จาก "สาวออฟฟิศเงินเดือนเป็นแสน" ถูกเชิญออก หันมาปลูกผัก-แปรรูปเห็ด สร้างรายได้ที่ยั่งยืนกว่างานบริษัท!

LIEKR:

สุดยอดเลยค่ะ พื้นที่น้อยก็ประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน!

        จากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศไทย ที่บริษัทน้อยใหญ่หลายองค์กรต้องพากันรัดเข็มขัด ประหยัดกันสารพัด เช่น การยุบแผนก ปลดพนักงาน ถึงคราวจริงๆ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้และโดนแจ๊คพอตขึ้นมา ก็ต้องดิ้นรนหาเส้นทางเอาตัวรอดกันไป แต่เธอผู้นี้ กลับสามารถพลิกชีวิต หันมาเป็นเกษตรกรรายได้งามได้

        อีกหนึ่งตัวอย่างบุคคลสู้ชีวิต ที่หันมาทำเกษตรแบบชาญฉลาด น่ายกย่องและควรเอาเป็นแบบอย่าง บนเส้นทางชีวิตของ คุณ เอีย-อารีย์ เพ็งสุทธิ์ หนึ่งในมนุษย์เงินเดือน ที่ถูกแจ๊คพอต เลิกจ้างจากตำแหน่งผู้บริหาร ระดับ ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนก มาร์เก็ตติ้ง ของบริษัทประกันชื่อดัง ซึ่งช่วงนั้นเธอมีรายได้ถึงหลักแสนเลยทีเดียว…!

 

Sponsored Ad

 

        คุณ อารีย์ เพ็งสุทธิ์ บอกว่า...“ตอนออกมาได้ทุนมาก้อนหนึ่ง น้องๆ ที่อายุยังน้อยพากันไปหางานใหม่ ส่วนตัวเองอายุขนาดนี้ ฐานเงินเดือนเท่านี้ หางานใหม่คงลำบาก แม้จะไปสมัครงานใหม่ไว้ แต่เริ่มคิดอยากทำธุรกิจของตัวเองแล้ว มีเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่ง ซึ่งชื่นชอบการทำเกษตรเป็นชีวิตจิตใจ มาแนะนำให้ทำฟาร์มเห็ด เพราะแนวโน้มตลาดยังดีอยู่ จึงเริ่มต้นจากการศึกษาการเพาะเห็ด ”

 

Sponsored Ad

 

        โดยเริ่มต้นจากลองเพาะเล็กๆ ก่อน เริ่มต้นจากไม่มีความรู้ ค่อยเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และ หาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ใช้เวลาไม่นาน จึงมี “วิชาเพาะเห็ด” ติดตัว ขั้นต่อไปคือ หาเช่าที่ดินเพื่อสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด

        จึงได้ไปเจอ ที่ดิน 100 ตารางวา ที่อยู่ในซอยคู้บอน 27 แยก 8 ซึ่งเธอทำสัญญาเช่าเป็นเวลา 2 ปีกับเจ้าของที่ดินนั้น ใช้เงินมัดจำ 10,000 บาท ค่าเช่าต่อเดือน 3,000 บาท หากครบเวลาตามสัญญาแรกแล้ว อาจทำสัญญาใหม่เป็นแบบปีต่อปี

 

Sponsored Ad

 

        ขั้นต่อไปคือ การขอน้ำ-ขอไฟ เดินสายเข้ามาในที่ดิน ก่อนลงทุนด้วยเงิน 50,000 บาท สร้างโรงเรือนเพาะเห็ด ขนาด 4 คูณ 6 เมตร จำนวน 2 หลัง

        จากนั้นจึงนำก้อนเห็ดนางฟ้าภูฏาน จำนวน 2,500 ก้อน มาลงไว้ในโรงเรือนหลังแรก ส่วนหลังที่ 2 ยังไม่ลงก้อนเห็ด เพียงแต่สร้างรอไว้ก่อน

