อาร์เจนตินาหนัก! "พิษประชานิยม" บทเรียนชีวิตเศรษฐกิจสิ้นหวัง คนไม่มีจะกิน เงินเฟ้อเยอะ คนตกงานเยอะ!

LIEKR:

เป็นอีกประเทศที่เจอพิษประชานิยม เข้าสู่ภาวะอันตราย!-------คนไม่มีจะกินแล้ว! เปิดบทเรียน #พิษประชานิยม อาร์เจนฯ คนว่างงานเยอะขึ้น เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 54% ค่าเงินดิ่งลงถึง 50.5% เข้าสู่ภาวะวิกฤต!

        อาร์เจนตินาเคยประสบกับวิกฤตการเงินในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับไทย คือ ปี 1998 แต่วิกฤตการณ์ของอาร์เจนตินาลากยาวมาจนถึงปี 2002 และอันที่จริงแล้วเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาติดหล่มมาตั้งแต่ปี 1974-1990 หรือช่วงอภิมหาวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) และในปี 2018 อาร์เจนตินาเผชิญกับวิกฤตการเงินอีกครั้ง หลังจากบูมได้แค่ปีเดียว และลากยาวจนมาถึงปี 2019

        ค่าเงินเปโซเริ่มดิ่งเหวตั้งแต่ปลายปี 2017 จนกระทั่งเดือน เม.ย.-พ.ค.ปี 2018 ก็ทิ้งตัวราวกับกระโจนลงสู่หน้าผา จาก 15 เปโซต่อ 1 เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 20 เปโซ ในเดือน เม.ย. และดิ่งลงมาที่ถึง 40 กว่าเปโซ แล้วก็อ่อนค่าเอาๆ นับแต่นั้น รวมแล้วปีที่แล้วเปโซดิ่งลงถึง 50.5%

 

Sponsored Ad

 

        ล่าสุดค่าเงินอยู่ที่ 45 เปโซ เรียกได้ว่ากำลังเข้าสู่นรกขุมที่ลึกที่สุดขุมหนึ่งของวิกฤตค่าเงิน

        ส่วนความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่อัตราจ้างงานเพียบ ก็ลดลงวูบนับตั้งแต่เดือน เม.ย. ปี 2017 และต่อมาอัตราคนว่างงานก็พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 9.20%  สถานการณ์ของอาร์เจนตินาในปีนี้ เรียกได้ว่าเหมือนนรกกับสวรรค์เมื่อเทียบกับปี 2017

 

Sponsored Ad

 

        ในปีนี้อัตราเงินเฟ้อสูงถึง 54% ซึ่งเรียกได้ว่าน่าจะเป็นรองแค่เวเนซุเอลาเท่านั้นในแง่ความรุนแรง (โดยที่เวเนซุเอลารุนแรงกว่าหลายล้านเท่า!) ทำให้คนอาร์เจนตินากลายเป็นคนยากจนเพิ่มขึ้น เพราะค่าเงินอ่อนจนซื้ออะไรลำบาก แถมราคาสินค้าก็แพงราวติดจรวด

Photo by EITAN ABRAMOVICH / AFP

        เราจะไม่ลงลึกว่าทำไมเหตุการณ์จึงกลับตาลปัตรขนาดนี้ แต่พึงเข้าใจว่า อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีประวัติเรื่องความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเงินขึ้นๆ ลงๆ จนชาวโลกเห็นเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว

 

Sponsored Ad

 

        แน่นอนว่าธุรกิจจะต้องไปไม่รอด หลายกิจการต้องปิดตัวลง และสินค้าในสต๊อกต้องเปลี่ยนราคากันเป็นว่าเล่น โดยเฉพาะสินค้านำเข้า ที่ต้องซื้อขายด้วยเงินเหรียญสหรัฐ แต่เพราะค่าเงินผันผวนทำให้ทั้งคนขายและคนซื้อถึงกับกลุ้ม

        พวกเขาจะเอาชีวิตรอดในนรกค่าเงินของอาร์เจนตินาได้อย่างไรโดยไม่ต้องปิดกิจการ และยังมีคนยินดีที่จะซื้อสินค้าของพวกเขา ในช่วงเวลาที่อำนาจการซื้อตกต่ำลงสุดๆ?

        เฟร์นันโด เอชต์ลิงเงอร์ เจ้าของร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เพิ่งเปิดร้านในช่วงเศรษฐกิจบูมปี 2017 แต่ในตอนนี้ราคาผันผวนอย่างมาก เพื่อเอาตัวรอดเขาจึงต้องตั้งราคาใหม่กันบ่อย จนตัวเขาเองเรียกแบบติดตลกว่า “เทศกาลตั้งราคา” เพราะถ้าไม่ทำแบบนี้ก็มีแต่ต้องปิดกิจการ เพราะไม่มีเงินหมุนเวียนมารีสต๊อกสินค้าใหม่

 

Sponsored Ad

 

