พาชม "วัดสีน้ำเงิน" คล้ายเซรามิก โบสถ์ที่ทนน้ำเค็มกันสนิม สวยงามหนึ่งเดียวในโลก ไม่ไกลจากกรุงเทพ

LIEKR:

แอดเคยไปมาแล้ว บอกเลยว่าสวยมากจริงๆ

    สุดอลังการ โบสถ์เซรามิกสีน้ำเงิน โดดเด่นวิจิตรตระการตา ทนน้ำเค็ม แถมยังกันสนิม มีที่นี่ที่เดียว วัดปากน้ำแขมหนู เมืองจันทบุรี

 

Sponsored Ad

 

    วัดปากน้ำแขมหนู เลขที่ 86 ม.9 ต.ตะกาดเง้า อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เพื่อเก็บภาพบรรยากาศและความงดงามของพระอุโบสถเซรามิกสีน้ำเงิน หรือโบสถ์สีน้ำเงิน ของวัดปากน้ำแขมหนู หลังจากมีการพูดถึงความสวยงามของโบสถ์สีน้ำเงินแห่งนี้ ไปอย่างกว้างขวาง ถึงความแปลก ตลอดจนงดงามความโดดเด่นวิจิตรตระการตา แตกต่างจากโบสถ์วัดอื่นๆ ประกอบกับอยู่ในช่วงประเพณีวันเข้าพรรษา มีนักท่องเที่ยวมาทำบุญ จนทำให้โบสถ์สีน้ำเงิน กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ของ จ.จันทบุรี ไปทันที

    พระครู วิกรม สังฆกิจ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำแขมหนู ได้เปิดเผยถึงประวัติความเป็นมาของพระอุโบสถหลังนี้ว่า พระอุโบสถหลังแรก เริ่มก่อสร้างตามแบบมาตรฐาน และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2489 

 

Sponsored Ad

 

    ต่อมาทางวัดได้ก่อสร้างต่อเติม พระอุโบสถครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2493 และได้ฉลองพระอุโบสถครั้งแรก เมื่อวันที่ 8-11 ก.พ. 2502 ในช่วงปี พ.ศ. 2532 พระอุโบสถหลังเก่า เริ่มชำรุดทรุดโทรมมากขึ้น เนื่องจาก พื้นที่วัดปากน้ำแขมหนู อยู่ติดกับทะเล ทำให้โครงสร้างพระอุโบสถ ผุกร่อนลุกลามไปทั่วจนถึงหลังคา 

    โดยช่วงหน้าฝนเกิดน้ำรั่ว จนไม่สามารถประกอบกิจสังฆกรรมของสงฆ์ได้ ในปี พ.ศ. 2534 จึงได้มีมติร่วมกับชาวบ้าน ที่จะดำเนินการรื้อโบสถ์หลังเก่า และก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น โดยนำเอารูปแบบพิมพ์เขียวจากวัดสระบาป มาเป็นตัวอย่าง พร้อมกันนี้ได้หาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้โบสถ์หลังใหม่เกิดความชำรุดเสื่อมโทรมเร็ว เนื่องจากพื้นที่ติดกับน้ำเค็ม

 

Sponsored Ad

 

    ต่อมา จึงได้เดินทางไปดูรูปแบบก่อสร้างโบสถ์วัดอื่นๆ จนไปพบมีที่วัดแห่งหนึ่ง มีการใช้กระเบื้องเซรามิกมาประดับ และเห็นว่าพื้นผิวเซรามิกมีความมันเงา คงทนแข็งแรง จึงมีแนวความคิดที่จะใช้เซรามิกมาเคลือบชั้นปูนพระอุโบสถที่วัด เพื่อป้องกันน้ำเค็ม นอกจากนี้ ยังได้ประสานโรงงานรับเหมา ให้ผสมสีลงในชิ้นงานที่จะนำมาปิดเคลือบผนังปูน ตลอดจนชิ้นส่วนลวดลายต่างๆ ที่จะนำมาประดับตกแต่ง โบสถ์ทั้งหลัง เพื่อลดเวลาการก่อสร้าง และจะไม่ต้องทาสีซ้ำบ่อยๆ แถมลดการเสื่อมสภาพจืดจางของตัวสีได้อีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

    ส่วนสาเหตุที่เลือกประดับลวดลายลงพื้นโบสถ์ด้วยสีน้ำเงิน เนื่องจากเห็นว่า ภาชนะลายครามที่ทำจากเซรามิกสมัยโบราณ จะมีการใช้สีหลักเพียงสองสีเท่านั้น คือ พื้นสีขาว ตัดลวดลายด้วยสีน้ำเงิน เมื่อลองมาใช้กับโบสถ์ก็พบว่ามีความสวยงามโดดเด่น จึงได้มีการนำมาใช้ประดับตกแต่งพระอุโบสถเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันจนกลายมาเป็นโบสถ์สีน้ำเงินอย่างที่เห็น โดยขณะนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้วกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ คงเหลือการตกแต่งวาดลวดลายภายในพระอุโบสถและการเก็บรายละเอียดรอบนอก

 

Sponsored Ad

 

    ส่วนภายในพระอุโบสถ มีความสวยสดงดงาม ไม่แพ้เซรามิกสีน้ำเงินนอกโบสถ์ โดยด้านในเฉพาะประตูโบสถ์ไม้ ทั้ง 4 บาน มีการแกะสลักภาพนูนต่ำ เกี่ยวกับพุทธประวัติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลงสีสดโดดเด่นเก็บทุกรายละเอียด ด้านนอกบานประตูและหน้าต่าง มีการลงลายมุข ภาพเทพทวารบาล ส่วนพื้นผนังด้านในพระอุโบสถ มีการประดับภาพลงสีในพื้นเซรามิกเกี่ยวกับวรรณคดีชาดก และพระมหาชนก

    พระครู วิกรม สังฆกิจ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำแขมหนู ยังอยากให้พุทธศาสนิกชน เดินทางมาร่วมทำบุญเนื่องในวันเข้าพรรษาในวันที่ 28 ก.ค.2561 ซึ่งนับว่าเป็นมงคล เนื่องจากตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา ซึ่งนอกจากจะได้ร่วมทำบุญในวันพระใหญ่และแสดงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังจะได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชม ความงดงามของ พระอุโบสถ เซรามิก หรือโบสถ์สีน้ำเงิน โบสถ์ทนน้ำเค็มกันสนิมแห่งเดียวในโลกอีกด้วย

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

ข้อมูลและภาพ จาก ไทยรัฐ, NEW18, ไหว้พระ ขสมก. เขต 8 - เขาคิชฌกูฏ 2563