ลุยเก็บภาษี "ความเค็ม" มาม่ารสแซ่บ-ขนมขบเขี้ยว ซุปก้อน ผงปรุงรส โดนกันทั่วหน้า

LIEKR:

ส่งเสริมให้ประชาชน มีสุขภาพดี!

    กรมสรรพสามิตเตรียมเก็บภาษีความเค็ม เฉพาะที่ใช้ในการเพิ่มรสชาติอาหาร "ขนมขบเขี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสแซ่บ ก้อนซุปปรุงรสอาหาร และผงปรุงรสอาหาร" โดนกันทั่วหน้า สรุปปีเก็บปีนี้ให้เวลาปรับตัว 2 ปี ในส่วนของร้านค้า ธุรกิจชุมชนที่ใช้ความเค็มถนอมอาหาร รวมทั้งร้านค้าข้าวแกง อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ไม่เข้าข่าย ผู้ค้าสบายใจได้

    นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต เผยว่า ทางกรมกำลังศึกษาเก็บภาษีความเค็มกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภาษีความเค็มเก็บจากปริมาณโซเดียม ซึ่งมี 2 ประเภท คือ โซเดียมที่เป็นสารเพื่อยืดระยะเวลาของอายุอาหาร มีสัดส่วนอยู่ประมาณ 20% ในส่วนนี้กรมสรรพสามิตจะไม่เก็บภาษี เพราะถือว่าผู้ประกอบการจะไม่ใส่ไม่ได้

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้ยังมีโซเดียมที่ใส่ในอาหารแล้วทำให้รสชาติดีขึ้น ในส่วนนี้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ ซึ่งกรมสรรพสามิจจะเก็บภาษีความเค็มในส่วนนี้ มีสัดส่วนอยู่ประมาณ 80%

 

Sponsored Ad

 

    อย่างไรก็ตาม กรมยังอยู่ระหว่างการรือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดปริมาณโซเดียมที่ควรบริโภคต่อวันควรเป็น 2400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 2000 มิลลิกรัมต่อวัน ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดใหม่

 

Sponsored Ad

 

    "ความเค็มหรือปริมาณโซเดียมในอาหารต่อมื้อไม่ควรเกิน 600 มิลลิกรัมต่อวัน เมื่อ 3 มื้อก็รวมกันอยู่ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในความเป็นจริงปัจจุบันปริมาณโซเดียมในอาหารแต่ละมื้ออยู่ที่ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งจะสรุปกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะกำหนดความเค็มที่จะเก็บภาษีเท่าไรภายในปีนี้ ซึ่งในที่สุดต้องเป็นให้ถึงมาตรฐานของ WHO แต่ระหว่างทางต้องให้เวลาปรับตัวคาดว่า 2 ปี"

    สำหรับอัตราภาษีจะต้องเป็นอัตราที่จูงใจให้ผู้ประกอบการปรับสูตรอาหารลดความเค็มหรือปริมาณโซเดียม การเก็บภาษีมากไปก็จะไปก็จะไปลดความสามารถของผู้ประกอบการได้ ซึ่งในตลาดตอนนี้ในตลาดมีอาหารที่มีความเค็มหรือปริมาณโซเดียมเกิน 60% มีทั้งขนมคบเขี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสแซ่บทั้งหลายเกินหมด รวมถึงก้อนซุปปรุงรสอาหาร และผงปรุงรสอาหาร แต่ไม่เก็บสรรพสามิตน้ำปลา ซี้อิ้ว หรือ เกลือ

 

Sponsored Ad

 

    นายณัฐกร กล่าวว่า นโยบายการเก็บภาษีความเค็มไม่ได้หวังเรื่องการเพิ่มรายได้ แต่ต้องการให้ผู้ประกอบการลดการปริมาณโซเดียมผสมในอาหารให้ลดลง เพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพหรือเป็นโทษกับสุขภาพให้น้อยที่สุด โดย WHO ระบุว่าการลดความเค็มในอาหารได้ 20-30% จะลดจากการเป็นโรคได้ 30-40% ทั้งโรคความดัน โรคไต มีผลการศึกษาชัดเจน ซึ่งต่างประเทศก็มีการเก็บภาษีความเค็มกันส่วนใหญ่

    ทั้งนี้ทั้งนั้นนจะต้องหาข้อสรุปดังกล่าวก่อน เพื่อมากำหนดอัตราภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคต่อมื้อที่เหมาะสมว่าควรเป็นเท่าไร.

ข้อมูลและภาพจาก posttoday, thairath, 

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