เปิดที่มา "เสื้อปั๊ด" ผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี ฉลองพระองค์พระราชินี เครื่องแต่งกายชนชาวไท

LIEKR:

เปิดที่มา "เสื้อปั๊ด" ฉลองพระองค์ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงสวมครั้งเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์

    พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินในการทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดพิจิตร เมื่อเวลา 17.59 น. ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564

    ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงทักทายประชาชนที่รอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดพิจิตร

 

Sponsored Ad

 

    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงสวมใส่ฉลองพระองค์ (เสื้อปั๊ด) ผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี ซึ่งเป็นหนึ่งในมรดกทางภูมิปัญญาเครื่องแต่งกายชนชาวไท ทำให้ประชาชนที่รอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตรรู้สึกปิติในหัวใจเป็นอย่างมาก

 

Sponsored Ad

 

    จากข้อมูลในเพจ Her Majesty Queen Suthida Fanpage "เสื้อปั๊ด" มีรากมาจากการที่ต้อง ปั๊ด หรือ ป้าย เฉียงมาผูกไว้ข้างเอว นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นซึ่งขึ้นอยู่กับท้องถิ่นของผู้นุ่ง เช่น เสื้อปั๊ดจ้าง หรือ เสื้อแขบ หรือ เสื้อป้ายข้าง เสื้อปั๊ด เป็นลักษณะรูปแบบเสื้อแขนยาว สาบเสื้อสองเฉียงด้านเกยทับกัน มีเชือกสำหรับมัดที่ปลายสาบเสื้อทั้งสองข้าง มักตัดให้เข้ารูปพอดีตัว บริเวณไหล่ต่อแขนตรง

ภาพจาก Her Majesty Queen Suthida Fanpage

 

Sponsored Ad

 

    เสื้อปั๊ด หรือเสื้อป้าย เป็นรูปแบบที่นิยมอย่างมากในหมู่ชาวไทลื้อ สิบสองปันนา ไทยและลาว ชาวไทเขินแห่งเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ชาวลาวผู้ดีแห่งเมืองหลวงพระบาง กลุ่มไทยวนแห่งเมืองน่าน และเมืองเชียงใหม่ อาจจะสามารถกล่าวได้ว่า เสื้อลักษณะนี้เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาเลยก็ว่าได้

 

Sponsored Ad

 

    ยังไม่มีการให้ข้อมูลถิ่นกำเนิดของเสื้อปั๊ดที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าชนชาวไทลื้อ สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ได้รับรูปแบบเสื้อดังกล่าวมาจากชาวจีนมายาวนานหลายร้อยปีแล้ว ก่อนที่ความนิยมดังกล่าวจะแพร่หลายลงสู่ดินแดนตอนใต้ ทำให้พบในกลุ่มไทยวนแห่งล้านนาและชาวลาวแห่งอาณาจักรล้านช้างด้วย

    โดยถึงจะมีการเรียกชื่อว่าเป็น เสื้อปั๊ด แต่กลับมีการใช้ในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยที่ชาวไทลื้อ มักตัดจากผ้าสีดำหรือสีครามตกแต่งด้วยแถบกุ๊นผ้าหลากสีและริบบิ้นจีน ส่วนชาวไทเขินจะตัดจากผ้าพื้นสีเรียบไม่ตกแต่งมาก ชาวไทลาวเน้นการตกแต่งเป็นพิเศษบริเวณคอเสื้อด้วยการปักไหมเงินไหมทองให้เป็นลวดลายวิจิตร 

 

Sponsored Ad

 

    ในขณะที่ชาวไทยวนจะตัดให้มีตัวหลวมโคร่ง สำหรับสวมใส่ในฤดูหนาว ซับในด้วยผ้าสีแดง ที่เรียกกันว่า เสื้อก๊บหลองในแดง

ภาพจาก สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 กรมประชาสัมพันธ์

ที่มา : HerMajestyQueenSuthidaFanpage

บทความที่คุณอาจสนใจ