 

Sponsored Ad

 

        “เห็ดล็อตแรกดอกสวย ไม่หงิก ไม่แฉะ ออกมาช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เก็บได้ประมาณ 80 กิโลกรัม แบ่งขายส่ง 20 กิโล คิดกิโลละ 70 บาท ขายปลีกกิโลละ 120 บาท คนรับซื้อส่วนใหญ่เป็นคนคุ้นเคยกัน” คุณเอีย เผย และกล่าวเพิ่มอีกว่า โรงเรือนเพาะเห็ดขายทั้ง 2 โรงของเธอนั้นใช้พื้นที่ไม่ถึงครึ่งของ 100 ตารางวา เลยอยากหาพืชอื่นมาลงเพิ่ม ประกอบกับรู้จักกับคุณตา ที่อยู่ในละแวกบ้าน ซึ่งเป็น “หมอชาวบ้าน” มีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอย่างดี เลยชักชวนให้ท่านมาช่วยอีกแรง จึงเริ่มมีแนวคิดปลูกผักสวนครัว “ปลูกไว้กิน เหลือค่อยขาย” พืชที่ลงเพิ่มส่วนใหญ่จึงเป็นพืชอายุสั้น อย่าง แตงกวา แตงร้าน ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ ชะอม ต้นหอม ดอกดาวเรือง เป็นต้น

 

Sponsored Ad

 

        และหลักการสำคัญที่ทำมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้คือ ไม่ใส่ปุ๋ยเ ค มี และไม่ใช้ ย า ฆ่ า แ ม ล ง

        “ตอนปรับหน้าดิน นำขี้วัวมาลงด้วย พอแตงกวา ถั่วฝักยาว เริ่มออก จะมีพวกรา เพลี้ย หนอน มารบกวน วิธีการกำจัดดีที่สุดคือ มือของเรานี่แหละ รูดบ้าง บี้บ้าง ให้มัน ต า ย นี่คือภารกิจทุกๆ เช้าที่ผ่านมา แต่พอเริ่มโตไม่ต้องทำแล้ว รดน้ำตามปกติพอ” คุณเอีย เผยเทคนิคที่ได้รับถ่ายทอดมาจากคุณตา ผู้ช่วยคนสำคัญ

        อย่างไรก็ตาม ทั้งเห็ดและพืชผักสวนครัวดังว่า ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งถึงจะสามารถเก็บดอกผลออกจำหน่าย รายได้จึงอาจขาดช่วง คุณเอียจึงแก้ปัญหาด้วยการปลูก “ต้นอ่อน” ของพืช พวก ผักบุ้ง ทานตะวัน และโตเหมี่ยว เพราะพืชกลุ่มนี้ ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน สามารถเก็บขายได้แล้ว

 

Sponsored Ad

 

        ส่วนความรู้เรื่องการเพาะต้นอ่อนนี้ อาศัยจากการอ่านหนังสือและค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต หาว่า ทำกันยังไง ใช้ดินแบบไหน หาซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ใดได้บ้าง ช่วงลองผิดลองถูกเสียหายไปสองสามถาด แต่พยายามปรับปรุง จนตัดออกขายได้หลายชุดแล้ว

        ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน ถึงวันนี้ “เฮย์เดย์ ฟาร์ม” แปลงผักในเมือง ภายใต้การดูแลของคุณเอีย ให้ผลผลิตออกมาแล้วหลากหลาย นับตั้งแต่ เห็ดนางฟ้าภูฏาน ต้นอ่อนผักบุ้ง-ทานตะวัน-โตเหมี่ยว แตงกวา แตงร้าน ถั่วฝักยาว ดอกดาวเรือง ฯลฯ สามารถสร้างรายได้ให้เป็นระยะ

