รักเพียงหนึ่งเดียวของ "รัชกาลที่ ๗" สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

LIEKR:

รักเพียงหนึ่งเดียวของ รัชกาลที่ ๗

    ในอดีตตามปรกติแล้วพระมหากษัตริย์จะมีมเหสี เจ้าจอม และสนม เป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงถึงศักยภาพความเป็นชาย และประโยชน์ในการใช้ทายาทให้เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญในด้านต่าง ๆ ประเทศไทยก็เป็นอย่างนั้น ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จวบจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ ๖

    แต่เมื่อมาถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระองค์ทรงมีความรักต่อผู้หญิงคนหนึ่ง และมีเพียงคนเดียวเท่านั้น ตลอดพระชนม์ชีพ นั่นก็คือ “...สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี...”

 

Sponsored Ad

 

    ความรักครั้งนี้เริ่มต้นที่วังพญาไท เมื่อหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ถวายตัวมาอยู่ภายใต้การดูแลของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี) เพื่อมาถวายการรับใช้

    วันหนึ่ง เมื่อว่างเว้นจากภารกิจต่าง ๆ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (รัชกาลที่ ๗) เสด็จมาพบหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี ณ วังพญาไท จึงเกิดเป็นรักแรกพบ

 

Sponsored Ad

 

    ในขณะนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช ทรงเล็งเห็นว่า พระเจ้าน้องยาเธอฯ พระองค์นี้ทรงเป็นพระราชกุมารลำดับสุดท้ายในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ที่ร่วมพระราชชนนีเดียวกันถึง ๕ พระองค์ ดังนั้นโอกาสที่จะได้สืบราชสมบัติจึงเป็นได้ยาก เพราะต้องทรงผ่านลำดับถึง ๔ พระองค์

    สมเด็จพระสังฆราช กราบทูลเชิญพระองค์ให้คงอยู่ในสมณเพศ เพื่อได้ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ประมุขปกครองฝ่ายศาสนจักรต่อไป แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ โดยทรงมีพระราชดำรัสว่า “...ทรงมีรักกับหญิงคนหนึ่ง...” ซึ่งนั่นก็คือ “...หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีนั่นเอง...”

 

Sponsored Ad

 

    ในปี ๒๔๖๑ พระองค์ได้ทรงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาต และในพระราชพิธีสมรสในครั้งนี้ ได้เป็นครั้งแรกที่ทรงริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรสในหมู่พระราชวงศ์ไทย

    (ในตอนนี้ บางตำราก็เล่าว่า ทรงไปอ้อนสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ให้ไปขอหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีให้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ยังไม่ยอม เพราะต้องถามฝ่ายนู้นให้รู้เรื่องซะก่อนจึงดำเนินการ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ ทรงงอนไม่เสวยอะไรจนพระมารดายอมใจอ่อน)

 

Sponsored Ad

 

    ในเวลาต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ได้เสด็จขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าาอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี ได้รับพระราชอิสริยยศ เป็น “สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี”

 

Sponsored Ad

 

    ในปี ๒๔๗๕ เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์ ซึ่งขณะนั้นทั้งสองพระองค์ยังประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล ได้มีตัวแทนจากคณะราษฎร์ กราบบังคับทูลเชิญทั้งสองพระองค์เสด็จกลับพระนคร ซึ่งในตอนนั้น พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสถามความเห็นจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในฐานะคู่ชีวิตว่า

    “...หญิงว่ายังไง...”

    ทางด้านสมเด็จฯ นั้น แม้จะทรงเป็นสตรีเพศ แต่ได้กราบบังคมทูลด้วยความเด็ดเดี่ยวไปว่า

    “...เข้าไปตายไม่เป็นไร แต่ต้องมีศักดิ์ศรีมีสัจจะ...”

    ซึ่งทำให้พระเจ้าอยู่หัว ตัดสินพระทัยเสด็จกลับพระนคร และแล้วในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๗๖ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จอังกฤษและนั่นเป็นการอำลาสยามครั้งสุดท้ายของรัชกาลที่ ๗ เนื่องจากขณะที่ พระองค์ทรงรักษาพระเนตรจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในประเทศอังกฤษ ได้ทรงขัดแย้งกับคณะรัฐบาล จึงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗

 

Sponsored Ad

 

    ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระอาการประชวร และเสด็จสวรรคต โดยมีพระชนมายุ ๔๘ พรรษา

    แม้ว่าฐานะของพระองค์จะสามารถมีพระสนมได้มากมาย อย่างถูกต้องตามธรรมเนียมก็ตาม แต่ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์นั้น มีความรักเพียงครั้งเดียวคือ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี 

.

.

.

.

ข้อมูลและภาพ จาก เพจโบราณนานมา

บทความแนะนำ More +