สถาปนิกไทยชื่อดัง "สร้างบ้านเกษียณ" เผย พวกเราไม่เคยแยกกันและจะอยู่ด้วยกันตลอดไป

LIEKR:

"การทำงานชุมชน" ไม่ใช่แค่ทำออกมาให้ชาวบ้านเลือกแล้วจบ แต่ต้องทำให้ "เกิดการเรียนรู้" ทั้งตัวเขาและตัวเรา

    วันนี้แอดมินจะพามารู้จักกับบุคคลที่น่าชื่นชมของสังคม คุณป่อง-ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ (Patama Roonrakwit) สถาปนิกชุมชนแห่ง CASE STUDIO และเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม Community Architects for Shelter and Environment หรือ CASE คือหนึ่งในผู้นำ “งานออกแบบ” เข้าไปยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้คนในพื้นที่ที่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมกลุ่มต้น ๆ ของไทย

    ปฐมาเป็นสถาปนิกพ่วงท้ายคำว่า ‘ชุมชน’ ทำงานเพื่อสังคมคู่ไปกับงานออกแบบและรับเหมาก่อสร้าง

 

Sponsored Ad

 

    เสื้อยืดสีขาว ประหนึ่งว่าเป็นชุดประจำตำแหน่งที่เราคุ้นชิน เพราะเห็นได้บ่อยเวลาเธอใส่ตอนออกสื่อ

 

Sponsored Ad

 

    เรียบง่าย สบาย  ๆ ไม่คล้ายก็ใกล้เคียงกับนิยามการใช้ชีวิตของเธอมากที่สุดเท่าที่เราสัมผัสได้ นอกเหนือจากรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอันเป็นเอกลักษณ์ วันนี้เราจะมาแนะนำผลงานบ้านหลังใหม่ของเธอและครอบครัวย่านมีนบุรี


     จากเดิมที่บ้านหลังเก่าของเธอมักใช้เป็นสถานจัดปาร์ตี้เนื้อย่างในหมู่เพื่อน ๆ สถาปนิกแถวหน้าของเมืองไทย เมื่อย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังใหม่ เชื่อแน่ว่าบ้านหลังนี้คงจะได้ทำหน้าที่ไม่ต่างกัน สมกับที่เธอบอกกับเราพร้อมเสียงหัวเราะว่า "บ้านของเธอหัวกระไดไม่เคยแห้ง"

 

Sponsored Ad

 

    นี่คือบ้านที่มีพื้นที่โดยรอบประมาณ 1 ไร่ มีบ้านติดกัน 7 หลัง โดยแบ่งบ้าน 5 หลังให้ครอบครัว มีระเบียงทางเดินที่เชื่อมติดกันทั้งหมดทุกหลัง แต่ละหลังก็มีโซนส่วนตัวเช่นกันนะ

    “บ้านนี้มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่พักและที่ทำงาน ด้วยความที่เรามีเพื่อนเยอะมีคนแวะเวียนมาหาอยู่บ่อย ๆ ทั้งเพื่อนคนไทยและต่างชาติ เราจึงออกแบบบ้านหลังใหม่ให้มีทั้งเรือนประธาน พื้นที่ส่วนตัว  พื้นที่ Public และพื้นที่รองรับเพื่อน ๆ เตรียมเผื่อไว้ด้วย”

 

Sponsored Ad

 

    เธอออกแบบอาคารเพื่อรับโครงสร้างบ้านเรือนไทย โดยติดตั้งไม้ระแนงล้อมบ้านเรือนไทยอายุกว่า 100 ปีไว้ เพื่อช่วยให้มีรูปทรงที่กลมกลืนไปกับบ้านกล่องโมเดิร์นสีขาว แถมยังมีข้อดีช่วยให้ความร้อนและแรงลมไม่เข้ามาปะทะกับตัวบ้านโดยตรง

 

Sponsored Ad

 

    บ้านหลังใหม่ วิถีปัจจุบัน

    “บ้านเก่าไม่ค่อยตรงกับวิถีชีวิตพี่สักเท่าไหร่ บ้านหลังนี้จึงต้องออกแบบให้ตอบโจทย์ชีวิตปัจจุบันมากที่สุด โดยตีความทั้งจากตัวเราและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวที่มีหลายช่วงวัย ตั้งแต่คุณแม่อายุ 84 ปี ไปจนถึงหลานคนเล็กอายุ 8 ขวบ ส่วนพี่น้องคนอื่น ๆ ทุกคนมีออฟฟิศอยู่ที่บ้านทั้งหมด เราไม่ต้องการพื้นที่กว้างเพราะบ้านหลังเดิมมีพื้นที่ถึง 4 ไร่ ต้องตัดหญ้าทีละสองหมื่นบาท เราแบกค่าใช้จ่ายไม่ไหว สำหรับที่ดินแปลงใหม่นี้เป็นของญาติที่เราแบ่งซื้อมา ตอนแรกคิดไว้ว่า 1 ไร่ ก็น่าจะพอ แต่พอลงมือสร้างจริงกลับมีรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามาเรื่อย ๆ จนกินพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 20 ตารางวา เพราะเราคิดว่าจะอยู่ที่นี่ไปจน ต า ย ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรแล้ว จึงต้องใส่ทุกอย่างที่ต้องการลงไปให้ครบถ้วน"

