เปิดตำนาน "มกร" ตัวกินพญานาค ศิลป์แห่งดินแดนล้านนา

LIEKR:

สุดยอดเลยค่ะ ไม่เคยสังเกตมาก่อนเลย

    หากใครได้แวะไปทางภาคเหนือ หลายๆท่านส่วนใหญ่คงพลาดไม่ได้ที่จะแวะทำบุญตามวัดต่างๆ ซึ่งถือว่ามีความสวยและงดงามในรูปแบบศิลปะล้านนา ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดลายฝาผนัง ตัวหน้าบัน ช่อฟ้า หรือแม้แต่ "บันไดนาค" แต่ท่านสังเกตมั้ยครับว่า รูปปั้นตัวนาคที่ประดับอยู่ตรงบันไดทางขึ้นทั้ง 2 นั้น มันออกมาจากปากตัวอะไรซักอย่าง วันนี้ LIEKR มีคำตอบมาเล่าให้ฟังกัน

    ในแถบอุษาคเนย์ทั้งไทย ลาว เขมร และพม่า ต่างมีคติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชางู โดยเฉพาะงูใหญ่อย่าง “พญานาค” ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา ซึ่งรูปร่างพญานาคตามอุดมคติของชาวบ้านในแต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกัน 

 

Sponsored Ad

 

    ส่วนในดินแดนล้านนาพญานาคมีปากคล้ายจระเข้ บ้างมีเขี้ยวยาวโค้ง เรียกกันว่า “มกรคายนาค” (อ่านว่า มะ–กะ–ระ หรือ มะ–กอน) เป็นสัตว์จินตนาการในป่าหิมพานต์

 

Sponsored Ad

 

มกรคายพญานาคเจ็ดเศียร เชิงบันไดวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ 

  มกร เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ ลักษณะภายนอกจะผสมระหว่างจระเข้กับพญานาค กล่าวคือ มีลำตัวยาวเหยียดคล้ายพญานาค แต่มีขายื่นออกมาจากลำตัว และส่วนหัวที่คายพญานาคออกมานั้น เป็นปากจระเข้ คนโบราณจึงมักนำมกรไปเฝ้าอยู่ตามเชิงบันไดวัด และที่สำคัญคือมีคนจำนวนไม่น้อยสับสนคิดว่า “ตัวมอม” เป็นสัตว์ชนิดเดียวกับตัว “มกร” หรือ “เหรา” ที่เฝ้าอยู่ตรงราวบันไดศาสนสถานในภาคเหนือ แต่หากพิจารณาลักษณะภายนอกของมกรแล้วจะพบว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 

Sponsored Ad

 

    “มกร” มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีมาแต่โบราณว่า “เหรา” (เห–รา) เหราในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแมงดาทะเล แต่เป็นสัตว์ในจินตนาการ มีหน้าที่เฝ้าศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อาทิ พระธาตุ โบสถ์ และวิหาร ที่สื่อว่าเป็นเขาพระสุเมรุ ตามคติจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ ดังนั้น จึงต้องมีสัตว์ในป่าหิมพานต์เฝ้าอยู่เชิงเขาพระสุเมรุไม่ให้คนขึ้นไปรบกวนทวยเทพ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนสวรรค์ ส่วนคำว่ามกรนั้น เข้าใจว่าคงได้รับอิทธิพลมาจากมังกรของจีน เพราะเราเคยเห็นแต่พญานาคที่ไม่มีขา พอเห็นตัวที่มีหัวเป็นพญานาคหรือสำรอกพญานาคและมีขาด้วยก็เลยเรียกตามจีนไป

 

Sponsored Ad

 

    ตามตำนานเล่าว่า มกร มีความโกรธ และอาฆาตแค้นพญานาค มากหาทางจะเอาชนะพญานาคให้ได้ ได้ท้าทายประลองกำลังกัน

    มกร..กลืนกิน พญานาคทั้งตัว แต่ไม่สามารถกลืนส่วนหัวของพญานาคได้ เราจึงเห็นหัวพญานาค ที่บันไดทางขึ้นวิหาร ส่วนลำตัวที่เห็นคือ ลำตัวของเงือก ที่วิหารแห่งนี้ มีเงือกกลืนกินกันถึง 2 ตัว อีกตัวกลืนกินส่วนหาง 

 

Sponsored Ad

 

แล้วมันกินหรือคายพญานาค ?

