"กรุงเทพฯ" ชีวิตดีดีที่ลงตัว ติดเมือง "อากาศแย่" อันดับ 1 ในอาเซียน อันดับ 8 ของโลก

LIEKR:

ชีวิตดีดีที่ลงตัว อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ #ข่าว #ข่าววันนี้

    ปัญหา ฝุ่น PM2.5 ป่วนคุณภาพชีวิตคนไทย โดยเฉพาะคน กทม. ติดอันดับเมืองอากาศแย่ 8 ของโลก และเป็นอันดับ1ของอาเซียน 

 

    วันนี้ทีมงานเว็บไซต์ไลค์เกอร์ดอทคอม ขอเกาะติดและได้ตรวจสอบคุณภาพอากาศผ่านเว็บไซต์ www.airvisual.com และแอพพลิเคชั่น airvisual ซึ่งได้รายงานคุณภาพอากาศจาก 95 ประเทศทั่วโลก พบว่า ณ เวลา 15.45น. ของวันนี้ กรุงเทพมหานคร อยู่ในอันดับที่ 8 ของโลกที่สภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ มีค่าของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5  อยู่ที่ 87.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร 

 

Sponsored Ad

 

    แต่ถ้าเทียบในระดับอาเซียนถือว่าเป็นอันดับหนึ่ง  ขณะที่เมืองโฮจิมิน ประเทศเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก มีค่าของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5  อยู่ที่ 64.5  ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และเป็นอันดับสองของอาเซียน  ขณะที่ประเทศที่อากาศแย่เป็นอันดับ 1 ของโลก อยู่ที่เมือง ลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน มีค่าของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5  อยู่ที่ 181,2 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือ เมืองซาราเยโว ประเทศบอสเนีย มีค่าของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5  อยู่ที่ 135.1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร 

 

Sponsored Ad

 

อันดับที่ 1. เมือง อูลานบาตาร์ ประเทศมองโกเลีย

อันดับที่ 2. เมือง เดลี หรือ ดิลลี เมืองหลวงเก่าแก่ของ ประเทศอินเดีย

อันดับที่ 3. เมือง ธากา เป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรม การค้าของประเทศบังคลาเทศ 

 

Sponsored Ad

 

อันดับที่ 4. เมือง มุมไบ เมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลอาหรับของประเทศอินเดีย

อันดับที่ 5. เมือง เซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน

อันดับที่ 6. เมือง กาฐมาณฑุ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดด้วย และเป็นเมืองหลวงของประเทศเนปาล

อันดับที่ 7. เมือง การาจี ประเทศปากีสถาน เป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และเป็นเมืองท่าที่สำคัญ โดยมีท่าเรือการาจี ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศใช้ในการขนส่งและส่งออก

 

Sponsored Ad

 

อันดับที่ 8. เมือง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางการค้าและเศรษฐกิจของไทย

อันดับที่ 9. เมือง อู่ฮั่น เป็นเมืองเอกของและเป็นเมืองใหญ่สุดในมณฑลหูเป่ย ประเทศจีน

อันดับที่ 10. เมือง หางโจว เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหางโจวเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย เมืองหางโจวถือว่าเมืองดิจิตอลไร้สายได้ครอบคลุมถึงทางหลวงและตรอกเล็กซอยน้อยต่างๆในเมือง 

 

Sponsored Ad

 

อันดับที่ 11. เมือง เฉิงตู ซึ่งมากที่สุดในมณฑลเสฉวน เฉิงตูได้รับการจัดระดับว่าเป็นนครโลกระดับเบตาบวก ตามข้อมูลของเครือข่ายวิจัยโลกาภิวัตน์และนครโล

อันดับที่ 12. เมือง ฮานอย ประเทศเวียดนาม เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ ถูกยกให้เป็นนครปารีสแห่งแดนตะวันออก 

อันดับที่ 13. เมือง ย่างกุ้ง ยานโกน หรือ ร่างกุ้ง เป็นอดีตเมืองหลวงและเป็นเมืองหลวงทางการค้าของพม่า ย่างกุ้งจึงเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของพม่าและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุด

อันดับที่ 14. เมือง ลาฮอร์ เป็นเมืองหลวงของแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน

 

Sponsored Ad

 

อันดับที่ 15. เมือง โซเฟีย เป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 47 ของสหภาพยุโรป เป็นเมืองศูนย์กลางของการขนส่งสินค้าทางบก ประเทศบัลแกเรีย

PM2.5 คืออะไร?