 

Sponsored Ad

 

    “บ้านหลังนี้มีโจทย์มาจากการที่เราต้องย้ายบ้านเรือนไทยริมน้ำหลังเดิมที่ไม่สามารถยกให้ใครได้มาไว้ในบ้านหลังใหม่นี้ สิ่งที่คิดไว้จึงกลับตาลปัตรจากแบบเดิมไปหมด เพราะต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้บ้านไทยมาอยู่ร่วมกับบ้านโมเดิร์นได้อย่างลงตัว  สุดท้ายจึงมาลงเอยด้วยการทำเป็นหอพระ และตีความบ้านไทยเป็นเรือนประธาน"

Sponsored Ad

    “บ้านพี่ไม่ใช่บ้านของดีไซเนอร์ที่พอเข้ามาแล้วต้องร้องว้าวเท่จัง! แต่ถ้าถามว่าทุกคนอยู่แล้วโอเคไหม ทุกคนบอกโอเค เป็นบ้านที่เราไม่ได้ตั้งใจประดิษฐ์ให้ออกมาสวยเพื่อลงหนังสือแต่ใช้งานจริงไม่ได้ แบบนั้นพี่ว่ามันไม่ใช่”

    บ้านหลังใหม่ประกอบไปด้วยก้อนอาคาร 7 ยูนิต แม้ตัวอาคารจะตั้งขวางทางลม แต่ก็ได้รับการออกแบบให้มีระยะร่นที่ต่างกัน เพื่อดักจับลมให้ไหลเวียนถ่ายเทได้สะดวกบ้านไม่ร้อนอบอ้าว บ้านที่เป็นมากกว่าการทดลอง


    “เราทำงานทดลองมาเยอะมาก ตอนนี้พี่จะอายุ 50 แล้ว จากประสบการณ์ทำให้เรารู้ว่าจะประหยัดอะไรได้ตรงไหน หรืออะไรที่ใช้งานได้จริง อย่างการนำเรื่องการดักลมมาใช้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสังเกตเห็นจากตอนอยู่บ้านเก่า เรารู้ว่าลมจะพัดมา จากทางทิศไหน หรือแม้แต่แสงแดดและความร้อน เราก็รู้จักวิธีที่จะเลี่ยง พร้อม ๆ กับออกแบบฟังก์ชันให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละพื้นที่ อย่างพื้นที่ที่หันไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นทิศที่จะได้รับความร้อนโดยตรง แทนที่จะเป็นพื้นที่พักผ่อน เราออกแบบให้ส่วนเซอร์วิสมาอยู่ตรงนี้แทน รวมทั้งใช้อิฐมวลเบาก้อนใหญ่ช่วยกันความร้อนได้อีกทาง”

.

.

.

.

    นี่คือบ้านของน้องชายที่เปิดบริษัทท่องเที่ยว 

    “นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ใช้สำหรับเป็นออฟฟิศ ซึ่งตรงกับไลฟ์สไตล์ของเราและถือเป็นจุดที่ใช้งานบ่อย เมื่อมีลูกค้าเข้ามาพูดคุยงานก็จะได้เห็นตัวอย่างการใช้วัสดุและฟังก์ชันต่าง ๆ ของบ้านแบบจริง ๆ ตามไปด้วย”

    ส่วนนี่คือห้องสอนเปียโนของน้องสาว

    หลังนี้ให้เพื่อนสนิทมาพัก จะได้เป็นส่วนตัวหน่อย

    ชานบ้านทำหน้าที่เชื่อมระหว่างพื้นที่พักอาศัยกับส่วนออฟฟิศให้เป็นส่วนเดียวกัน แม้จะมีฟังก์ชันต่างกันก็ตาม

.

.

