หมอไทยและหมอนอก ชวนแกว่งแขน 10 นาที 3 ครั้ง ยืนตรง งอเข่า แล้วแกว่งแขนเลย

LIEKR:

เมื่อก่อนคิดว่าแค่บอกให้ทำ ไม่ให้เหตุผล พอมาอ่านเจอบทความนี้ ไม่ต้องมาชวน ก็จะแกว่งแขน ดีขนาดนี้ไม่แกว่งไม่ได้แล้ว

    ปัจจุบันมีโฆษณาต่างๆ มากมายในสื่อโซเชียลมีเดีย ที่รณรงค์ให้ผู้คนหันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี โดยท่าที่จะเห็นบ่อยมากที่สุดก็คือ การแกว่งแขน แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีใครตระหนักถึงข้อดีของมัน และไม่ค่อยมีใครลุกขึ้นมาแกว่งแขนตามที่เชิญชวนเลย

    แต่วันนี้มีบทความหนึ่งที่จะทำให้เรารู้ว่า การเเกว่งเเขน และการว่ายน้ำนั้นสำคัญมาก ทั้งนี้มีคลิปและบทความมากมาย แนะนำให้ออกกำลังกายด้วยการเเกว่งเเขน โดยอ้างว่าลดพุงได้อีกด้วย หลายคนเเปลกใจว่าเกี่ยวกันตรงไหน? ไปดูกันว่ามันเกี่ยวกันตรงไหน ใต้หัวไหล่ ที่เรียกว่า รักเเร้ นั้น คือชุมทางของต่อมน้ำเหลือง และบริเวณขาหนีบ นั่นก็ชุมทางของต่อมน้ำเหลืองขนาดใหญ่

 

Sponsored Ad

 

    การขยับหัวไหล่เเละรักเเร้ การเเกว่งเเขนก็ดี การว่ายน้ำที่ขยับทั้งหัวไหล่เเละขาหนีบก็ดี ล้วนเเล้วเเต่เป็นการออกกำลังให้ต่อมน้ำเหลืองขยับเพิ่มการไหลเวียนน้ำเหลือง ซึ่งระบบน้ำเหลือง นั้นจะหมายถึง ม้าม ต่อมทอนซิล ต่อมไธมัส ต่อมน้ำเหลืองต่างๆ น้ำเหลือง ท่อน้ำเหลืองนับเป็นระบบที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดชำระล้างของร่างกาย อันจำเป็นต่อการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการเยียวยาความเจ็บป่วย เพราะระบบน้ำเหลือง มีหน้าที่ขนถ่ายของเสียพิษที่สะสมในร่างกาย เศษของเซลล์ที่ตายเเล้วออกไปกำจัดยังอวัยวะที่รับผิดชอบเเละขับออกไปจากร่างกาย

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดขาว เเอนตี้บอดี้ของระบบภูมิคุ้มกัน ตลอดระยะทางของท่อน้ำเหลืองจะมีต่อมน้ำเหลือง อยู่เป็นระยะๆ เพื่อช่วย กรองสารเเปลกปลอม เชื้อโรค ที่มีอันตราย

    ตับ เป็นอวัยวะที่ทำงานควบคู่ไปกับระบบน้ำเหลือง โดยตับมีหน้าที่สร้างน้ำเหลืองเป็นส่วนมาก เเละตับก็อาศัยน้ำเหลืองนี่เองขนส่งสารอาหารที่ย่อยเเล้วจากตับเเละลำไส้เล็กไปส่งต่อให้กับเซลล์เเละอวัยวะต่างๆ

 

Sponsored Ad

 

    ม้าม เป็นอวัยวะขนาดใหญ่ ที่สุดของระบบน้ำเหลืองมีหน้าที่กรอง เเละกำจัดเซลล์เม็ดเลือดเเดงที่หมดอายุ เเละเป็นอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

    และอีกข้อสำคัญก็คือ เนื่องจากน้ำเหลืองไม่มีปั้ม เหมือนระบบเลือดที่มีหัวใจเป็นปั้ม ดังนั้นการกระตุ้นให้น้ำเหลืองไหลเวียนดีขึ้นจึงต้องพึ่งพิงการออกกำลังกาย เเละการหายใจให้ลึกๆ เป็นหลัก เพื่อเขย่ากระตุ้นการไหลเวียนน้ำเหลืองด้วยการขยับกล้ามเนื้อเเละกระบังลม

 

Sponsored Ad

 