        ประสบการณ์ของ เอชต์ลิงเงอร์ น่าจะเป็นตัวอย่างให้หลายคนได้ตรึกตรองและเลียนแบบได้เป็นอย่างดี เพราะสินค้าของเขานำเข้าเป็นหลัก จึงเกี่ยวพันกับปัญหามากกว่าใคร แต่เขาก็ยังเอาตัวรอดมาได้

        สิ่งที่ เอชต์ลิงเงอร์ ทำ คืออธิบายให้ลูกค้าได้เข้าใจ แม้จะต้องเสียเวลาพอสมควรก็ตาม แต่โชคดีอย่างหนึ่งก็คือ สถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายจนกระทั่งผู้คนไม่มีปัญญาซื้ออาหารมายาไส้ ซึ่งต่างจากเวเนซุเอลาราวฟ้ากับเหว แน่นอนว่า สถานการณ์เช่นนี้มีส่วนประคับประคองกิจการของเขาได้มาก

Photo by EITAN ABRAMOVICH / AF

 

Sponsored Ad

 

        สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะที่เขาต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพราะก่อนหน้านี้เขาทำงานคนละสาย คือ เป็นคนเขียนบทภาพยนตร์ เป็นครีเอทีฟ และที่ปรึกษา พอมาจับงานค้าขายก็รุ่งได้พักเดียวแล้วก็ร่วงเป็นดาวตก

        เอชต์ลิงเงอร์ บอกว่า การเปลี่ยนราคาสินค้าบ่อยๆ เป็นความเสี่ยง แต่กลายเป็นว่ากลับ “เวิร์ค” สำหรับกิจการของเขา นอกจากจะประคองกิจการเอาไว้ได้แล้ว ยังมีแผนที่จะเปิดสาขาอีกแห่งด้วย จากเดิมตอนนี้ที่มีอยู่ 2 สาขา แสดงให้เห็นว่า ตัวเขาเป็นนักธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์สูงมาก

 

Sponsored Ad

 

        นักธุรกิจเลือดใหม่อีกรายคือ เฟเดริโก เวเลโน วัย 29 ปี มีกิจการขายเครื่องดนตรีในบัวโนสไอเรส และมีแบรนด์ของตัวเองชื่อว่า Bamboo ซึ่งออกแบบโดยชาวอาร์เจนตินา แต่ต้องสั่งทำจากต่างประเทศ

        ออร์เดอร์ชุดแรก 800 ชิ้น ขายหมดเกลี้ยงใน 2 สัปดาห์

Photo by EITAN ABRAMOVICH / AFP

        แต่การสั่งทำและส่งกลับมาขายใช้เวลา 3-4 เดือน ระหว่างนั้นค่าเงินผันผวนสุดๆ ค่าเงินอ่อนลงอย่างน่ากลัว ทำให้ราคาสินค้าที่ออร์เดอร์ไว้พุ่งขึ้นตามไปด้วย แล้วแบบนี้ลูกค้าจะกล้าซื้อหรือไม่ ในเมื่อคนขายก็ยังไม่มั่นใจว่าจะขายได้?

Sponsored Ad

        ปรากฏว่า เวเลโน เลือกที่จะขายด้วยการลดกำไรลง เพื่อรักษากิจการและรักษาลูกค้าด้วย

        แม้เขาจะไม่เล่าว่าลูกค้าพอใจหรือไม่ แต่ดูเหมือนว่าทุกฝ่ายจะเข้าอกเข้าใจกัน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ถือว่า “เป็นบุญ” ของผู้ขายและผู้ซื้อในประเทศนี้ที่ต่างรู้สถานการณ์ของแต่ละฝ่าย และยอมงอไม่ยอมหัก

        อีกปัญหาหนึ่งที่ต้องเผชิญคือ ความล่าช้าของระบบราชการ ที่ช้ามากจนเหมือนกับต้องรอไปชั่วกัลปวสาน โดยเฉพาะการทำเรื่องภาษี เอชต์ลิงเงอร์ เผยว่า รายได้ที่ได้มา 50% จะต้องเสียให้รัฐ และยังหลีกเลี่ยงได้ยากอีกด้วย


        อัตราภาษีที่สูงควรจะแลกมาด้วยสวัสดิการที่สูงล้ำ แต่ระบบราชการของอาร์เจนตินาย่ำแย่ โมเดลเศรษฐกิจไม่ได้ความ และความหายนะทุกวันนี้เป็นผลสะเทือนมาจากการใช้นโยบายประชานิยมในช่วงหลายทศวรรษก่อน

        บางทีนักธุรกิจที่เอาตัวรอดจากหล่มทางเศรษฐกิจมาได้ อาจจะสะดุดปลักที่รัฐขุดเอาไว้ก็เป็นได้

        แต่ชาวอาร์เจนตินาเหล่านี้จะไม่ยอมแพ้ เหมือนกับที่ เวเลโน บอกว่า ที่นี่ยังเป็นประเทศที่ยอดเยี่ยมในการเรียนรู้ที่จะรักษาธุรกิจเอาไว้

ข้อมูลและภาพ จาก posttoday

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