ยังไงกันแน่.. กระดูกหักควรจะอยู่เฉยอย่าขยับ แต่นักกายภาพกลับบอกว่า "ต้องขยับถึงจะหายเร็ว"

LIEKR:

ยังไงกันแน่.. กระดูกหักควรจะอยู่เฉยอย่าขยับ แต่นักกายภาพกลับบอกว่า "ต้องขยับถึงจะหายเร็ว"

        เล่นบาสเก็ตบอลแล้วชนกัน ขี่มอเตอร์ไซค์แล้วล้ม อุบัติเหตุต่างๆล้วนเป็นเหตุให้กระดูกหักได้ คนกระดูกหักไม่น้อยเชื่อว่าหลังผ่าตัดแล้วควรพักผ่อนให้มากๆ พยายามอย่างขยับ 

        แต่เมื่อไม่นานมานี้เว็บไซต์ต่างประเทศได้เปิดเผยว่า ผู้อำนวยการ Zhou Jianwen จากแผนกฟื้นฟูสมรรถภาพของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในไต้หวันกล่าวว่า จริงๆแล้วกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญมาก สามารถช่วยลดช่วงเวลาเจ็บปวดลง ลดอัตราการยึดติด และกลับมาเหมือนเดิมได้เร็วขึ้น

 

Sponsored Ad

 

 

        ยกตัวอย่างเช่น นักกีฬาหรืออุบัติเหตุทางรถยนต์อาจก่อให้กระดูกสะบ้าหัก ผู้อำนวยการ Zhou Jianwen บอกว่า Tibial Plateau อยู่ด้านบนสุดของกระดูกสะบ้า เป็นส่วนของเข่าส่วนล่าง เชื่อมต่อกับด้านในและด้านนอกของกระดูกขา เนื่องจากกระดูกสะบ้ามีบทบาทสำคัญ เมื่อเกิดอาการกระดูกหัก นอกจากเนื้อกระดูกแล้ว เนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่รอบข้าง (เช่นเอ็น กระดูกอ่อน ฯลฯ ) อาจได้รับบาดเจ็บไปด้วย ถ้ารุนแรงจำเป็นต้องผ่าตัด ใช้เวลานานในการฟื้นตัว อย่างน้อย 3-6 เดือน ซึ่งในระยะนี้ต้องใช้ความอดทนและความเพียรในการทำกายภาพบำบัดอย่างสูง

 

Sponsored Ad

 

        ผู้อำนวยการ Zhou Jianwen บอกต่อว่า ผู้ป่วยกระดูกหัก ปกติต้องใส่เฝือกหรือใช้อุปกรณ์ช่วยปกป้อง บวกกับการรักษาทางกายภาพ ในกรณีที่ผ่าตัดเพื่อรักษา หลังผ่าตัดจะมีอาการปวดบวม เข่ายึด ข้อต่อขยับได้น้อยมาก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง การสามารถในการควบคุมเคลื่อนไหวร่างกายด้อยลง

        ปกติหลังผ่าตัดในระยะ 8 สัปดาห์ หัวเข่าห้ามรับน้ำหนักใดๆ สำหรับการกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด นักกายภาพ Su Yuhua บอกว่า สภาพร่างกายที่เหมาะกับการกายภาพบำบัดสามารถเริ่มตั้งแต่วันแรกหลังการผ่าตัด หลังออกจากโรงพยาบาลควรทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เวลาอยู่ที่บ้านก็ควรทำเป็นประจำ หลังผ่าตัด 2-6 สัปดาห์ เป็นช่วงฟื้นฟูช่วงที่ 1 นักกายภาพ Su Yuhua แนะนำ 2-3 วิธีในการฟื้นฟูร่างกาย

 

Sponsored Ad

 

 

        นักกายภาพ Su Yuhua แนะนำว่าควรเข้ารับการกายภาพบำบัดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดอาการบวมน้ำและอาการปวด เพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว และเพิ่มความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายสามารถทำได้เองโดยการฝึกงอเข่า โดยอย่างน้อยต้องทำให้ได้ 90 องศา  ยืดเข่ายกขา เคลื่อนไหวข้อเท้า เคลื่อนไหวข้อเข่า การยืดกล้ามเนื้อส่วนล่าง รวมถึง การฝึกความแข็งแรงของสะโพก และอื่นๆ

Sponsored Ad

        นักกายภาพ Su Yuhua เตือนว่า ตอนทำกายภาพต้องจำไว้เสมอว่าห้ามไม่ให้รับน้ำหนัก แนะนำให้ใช้ไม้ค้ำยันช่วยในการเคลื่อนไหว และต้องสังเกตดูว่าหัวเข่าเป็นปกติหรือไม่ นักกายภาพ Su Yuhua เน้นว่า หลังผ่าตัดต้องกายภาพบำบัดระยะยาว ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ถึงจะทำให้เข่ากลับมาเป็นปกติได้

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