พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เกษตรกรไทยขอสู้ต่อ เพาะเลี้ยง "ปูนาพันธุ์พระเทพ" สร้างกำไรงาม

LIEKR:

"ปูสายพันธุ์พระเทพ" นั้นนิยมนำไปทำอาหารเช่น ลาบปู น้ำพริกปูหรือปูนึ่ง หรือจะนำไปตำกับส้มตำก็รสชาติดีเนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าปูนาทั่วไป!

    เพราะทุกสถานการณ์มีโอกาส เกษตรกรชาวพิจิตร เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ ‘ปูนาพันธุ์พระเทพ’ ขาย ‘พ่อพันธุ์-แม่พันธ์’ให้กับเกษตรกรรายอื่น จำหน่าย เป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ รูปแบบอื่นๆ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

    “เกษตรกร” ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ได้ทำการเพาะเลี้ยงปูนาโดยใช้ข้อมูลจากเพื่อนเกษตรด้วยกัน ทดลองเลี้ยงนำพ่อพันธุ์- แม่พันธุ์ กว่า 400 ตัว มาทดลองเลี้ยง ปัจจุบันเพาะเลี้ยงปูนาส่งจำหน่าย ขยาย พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ให้กับเพื่อนเกษตรกรายอื่น นำไปทดลองเลี้ยงเพื่อหารายได้

 

Sponsored Ad

 

    นายดิเรก เมฆหนู อายุ 61 ปี เกษตรกรในตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ใช้เวลาว่างศึกษาอาชีพการเลี้ยงปูนา จากคำแนะนำของเพื่อนเกษตรกร ด้วยกัน เนื่องจากเห็นว่าปูนาเป็นที่นิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากและมีผู้เลี้ยงน้อยราย และเมื่อทำการศึกษาก็พบว่า ปูนาสายพันธุ์พระเทพ เป็นปูนาที่น่าสนใจ

 

Sponsored Ad

 

    เนื่องจากเลี้ยงง่ายโตเร็วและมีขนาดลำตัวที่ค่อนข้างใหญ่ มากกว่าปูนาที่อยู่ในพื้นที่ทำการเกษตร เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 13 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม ขายที่หน้าฟาร์มกิโลกรัมละ 100 -120 บาท โดย ‘ปูสายพันธุ์พระเทพ’ นั้นนิยมนำไปทำอาหารได้หลากหลายเช่น ลาบปู น้ำพริกปูหรือปูนึ่ง หรือจะนำไปดองตำกับส้มตำจะทำให้ได้รสชาติดีเนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าปูนาทั่วไป

    ในส่วนการเพาะเลี้ยง จะเลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์ ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.80 เมตร และสูง 40 เซนติเมตร หรือเลี้ยงในวงบ่อซีเมนต์ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร ที่ระบบระบายน้ำอย่างดี  ซึ่งภายในบ่อ จะมีการวางวัชพืช และเศษกระเบื้องหลังคา ไว้ในบ่อน้ำ เพื่อเป็นที่อยู่ของปู เนื่องจากปู เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เมื่อถึงเวลาวางไข่ ปูจะไม่สัมผัสกับน้ำ ส่วนอาหารจะให้เป็นอาหารปลาดุกเม็ดเล็ก หรือปลาสับ  โดยจะให้ 1 ครั้งเดียวต่อวัน

 

Sponsored Ad

 

    สำหรับ เคล็ดลับ ในการเลี้ยงปูนาสายพันธุ์พระเทพ เนื่องจากปูนา มีความอ่อนไหว กับเสียงและการถูกตัว ฉะนั้นต้องควรระวังในการสัมผัสตัวปูนา ซึ่งแม่พันธุ์ปูนา จะวางไข่ ได้ ครั้ง ละ 700-1000 ฟอง  และจะใช้เวลาเลี้ยง 3-4 เดือน ก็จะสามารถ จำหน่ายให้กับร้านอาหาร และตลาดยังเปิดกว้าง หรือประเภทร้านอาหารแปรรูป นำไปแปรรูปเป็นอาหารลาบปู น้ำพริกปูหรือปูนึ่ง หรือเป็นอาหารชนิดอื่นๆ ได้หลากหลายมากมาย

    ซึ่งเกษตรกรท่านใดสนใจอาชีพการเพาะเลี้ยงปูนาสายพันธุ์พระเทพ เพื่อการศึกษาพร้อมยินดี ให้คำปรึกษา และแนวทางการเลี้ยง ต่อยอดรายได้  สามารถติดต่อได้ ที่นาย ดิเรก เมฆหนู  หรือลุงเชิด เกษตรกรในตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร

ที่มา : naewna

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