล่าปี่มาถึง ขงเบ้งได้ทดสอบจิตใจของเล่าปี่ด้วยการไม่ปรากฏตัวออกมาให้เห็น เพื่อให้เล่าปี่รู้สึกเหนื่อยที่จะมาชวนเขาคิดการใหญ่

    แต่เล่าปี่ขึ้นเขาโงลังกั๋งเพื่อไปทาบทามขงเบ้งถึง 3 ครั้งโดยที่ไม่ละความพยายามเลย ซึ่งครั้งสุดท้ายเขาพบว่าขงเบ้งกำลังนอนหลับอยู่ เขาก็ยอมนั่งรอจนกระทั่งขงเบ้งตื่น จากนั้นก็ชักชวนให้เข้ามาช่วยเหลือกิจการบ้านเมืองด้วยอีกแรง

 

Sponsored Ad

 

    ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น ในที่สุดขงเบ้งเองก็ยอมรับในความพยายาม “ซื้อใจ” ตนของเล่าปี่ จึงรับคำที่จะไปเป็นกุนซือของทัพขงเบ้งในที่สุด ซึ่งหลังจากนั้น เล่าปี่ก็ทำให้เห็นอีกว่าเขารู้จักเลือกใช้คน โดยมอบหมายให้ขงเบ้งทำงานใหญ่หลายชิ้น อย่างเช่น การทำลายกองทัพเรืออันยิ่งใหญ่ของโจโฉลงอย่างย่อยยับในศึกใหญ่ของวรรณกรรมสามก๊กอย่าง “ศึกผาแดง”

 

Sponsored Ad

 

    อีกกรณีหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า เล่าปี่รู้จักซื้อใจลูกน้อง อยู่ในตอนที่มีชื่อว่า “จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า”

    ตอนที่เล่าปี่ต้องพาทหารและชาวเมืองซินเอี๋ยหนีออกมาจากเมือง เพราะการรุกหนักของกองทัพโจโฉ ด้วยความชุลมุนในการถอยทัพ ทำให้เล่าปี่ต้องพลัดหลงกับ 2 ฮูหยิน นั่นคือ บิฮูหยิน, กำฮูหยิน และอาเต๊า บุตรชายเล่าปี่ที่เกิดจากนางกำฮูหยิน

    เมื่อทราบดังนั้น จูล่งจึงควบม้าตามหาครอบครัวของผู้เป็นนาย แล้วจูล่งก็พบกับนางกำฮูหยิน จึงให้นางรีบตามทัพของเล่าปี่ไป ส่วนตนก็ไปตามหานางบิฮูหยินและอาเต๊าต่อ แต่เมื่อพบกับอาเต๊า และนางบิฮูหยิน ปรากฏว่านางบิฮูหยินเจ็บหนัก และด้วยความที่ไม่อยากเป็นภาระกับจูล่งจึงกระโดดลงบ่อน้ำเพื่อฆ่าตัวตาย

 

Sponsored Ad

 

    จูล่งจึงเอาอาเต๊าซ่อนไว้ในเกราะ แล้วฝ่าทัพโจโฉออกมาโดยต้องลุยเดี่ยวกับทหารของโจโฉตั้งแต่เวลาตีสามถึงบ่ายสามหรือประมาณ 12 ชั่วโมง จนพาอาเต๊ามาส่งเล่าปี่ผู้เป็นบิดาได้สำเร็จ 

    ภารกิจนี้คือผลงานชิ้นเอกของจูล่ง แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือการที่เล่าปี่ตอบรับภารกิจของจูล่ง โดยการโยนอาเต๊าลงพื้น พร้อมกับด่าว่า “ลูกอัปรีย์ ทำให้เราต้องเกือบสูญเสียจูล่ง” แต่จูล่งรับอาเต๊าไว้พร้อมกับขอเล่าปี่ว่าอย่าทำเช่นนั้น เพราะอย่างไรเขาก็จงรักภักดีกับเล่าปี่

Sponsored Ad

    สิ่งที่เล่าปี่ทำคือลักษณะนิสัยที่เป็นจุดแข็งของเขาเองที่ทำให้ลูกน้องเห็นว่า ตนให้ความสำคัญกับลูกน้องดีๆ มากกว่าคนในครอบครัวเสียอีก ซึ่งในเวลานั้นเป็นช่วงที่เล่าปี่อยู่ในช่วงยากลำบาก จนไม่สามารถหาซื้อของที่มีค่าใดตอบแทนการกระทำของจูล่งได้

    แต่สิ่งเดียวที่เขาทำได้คือ “ซื้อใจ” ลูกน้อง และมันก็ได้ผล…

    ผ่านไป 1,800 ปี สู่ยุคปัจจุบัน แม้ทุกวันนี้จะมีระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่องค์กรที่จะขับเคลื่อนไปด้วยกันได้ ก็ด้วยกุญแจแห่งความสำเร็จที่ไม่ต่างจากสิ่งที่เล่าปี่ทำเมื่อเกือบสองสหัสวรรษก่อนเท่าไหร่นัก นั่นก็คือการ “รู้จักซื้อใจ รู้จักใช้คน”

*ยึดตามบทประพันธ์ “สามก๊ก” ฉบับของหลอกว้านจง เป็นหลัก

ที่มา : thepeople

บทความแนะนำ More +