เพจพนักงานไฟฟ้าชี้ ค่าไฟแพงเกินเหตุ มาจาก "4 เครื่องใช้ไฟฟ้า" ยิ่งอากาศร้อนมิเตอร์ยิ่งพุ่ง

LIEKR:

พนักงานไฟฟ้า เผยต้นตอ ค่าไฟแพง เพราะ 4 เครื่องใช้ไฟฟ้านี้ ยิ่งเปิด ค่าไฟยิ่งพุ่ง!

        กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนกำลังวิพากษ์วิจารณ์ หลังจากที่มีหลายเสียงกล่าวว่า ค่าไฟฟ้าในเดือนมีนาคม 2563 แพงขึ้นจากเดือนก่อนมาก เกินกว่าที่หลายบ้านจะรับไหว ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะการต้องอยู่บ้านมากขึ้นในในช่วงนี้นั้น

        เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพจเฟซบุ๊ก "โธ่ ชีวิตพนักงานไฟฟ้า" ได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟในบ้านต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่ที่กระทบ เป็นบ้านที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ แอร์ พร้อม คอมเพรสเซอร์, เครื่องฟอกอากาศ, พัดลมไอน้ำ และตู้เย็น

 

Sponsored Ad

 

        โดยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า หลักการของเครื่องทำความเย็น เช่น แอร์ คือ ถ้าอากาศข้างนอกร้อน หน่วยการใช้ไฟก็ขึ้นไว เพราะคอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก สังเกตได้คือเสียงคอมเพรสเซอร์ดังนาน มิเตอร์ยิ่งหมุนแรง และเท่ากับเงินค่าไฟที่เพิ่มขึ้น  และยิ่งตัวเลขไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ก็จะถูกเก็บค่าไฟฟ้าสูงแบบอัตราก้าวหน้า

 

Sponsored Ad

 

        ขณะที่ ตู้เย็น ถ้าอากาศข้างนอกร้อนขึ้นกว่าเดิมคอมเพรสเซอร์ ก็จะทำงานหนักเพื่อรักษาอุณหภูมิตามที่ตั้งไว้ เปิดประตูไว้นาน หรือเปิดบ่อย ก็เปลืองไฟเพิ่ม หรือใส่ของเยอะ ตู้เย็น ก็จะทำงานหนักและกินไฟเพิ่ม ดังนั้นการแช่ของแบบไม่คิดมีส่วนให้เปลืองไฟ ต้องจัดระเบียบตู้เย็นด้วยในช่วงนี้

        ขณะที่เครื่องฟอกอากาศแทบทุกยี่ห้อกินไฟ ไม่ได้ประหยัดไฟแต่อย่างใด ยิ่งเปิดพร้อมแอร์ ยิ่งเปลืองไฟคูณกำลัง 2 เลยทีเดียว

        "สนับสนุนให้คนไทยอ่านเกิน 8 บรรทัด ทำไมค่าไฟฟ้าถึงแพงขึ้น มาดูคำตอบแบบเปิดใจกันหน่อย...

 

Sponsored Ad

 

        1. การไฟฟ้า คิดเงินแบบอัตราก้าวหน้ามาตลอด ใช้เยอะจ่ายเยอะ ประโยคนี้คือ ความจริง (จะอ้างไม่รู้ไม่ได้นะคะ หรือจะบอกว่าสุดท้ายไฟฟ้าก็เอาเปรียบอยู่ดีไม่ได้ ไฟฟ้าไม่ได้ไปใช้ไฟกับคุณ)

        2. ตัวแปรของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น พูดง่ายๆ ก็ คือ คุณใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเลยทำให้ราคามันก้าวกระโดด

        3. หลายคนคงสงสัย ทำไมหน่วยการใช้ไฟฟ้าถึงขึ้นได้มากขนาดนี้? ไฟฟ้ามาทำอะไรกับมิเตอร์รึเปล่า?

        คำตอบ คือ ไฟฟ้าไม่มีใครไปทำอะไรกับมิเตอร์ลูกค้าหรอกค่ะ เอาจริงๆ นะ พนักงานแผนกมิเตอร์จำนวน 7 คน ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าหลักแสนราย

 

Sponsored Ad

 