    ในครอบครัวเรามีเพียงน้องชายที่แต่งงานมีครอบครัวแล้ว ฉะนั้นพวกจะมีห้องนอน 3 ห้อง


    เนื่องจากแม่เดินขึ้นบันไดไม่สะดวก จึงได้ทำลิฟต์ให้แม่ได้ขึ้นลงสะดวกมากขึ้น

    มีทางลาดชันให้ด้วยเพื่อสะดวกในการเข็นแม่

นี่คือบรรยากาศโดยรอบ

    มีระเบียงส่วนตัวให้แม่ได้ออกมาดูนกชมวิว

    “การออกแบบทุกครั้งเริ่มตั้งแต่ไซต์งาน เวลาไปดูไซต์ต้องดูอย่างละเอียดทั้งด้านซ้าย ขวา หน้า หลัง ตรอกซอกซอยรอบ ๆ  ร้านวัสดุที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อนบ้านเป็นอย่างไร ถ้าเพื่อนบ้านเรื่องมากอาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง พี่เคยเจอมาแล้ว 1 ปียังสร้างไม่เสร็จ เพราะโดนร้องเรียนตลอดเวลา ถ้าต้องสั่งหยุดก็จะมีผลกระทบตามมาหลายอย่าง เหตุการณ์แบบนี้ถ้าเป็นสถาปนิกจบใหม่อาจจะนึกไม่ถึง ถ้ารถเสาเข็มเข้าไม่ได้จะทำอย่างไร การไปดูไซต์จึงไม่ใช่แค่ดูเสร็จแล้วออกแบบ ต้องดูสภาพแวดล้อมใกล้เคียงด้วยว่าตอนสร้างจะสร้างได้ไหม สร้างอย่างไร ใช้ระบบอะไร เพราะถ้าดีไซน์ผิดกระบวนการตั้งแต่ต้นก็เละ! นี่แค่ปัญหาคร่าว ๆ เพราะหากได้ลงมือทำงานจริงจะพบว่ามีข้อจำกัดมากมายให้เราต้องรับมือ”

    พ่อของปู่เป็นคนจีนที่พายเรือหลบหนีมาไทย และนี่ก็เป็นเรือที่พ่อของปู่ทำขึ้นเอง

    “เราออกแบบพื้นที่ออฟฟิศจากคนที่มีประสบการณ์ พอทำมาเป็นสิบ ๆ  ปี จะเริ่มรู้ว่าเราสามารถใช้อะไรได้แค่ไหน ต้องการอะไรหรือไม่ต้องการอะไร ตอนนี้พี่มีทีม 3 คน และน้องฝึกงาน จึงไม่ต้องดิ้นรนหาโปรเจ็กต์มาจ่ายฟิกซ์คอร์สสูง ๆ 

    เช่นเราทำ 5 โปรเจ็กต์ มี 2 โปรเจ็กต์กำลังก่อสร้าง และอีก 3 โปรเจ็กต์กำลังดีไซน์ การทำงานแบบนี้กำลังสนุกสำหรับเด็ก 3 คน

    นี่คือเรือนไทยห้องพระ

    กว่า 90% จะเป็นเฟอร์นิเจอร์มือสอง เพื่อเรียบง่าย ประหยัด


    ทั้งบ้านทาสีขาว เพื่อให้ดูสบายตา เรียบง่ายเหมาะกับชีวิตวัยปลดเกษียณมาก

    ที่นี่เราจะได้เห็นของเก่าๆ แปลกๆที่หาดูยาก

    เช่นประตูหน้าบ้านแบบทรงไทยที่หาดูยากมาก

.

สำนักงาน CASE ชื่อ:TEN House

    ห้องทำงานของปฐมา เรียบง่าย ไม่ใหญ่โต

    ในด้านการทำงานเพื่อสังคม สถาปนิกหญิงเจ้าของรางวัลศิลปาธร สาขาสถาปัตยกรรม ประจำปี 2553 เธอผ่านประสบการณ์การทำงานร่วมกับคนรายได้น้อยในชุมชนระดับรากหญ้ามาตั้งแต่ก่อนเรียนจบปริญญาโท สาขา Development Practices จาก Oxford Brookes University จากสหราชอาณาจักรเสียอีก

    เพราะไม่ใช่ทุกคนจะได้สิทธิ์มีบ้าน มีชีวิตและสังคมที่สมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง เธอจึงนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาปรับใช้ในชุมชนบ้านบ่อว้า และชุมชนเก้าเส้ง จังหวัดสงขลา ชุมชนสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่  ชุมชนป้อมมหากาฬ และชุมชนใต้สะพานในกรุงเทพฯ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้นโดยใช้สถาปัตยกรรมเป็นตัวช่วย 

    ภายใต้บทบาทการทำหน้าที่เป็น ‘สถาปนิกชุมชน’ ผ่านกระบวนการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายมามากกว่า 20 ปี

.

    ครอบครัวของเราไม่เคยแยกกันอยู่เลย ปัจจุบันเธออายุ 51 ปี ถ้าผ่านไปอีก 20 ปีก็จะ 70 ปีแล้ว แก่ลงมากแล้วเธอจึงเลือกสร้างบ้านส่วนนี้เพื่อตนเองอาศัยในยามแก่ชรา 

     ครอบครัวมีเวลาได้พูดคุยสนทนากัน

    ได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น เพราะเราอาศัยในบริเวณเดียวกัน

    เมื่อถึงเวลาปาร์ตี้ก็จะเรียกทุกคนมาร่วมสนุกด้วยกัน

    ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว ญาติพี่น้อง

    หลายคนบอกว่านี่คือชีวิตที่หลายคนใฝ่ฝันมาก และรู้ไหมว่าครอบครัวของเราไม่เคยแยกกันอยู่เลย ตั้งแต่เล็กจนโต และจะอยู่ด้วยกันแบบนี้ตลอดไป!!

ที่มา:baanlaesuan,nocancers

เรียบเรียงโดย Liekr

บทความที่คุณอาจสนใจ