เปิดสิ่งแตกกต่าง "รถไฟญี่ปุ่น" กับ "รถไฟไทย" ทั้งที่เริ่มใช้รถไฟพร้อมกัน สมัย ร.5

LIEKR:

เปิดสิ่งแตกกต่าง "รถไฟญี่ปุ่น" กับ "รถไฟไทย" ทั้งที่เริ่มใช้รถไฟพร้อมกัน สมัย ร.5

    ปฐมบทการรถไฟญี่ปุ่นคราวนั้น ตรงกับ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2439 รถไฟสายแรกในไทยก็เริ่มออกวิ่งตามไปติดๆ แต่ทว่าเข็มนาฬิกาว่าด้วยเรื่องโลกแห่งรถไฟในญี่ปุ่น คงเดินเร็วไปกว่าไทยหลายเท่า เพราะในระยะเวลาเท่ากันประมาณศตวรรษเศษ การรถไฟในประเทศญี่ปุ่นพัฒนาไปแบบไฮสปีด

    ในขณะที่ประเทศไทยยังมีวลีอมตะ ‘ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง’ ให้ได้ยินจนถึงทุกวันนี้ โดยรถไฟของประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องความเป๊ะ ความเนี้ยบ และความตรงเวลาอย่างญี่ปุ่นมีอะไรที่น่าสนใจที่รถไฟประเทศเราไม่มีหลายๆ อย่าง นับว่าดีมากหากมาประยุกต์ใช้กับรถไฟบ้านเรา แต่มันจะเป็นไปได้มั้ย คงต้องรอให้ทางผู้ใหญ่เข้ามาช่วยดูแลเรื่องนี้กัน ว่าแต่เรามาดูรถไฟญี่ปุ่นกันก่อนเลย

 

Sponsored Ad

 

1. โบกี้สำหรับผู้หญิง (女性専用)

 

    ที่ญี่ปุ่น ในรถไฟหนึ่งขบวนจะมีสักหนึ่งโบกี้ที่จัดไว้ให้สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ยิ่งช่วงเวลาเร่งด่วน รถไฟญี่ปุ่นจะเบียดสุดๆ สาวๆทั้งหลายจะได้ไม่ต้องกลัวโดนลวนลามหรือเบียดกับผู้ชายในตู้ทั่วไป 

 

Sponsored Ad

 

    โดยส่วนมากตู้สำหรับผู้หญิงจะเป็นช่วงเวลาเช้าและเลิกงานที่คนเยอะจริงๆ ในระหว่างวันตู้นั้นผู้ชายก็สามารถขึ้นได้ตามปกติครับ

2. โบกี้สำหรับคนขี้หนาว(弱冷房車)

    ด้วยความขี้หนาวของคนญี่ปุ่นนี้เอง ก็ไม่แปลกที่ญี่ปุ่นจะมีรถไฟบางขบวนที่เปิดแอร์เบาๆ รถไฟหลายๆขบวนที่ญี่ปุ่นมักจะมีรถไฟสำหรับคนขี้หนาวนี้อยู่ นั่นหมายถึง หน้าร้อนจะเปิดแอร์ไม่แรง แต่หน้าหนาวโบกี้นี้ก็จะอุ่นกว่าโบกี้อื่นๆ

 

Sponsored Ad

 


3. แยกแถวต่อสำหรับคนที่จะขึ้นก่อนขึ้นหลัง (先発列車・次発列車)

    เหมาะมากในการสร้างระเบียบในการต่อแถว ยกตัวอย่างเช่น เรากำลังจะกลับบ้านด้วยรถด่วน แต่รถที่มาถึงก่อนเป็นรถแบบจอดทุกสถานี ที่ญี่ปุ่นก็จะมีที่ยืนให้เราต่อแถวรอรถขบวนต่อไปแบบไม่เกะกะคนที่จะขึ้นรถขบวนก่อนเรา 

 

Sponsored Ad

 