Sponsored Ad

        “ทุกวันศุกร์ผักจะเต็มท้ายรถและห้องโดยสารเลยนะ ช่วงแรกพวกเพื่อนๆ ออฟฟิศที่รู้จัก เขาคงอยากช่วย เลยสั่งซื้อ แต่ระยะหลังยังสั่งกันตลอด แสดงว่าผลผลิตเราขายได้ด้วยตัวเองแล้ว และคงสะดวกดี มีบริการส่งให้ถึงที่ ของก็มีคุณภาพ” คุณเอีย บอกอย่างนั้น

        ก่อนกระซิบว่า ขับรถไปส่งของในเมืองแบบนี้ ค่าทางด่วน 200 ค่าแก๊สรถ 200 ยังคุ้มอยู่ เพราะขายได้บางครั้งถึง 3,000 กว่าบาท แถมยังได้เจอะเจอเพื่อนฝูงด้วย

        สำหรับผักที่ส่งขายตามออฟฟิศในเมืองนี้ ส่วนใหญ่เป็นเห็ดและต้นอ่อนต่างๆ ส่วนแตงร้าน แตงกวา ถั่วฝักยาวที่เหลือจากเก็บไว้กินแล้ว คุณเอียพุ่งเป้าหมายไปที่ร้านส้มตำในละแวกบ้าน ทั้งแบบรถเข็นไปจนตึกแถว โดยขับรถเข้าไปถามกันตรงๆ ช่วงแรกแม่ค้าหลายคนทำหน้างง ไม่แน่ใจพูดจริงหรือพูดเล่น ที่ขับรถเก๋งคันเป็นล้านมาบอกขายถั่ว-ขายแตง

        “เมื่อก่อนเห็นเงินพันสองพันเฉยๆ ตอนนี้ ร้อยสองร้อยกว่าจะได้มามันยากนะ แต่ก็หาได้ทุกวันอยู่ที่ขยันมากน้อยแค่ไหน อย่างแตงร้าน ออก 10 กิโล ขายหมดได้ 300 บาท แตงกวาอีก 5 โล ต้นอ่อน 20 ถุง ทำไปทำมาวันนั้นพันนึงได้แล้ว” คุณเอีย ว่าเสียงเรียบ

        ธุรกิจ “เฮย์เดย์ฟาร์ม” ของอดีตผู้บริหารบริษัทประกันชีวิตท่านนี้ใช้เงินลงทุนประมาณ 100,000 บาท และกำลังสร้างรายได้กลับเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้เจ้าของมีกำลังใจและกำลังจะขยายโรงเพาะเห็ดเพิ่มเป็นโรงที่ 3 แล้วด้วย

        “ไม่อายเลยที่ทุกวันนี้ต้องมาปลูกเห็ด-ปลูกผัก เพราะมีรายรับเลี้ยงตัวเลี้ยงลูกได้สบาย แต่แอบห่วงความรู้สึกของแม่ และลูกชายทั้ง 2 คนเหมือนกันว่าพวกเขาจะรู้สึกยังไง” คุณเอียเผยความในใจส่งท้าย

        ก่อนฝากไปยัง “มนุษย์เงินเดือน” ที่อาจกำลังต้องเผชิญสถานการณ์เดียวกันกับเธอว่า “ต้องมีสติอยู่กับตัวตลอดเวลาอะไรผ่านมาแล้วให้ผ่านไปและเชื่อมั่นว่าต้องอยู่ให้ได้”

        ข่าวล่าสุดแจ้งว่าคุณเอียได้งานประจำที่ใหม่แล้วซึ่งอยู่ในแวดวงการประกันชีวิตเหมือนเดิมแต่เธอยังไม่ทิ้งอาชีพเกษตรกรที่กำลังตกหลุมรักและจะใช้เวลาว่างหลังเลิกงานและวันหยุดมาดูแล “เฮย์เดย์ฟาร์ม” ของเธออย่างเต็มกำลัง

ข้อมูลและภาพจาก sentangsedtee 

บทความที่คุณอาจสนใจ