    มีผู้ตีความว่าเหราหรือมกรมันคายพญานาคออกมาจากปากนะครับ ไม่ใช่กำลังกิน ซึ่งการคายพญานาคของเหรานี้ คงมองได้ 2 แบบ

แบบที่ 1: ทางด้านการเมืองและศิลปะ

 

Sponsored Ad

 

    เหราคายนาคในศิลปะทางภาคเหนือนั้น ก็พอจะกล่าวได้ว่า สมัยที่พม่าปกครองล้านนาอยู่นั้น พม่าต้องการข่มอาณาจักรล้านนาหรือชนเผ่าทางตอนเหนือของประเทศไทย ที่เรียกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันว่า “โยนก”  ซึ่งเมืองโยนกเชียงแสนเดิมมีพระเจ้าสิงหนวัติกุมาร ต้นตระกูลของพระเจ้าพรหมมหาราชปกครองอยู่ ก็มีตำนานเกี่ยวพันกับ “พญานาค” 

    สมัยที่พม่าปกครองล้านนา พม่าต้องการข่มอาณาจักรล้านนาให้อยู่ภายใต้การปกครอง ประมาณว่า "เอ็งอยู่ในปากข้าแล้ว จะกัดให้ตายเมื่อไหร่ก็ได้" หรือถ้ามองในด้านศิลปะ จะหมายถึงเป็นการหลุดพ้นจากอิทธิพลศิลปะและการเมืองของพม่าที่เข้ามาครอบครองอาณาจักรล้านนาถึง 200 ปี

Sponsored Ad

แบบที่ 2: ทางด้านพุทธศาสนา

    มกรหรือตัวเหราในทางพุทธศาสนา หมายถึง "อุปทาน ความยึดติด ความลุ่มหลง" ส่วนนาคนั้น หมายถึง "ความมีชีวิต ร่างกาย จิตใจของเรา" ถ้าอุปทาน ความลุ่มหลง(ตัวเหรา) มันจับเราไว้(พญานาค) เราก็จะรู้สึกเจ็บปวด ไปไหนไม่ได้ เพราะว่าเรายังยึดติดอยู่ ดังนั้น หากไม่อยากเจ็บปวดก็ต้องปล่อยวางจากสิ่งยึดติดต่างๆ (หลุดออกจากปากเหราให้ได้) นี่จึงเป็นกุศโลบายที่คนโบราณสอนทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง

    ซึ่งศิลปกรรมมกรคายนาคนั้นมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยสังเกตุได้จากตัวพญานาค ในสมัยราชวงศ์มังราย พญานาคมีกระบังหน้าขนาดใหญ่ สวมกรองศอ ซึ่งสืบมาจากศิลปะบายนของเขมรอีกทอดหนึ่ง ครั้นพม่าเข้ามาปกครองดินแดนล้านนา มกรคายนาคก็มีลักษณะเป็นศิลปะแบบพม่า เป็นปูนปั้นทาสีขาว และพญานาคจะทรงเครื่องแบบพม่า

    มกรคายนาคยังคงยึดถือเป็นศิลปกรรมเนื่องในพุทธศาสนามาจนปัจจุบัน มกรคายนาคปรากฏอยู่ทั่วในวัดหลายแห่งทางภาคเหนือหลายแห่ง อาทิ วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดบุพพาราม จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีคิรินทราราม จังหวัดแพร่ วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง เป็นต้น 

ข้อมูลและภาพจาก silpa-mag / Lanna

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