Sponsored Ad

    PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่นๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆ


สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5

    ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มาจากสองแหล่งกำเนิดใหญ่ๆ คือ

    แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต

    การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศมี ส า ร พิ ษ มากมาย ที่ล้วนเป็น อั น ต ร า ย ต่อร่างกายมนุษย์


อั น ต ร า ย และผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

    ร่างกายของผู้ที่แข็งแรงเมื่อได้รับฝุ่น PM2.5 อาจจะไม่ส่งผลกระทบให้เห็นในช่วงแรกๆ แต่หากได้รับติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือสะสมในร่างกาย สุดท้ายก็จะก่อให้เกิดอาการ ผิ ด ป ก ติ ข อ ง ร่างกายในภายหลัง โดยแบ่งได้เป็นผลกระทบทางร่างกาย และผลกระทบทางผิวหนัง


ผลกระทบทางสุขภาพ

    เกิดอาการไอ จาม หรือ ภู มิ แ พ้

    ผู้ที่เป็น ภู มิ แ พ้ ฝุ่นอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น

    เกิด โ ร ค ทางเดินหายใจ เ รื้ อ รั ง

    เกิด โ ร ค ห ล อ ด เ ลื อ ด และหัวใจ เ รื้ อ รั ง 

    เกิด โ ร ค ป อ ด เ รื้ อ รั ง หรือ ม ะ เ ร็ ง ป อ ด


ผลกระทบทางผิวหนัง

    มี ผื่ น คั น ตามตัว

    ป ว ด แสบ ป ว ด ร้อน มีอาการ ร ะ ค า ย เ คื อ ง

    เป็น ล ม พิ ษ ถ้าเป็นหนักมากอาจเกิด ล ม พิ ษ บริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ

    ทำ ร้ า ย เซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ เหี่ยวย่นง่าย

แนวทางการป้องกันฝุ่น PM2.5

    สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ดีและมีประสิทธิภาพคือ หน้ากาก N95 ซึ่งมีราคาสูงกว่าหน้ากากอนามัย และบางคนอาจสวมแล้วอาจให้ความรู้สึกอึดอัด เพราะหายใจได้ลำบากกว่าปกติ

    หากไม่ใช้หน้ากาก N95 อาจใช้หน้ากากอนามัยที่มีฟิลเตอร์ 3 ชั้น ซึ่งมักมีเขียนระบุบนผลิตภัณฑ์ว่าสามารถป้องกัน PM2.5 ได้ หรือถ้าหากหาไม่ได้จริงๆ อาจใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแต่สวมทับ 2 ชั้น หรือซ้อนผ้าเช็ดหน้าหรือทิชชูไว้ด้านในก็ได้

    พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิดเมื่อคุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่เป็น อั น ต ร า ย ต่อสุขภาพ หากจำเป็นต้องใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองเมื่ออยู่ข้างนอกอาคาร

    ใช้เครื่องฟอกอากาศ เนื่องจากภายในอาคารอาจไม่ปลอดภัยจาก PM2.5 เสมอไป โดยเฉพาะอาคารที่มีการเปิดปิดประตูบ่อยครั้งจากการที่มีผู้คนเข้าออกจำนวนมาก ดังนั้นเครื่องฟอกอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หายใจในอาคารอย่างสบายใจ

ข้อมูลและภาพ จาก airvisual , guimee

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