    โดยเขียนเป็นเส้นที่พื้น ปัดหางแถวสวยงามไม่ขวางทางใคร ป้องกันการแซงแถวและการยืนออกันมั่วๆ ซึ่งอาจสร้างความลำบากแก่คนขึ้นลงขบวนก่อนหน้าเรา


4. ไม่ใช้มือถือพูดคุยเด็ดขาด(車内通話禁止)

    อันนี้อาจจะโหดไปหน่อยสำหรับสังคมไทย แต่ที่ญี่ปุ่นเป็นเรื่องปกติมากที่จะไม่พูดโทรศัพท์ในที่สาธารณะ โดยเฉพาะในรถไฟนี่แทบจะเรียกว่าต้องห้ามเลยด้วยซ้ำ ใครหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาคุยเมื่อไหร่นี่โดนมองตั้งแต่หัวจรดเท้าแน่นอน

 

Sponsored Ad

 


5. ต้องปิดสัญญาณมือถือในที่นั่งคนชรา หญิงมีครรภ์ ผู้มีปัญหาทางร่างกาย(優先席携帯電話OFF)

    ที่ญี่ปุ่นจะมีการแบ่งที่นั่งที่หัวหรือท้ายขบวนให้กับผู้ชรา หญิงมีครรภ์ และคนที่อาจมีปัญหาทางร่างกาย เป็นต้น นอกจากเราจะต้องสละที่นั่งให้พวกเขาเหล่านั้นก่อนแล้ว หากอยากอยู่บริเวณนั้น ก็ต้องปิดสัญญาณสื่อสารให้หมดด้วย พูดง่ายๆ คือปิดมือถือนั่นเอง เพราะบางคนอาจใช้เครื่องช่วยฟัง เครื่องนับก้าว เครื่องที่เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ใดๆ ที่ผู้ป่วยใส่อยู่ หากมีสัญญาณมือถือรบกวนอาจทำให้เครื่องนั้นทำงานได้ไม่เต็มที่

 

Sponsored Ad

 


6. การขึ้นบันไดเลื่อน(エスカレーターの立ち位置)

    จริงๆ ที่ญี่ปุ่นมีการชิดด้านใดด้านหนึ่งอย่างเป็นระเบียบนี้มานานมากแล้ว ในขณะที่บ้านเรากำลังเริ่มต้นรณรงค์จริงจัง แต่ที่น่าแปลกใจคือ ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นกำลังกลับไปสู่จุดเริ่มต้น พยายามให้คนยืนทั้งสองฝั่งของบันไดเลื่อน ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยบ้างล่ะ จะได้ไม่มีคนวิ่งบนบันไดเลื่อน หรือด้วยเหตุผลของการบำรุงรักษา เพราะถ้ายืนออกันด้านเดียวอาจเกิดความไม่สมดุลของบันไดเลื่อน


Sponsored Ad

7. พนักงานช่วยยัดคนลงไปในรถไฟ (満員電車に乗客を押し込む駅員)

    ตอนชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟในโตเกียวโดยเฉพาะสายจากชานเมืองเข้ามาตัวเมืองคนจะแน่นมาก สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือนายสถานีที่ต้องทำหน้าที่พิเศษ นั่นคือคอยผลักและยัดผู้โดยสารเข้าไปในรถให้ได้มากที่สุด

8. ใบแจ้งว่ามาสายเพราะรถไฟ(遅延証明書)

    สมมติว่าวันไหนเกิดเหตุที่ทำให้รถไฟมาช้า แล้วทำให้เราไปโรงเรียนหรือที่ทำงานไม่ทัน ที่สถานีรถไฟจะมีกระดาษวางตั้งเอาไว้ให้เราหยิบไปเป็นหลักฐานว่าไม่ใช่ความผิดของเรานะ แต่เป็นเพราะรถไฟช้า หัวหน้าหรืออาจารย์จะได้ไม่สามารถเอาผิดเราได้

ข้อมูลและภพาจาก Mthai

บทความที่คุณอาจสนใจ