"หนุ่มแรงงานกัมพูชา" ฝึกตำส้มตำในไทย 4 ปี ก่อนกลับบ้านเกิด เปิดร้านส้มตำจนขายดี แซ่บถูกใจทั้งอำเภอ

LIEKR:

"หนุ่มแรงงานกัมพูชา" ฝึกตำส้มตำในไทย 4 ปี ก่อนกลับบ้านเกิด เปิดร้านส้มตำจนขายดี แซ่บถูกใจทั้งอำเภอ

        หลายคนอาจไม่รู้ว่าที่ประเทศกัมพูชาเองก็มีอาหารคล้ายกับส้มตำ แต่อาจจะไม่จัดจ้านเท่ากับส้มตำของประเทศไทย ทำให้หนุ่มกัมพูชาคนหนึ่ง ซึ่งเคยเดินทางไปงานในไทย เกิดความคิดที่จะเปิดร้านส้มตำสูตรไทยขึ้นมา จนกลายเป็นที่สนใจของสื่อท้องถิ่น

        เมื่อไม่นานมานี้ Phnom Penh Post รายงานว่าที่กรุงพนมเปญ มีร้ายนส้มตำและอาหารไทยร้านหนึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก เจ้าของร้านชื่อ "ตง เฮง" เป็นชายหนุ่มจากจังหวัดพระสีหนุ ซึ่งเคยตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน และออกจากบ้านหลังจากสูญเสียแม่ของเขา จากนั้นเดินทางไปทำงานที่ร้านอาหารในประเทศไทย

 

Sponsored Ad

 

        ในช่วงสี่ปีที่เขาพักอยู่ในกรุงเทพ "ตง เฮง" ได้พยายามเรียนรู้วิธีการเตรียมอาหารไทย โดยการสังเกตพ่อครัวที่ทำงานในร้านอาหาร พร้อมๆ กับตั้งความหวังเอาไว้ว่าสักวันเขาจะเก็บเงินได้มากพอที่จะเปิดร้านอาหารไทยในประเทศบ้านเกิดของตัวเอง จนกระทั่งเมื่อปี 2018 เขาก็ทำความฝันให้เป็นจริงในที่สุด

 

Sponsored Ad

 

        "ตง เฮง" สังเกตเห็นว่าอาหารไทยได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวจากกัมพูชา โดยเฉพาะส้มตำ เขาจึงเปิดร้านอาหารไทยที่เน้นขายส้มตำโดยเฉพาะ ซึ่งส้มตำ หรือ บกละฮง เป็นหนึ่งในอาหารของชาวกัมพูชาเช่นกัน แต่รสชาติไม่เข้มข้นเท่ากับของไทย

        เขาให้สัมภาษณ์กับ Phnom Penh Post ว่าเขาสังเกตเห็นเห็นคนกัมพูชาจำนวนมากชอบรับประทานส้มตำ แต่ไม่เคยเห็นร้านอาหารในพนมเปญร้านไหนที่มีส้มตำรสชาติแบบไทยแท้

 

Sponsored Ad

 

        นอกจากจะมีส้มตำแบบไทยแล้ว ร้าน Tong Tong Bok Etlahae ของเขายังเสิร์ฟอาหารประเภทตำสูตรต่างๆ แบบที่คนไทยนิยมกัน เช่น ตำหมี่ และตำหอย

        "ส้มตำ" หรือ "บกละฮง" ในภาษาเขมร ซึ่งแปลว่าตำมะละกอ เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันในหมู่ชาวกัมพูชา คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากส้มตำของไทย แต่มีรสชาติอ่อนเผ็ดและค่อนข้างหวาน 

 

Sponsored Ad

 

        นอกจากนี้ยังนิยมตำโดยไม่ใส่วัตถุดิบที่หลากหลายเหมือนในประเทศไทย นิยมรับประทานโดยใช้ตะเกียบคีบ

        ในเวลานี้ส้มตำที่ทำแบบไทย หรือเรียกว่า "บกละฮุงแบบไท" กำลังเป็นที่แพร่หลาย โดยจะมีการตำด้วยวัตถุที่หลากหลายขึ้นแบบเดียวกับที่นิยมในเมืองไทย เช่น ตำปูเค็ม, ตำปูม้า, ตำมั่ว และรับประทานกับไก่ย่าง ที่สำคัญก็คือมีการริเริ่มนำน้ำปลาร้าจากเมืองไทยไปใช้ปรุงด้วย จึงทำให้บกละฮุง "แซ่บ" แบบไทย

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก posttoday, thepeople

บทความที่คุณอาจสนใจ