    การเต้นกระโดดบน trampoline ดูจะเป็นวิธีการที่กระตุ้นน้ำเหลืองได้ทั่วร่างกาย หากเต้นไม่ได้ก็อาจใช้วิธี กัวช่า (Gua Sha) การนวดด้วยน้ำมัน การนวดเเผนไทย ใครที่มักมีอาการ ผิวซีด ซูบซีด หลงๆลืมๆ ติดเชื้อบ่อยๆ เป็นหวัดเจ็บคอเสมอๆ เริ่มมีเซลลูไลท์เพิ่มมากขึ้น ให้สงสัยระบบน้ำเหลืองติดขัด ไหลเวียนไม่ดี ทั้งนี้ก็เข้าใจได้ไม่ยากนักเพราะของเสีย ขยะมีพิษตกค้างสะสมนั่นเอง

    อย่าละเลยอาการน้ำเหลืองติดขัด โดยไม่ได้รักษาเพราะ นานวันเข้าพิษร้ายอาจทำให้ล้มหมอนนอนเสื่อด้วยมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง ฉะนั้น ทุกคนลุกขึ้นมาแกว่งแขนกันตั้งแต่ตอนนี้เถอะนะ เพื่อสุขภาพที่ดีของเราเอง

 

Sponsored Ad

 

    ด้าน รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูก ข้อ และวิทยาศาสตร์การกีฬา กล่าวว่า สสส. รณรงค์ เรื่องการแกว่งแขน ผ่านแคมเปญ “ลดพุง ลดโรค” มาตั้งปี 2556 โดยมีผู้สนใจนำวิธีการนี้ไปใช้ออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก การแกว่งแขนถือเป็นศาสตร์ที่มีองค์ความรู้ถ่ายทอดมานานหลายร้อยปี เป็นกิจกรรมทางกายอย่างง่ายที่เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย แต่ต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกวิธีจึงจะได้ประโยชน์และไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือบาดเจ็บ 

 

Sponsored Ad

 

    จากการวิจัย พบว่า การแกว่งแขนสามารถเผาผลาญได้ถึง 230 แคลอรี่ต่อชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับเดิน และไม่เกิดผลเสียใด ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว หลักการแกว่งแขนที่ถูกต้อง คือ แกว่งแขนให้ถูกวิธีต่อเนื่องสะสมอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน จะช่วยพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิตของร่ายกาย ทำให้สุขภาพแข็งแรง หรือแกว่งแขนสะสมครั้งละ 10 นาที รวม 30 นาทีต่อวัน เป็นประจำทุกวันสม่ำเสมอควบคู่กับการควบคุมอาหารจะช่วยให้สามารถลดพุง ลดโรคได้

Sponsored Ad

    รศ.นพ.ปัญญา กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการแกว่งแขนที่ถูกวิธีทำได้ง่าย ๆ 

    1.ยืนตรง งอเข่าเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว เท้าสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับหัวไหล่

    2.ปล่อยมือทั้งสองข้างลงตามธรรมชาติไม่คว่ำหรือหงายมือ

    3.จากนั้นแกว่งแขนเบา ๆ เหมือนลูกตุ้มนาฬิกา เมื่อแกว่งไปข้างหน้าจะรู้สึกลำตัวเซไปข้างหน้าเล็กน้อยใช้ฝ่าเท้ารับน้ำหนักถ่ายน้ำหนักไปที่ปลายเท้าเพื่อสร้างสมดุลกับลำตัวที่เซไปข้างหน้า 

    4.เมื่อแกว่งไปข้างหลังก็ถ่ายน้ำหนักมาที่ส้นเท้าเพื่อสมดุลกับน้ำหนักลำตัวที่เซไปข้างหลัง ซึ่งการเซไปข้างหน้าและหลังนั้น เป็นผลจากการแกว่งแขนนั่นเอง 

    อย่างไรก็ตาม การแกว่งแขนเป็นภาพลวงตาว่าใช้กำลังแขน แต่ที่จริงเราได้ออกกำลังโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ด้านล่างถึง 12 มัด เช่น กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อต้นข้าด้านหน้าและด้านหลัง  กล้ามเนื้อส่วนน่องด้านสันหน้าแข้งและน่องด้านหลัง กล้ามเนื้อที่ฝ่าเท้า ดังนั้น การแกว่งแขนจะเหมือนกับการออกกำลังกายโดยการเดิน 

ชมคลิป  >>> กดตรงนี้ คลิก <<<

ที่มา : เพจสรรหาสาระสุขภาพ, Dr. Kimberly Kaye Castaneda,thaihealth

บทความที่คุณอาจสนใจ