        ทีนี้เราต้องมาดูพฤติกรรมของตัวเองและคนในบ้าน ที่บอกว่าฉันใช้ไฟเท่าเดิม ลองคิดนะ เปิดแอร์ เวลาเดิมทุกวัน 8.00 – 12.00 คุณเย็นเท่าเดิมจริง แต่ตัวที่ทำให้มิเตอร์ขึ้นหน่วยไวแค่ไหน อยู่ที่คอมเพลสเซอร์ข้างนอก ถ้าอากาศข้างนอกร้อนแค่ไหน หน่วยการใช้ไฟก็ขึ้นไวเท่านั้นเพราะคอมเพลสเซอร์คุณทำงานหนัก ยิ่งถ้าเปิดแอร์พร้อมกันนะ เสียงคอมดังนานแค่ไหนนั่นแหละคือ ทำใจไว้เลย มิเตอร์กำลังหมุนอย่างแรง และ นั่นคือ เงินที่คุณต้องจ่ายไป

        เครื่องฟอกอากาศอีก แทบทุกยี่ห้อกินไฟ ลองดูนะที่บอกประหยัดไฟคือไม่ประหยัดเลย ยิ่งเปิดพร้อมแอร์ คูณกำลัง 2 ไปเลย 

 

Sponsored Ad

 

        ตู้เย็น เห็นตั้งนิ่งๆ แบบนั้น กินไฟเราแบบเงียบๆ หน้าที่ของตู้เย็นคือต้องทำความเย็นในช่องแช่อาหาร ตามอุณภูมิที่เรากำหนด เช่น เราตั้งไว้ที่ 1 องศา หลักการทำงานของมันคือ ต้องทำยังไงก็ได้ให้ 1 องศาตลอดเวลา นั่นก็ คอมเพลสเซอร์หลังตู้เย็นไงที่เป็นตัวทำงาน เปิดตู้เย็นบ่อยๆ เปลืองไฟจริง เพราะตู้เย็นสูญเสียอุณภูมิตอนเปิด แช่ของแบบไม่คิด ยัดๆ เข้าไปก็เปลืองไฟจริง ต้องจัดระเบียบตู้เย็นกันบ้าง

        บ้านที่มีปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าส่วนมาก จะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้

 

Sponsored Ad

 

        - แอร์ พร้อม คอมเพลสเซอร์

        - เครื่องฟอกอากาศ

        - พัดลมไอน้ำ

        - ตู้เย็น ยิ่งอัดของเยอะ คอมเพลสเซอร์ตู้เย็นที่ดังตลอดเวลานั่นแหละคือ กำลังกินไฟคุณ

        - ตู้เย็นที่ประหยัดไฟคือตู้เย็นที่แช่แค่เครื่องดื่มไม่เกิน 5 ขวดเท่านั้น ถึงจะได้จ่ายราคาต่อปีตามที่ร้านโฆษณา

        สรุปคือ ไฟฟ้าไม่ได้ปรับ หรือ ทำอะไรทั้งนั้น ไม่ได้คิดจะทำอะไรด้วย ไม่ฉวยโอกาสอะไรทั้งนั้น ไฟฟ้าการรันตีราคาให้แบบนี้

        - ใช้ไปหน่วยที่ 0- 150 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 3.2484 บาท

        - ใช้ไปหน่วยที่ 151 – 400 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 4.2218 บาท

Sponsored Ad

        - ใช้ไปหน่วยที่ 400 ขึ้นไป จ่ายราคาหน่วยนะ 4.4217 บาท

        ยกตัวอย่างการคิดแบบคร่าวๆ

        ตัวอย่างที่ 1 ใช้ไฟฟ้าไป 200 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้

        150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท 50 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 211.09 บาท รวมเป็นเงิน = 698.35 บาท (ราคายังไม่รวม vat 7%, ค่าบริการ, หักส่วนลดค่า FT)

        ตัวอย่างที่ 2 ใช้ไฟฟ้าไป 400 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้

        150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท 250 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 1,055.45 บาท รวมเป็นเงิน = 1,542.41 บาท (ราคายังไม่รวม vat 7%, ค่าบริการ, หักส่วนลดค่า FT)

        ตัวอย่างที่ 3 ใช้ไฟฟ้าไป 600 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้

        150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท 250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท 200 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 884.34 บาท รวมเป็นเงิน = 2,427.05 บาท (ราคายังไม่รวม vat 7%, ค่าบริการ, หักส่วนลดค่า FT)

        ตัวอย่างที่ 4 ใช้ไฟฟ้าไป 1,000 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้

        150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท 250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท 600 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 2,653.02 บาท รวมเป็นเงิน = 4,195.73 บาท (ราคายังไม่รวม vat 7%, ค่าบริการ ,หักส่วนลดค่า FT)

        พอจะเห็นภาพชัดเจนกันขึ้นไหมว่าทำไมค่าไฟถึงได้สูงขึ้น"

ที่มา : เฟซบุ๊ก โธ่ ชีวิตพนักงานไฟฟ้า

บทความที่คุณอาจสนใจ