นายบุญนพ เกษตรกร กล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ของร.๑๐ ที่ทำให้ชาวบ้านมีกินทุกวันนี้

LIEKR:

ขอจงทรงพระเจริญ

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ 

     “นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการเกษตรวิชญา ให้เกิดขึ้นที่บ้านกองแหะ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ทำให้สภาพชีวิตพวกเราในวันนี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก ต่างจากในอดีตอย่างชัดเจน”

 

     นายบุญนพ เมืองมานะ เกษตรกรบ้านกองแหะ และประธานคณะกรรมการบริหารจัดการพื้นที่โครงการธนาคารอาหารชุมชน โครงการเกษตรวิชญา ได้บอกกล่าวถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาตามพระราชดำริ พระบาท สมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิรา ลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

Sponsored Ad

 

 

    จากอดีตพื้นที่ป่าในบริเวณของหมู่บ้านแห่งนี้มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม นำมาซึ่งปัญหาหน้าดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้แหล่งอาหารที่ประชาชนในพื้นที่ที่เคยพึ่งพิงอาศัยได้ค่อยๆหมดไป และเริ่มเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

 

 

Sponsored Ad

 

    ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงรักและห่วงใยในความเป็นอยู่ของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ 1,350 ไร่ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 18 ก.ค. พ.ศ. 2545 

    พร้อมมีพระราชดำริให้พิจารณากำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อโครงการว่า เกษตรวิชญา แปลว่า ปราชญ์แห่งการเกษตร

 

Sponsored Ad

 

 

.

 

.

.

    ก้าวแห่งการพัฒนาตามพระราชดำริโครงการเกษตรวิชญา โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปรากฏผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยหนึ่งในโครงการสำคัญและสร้างประโยชน์ คือ ธนาคารอาหารชุมชน (เกษตรวิชญา) หรือ Food Bank บนพื้นที่ 123 ไร่ โดยมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. เป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน

 

Sponsored Ad

 

    ประธานโครงการเกษตรวิชญากล่าวอีกว่า การพัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมมุ่งเน้นให้เป็นธนาคารอาหารชุมชน การปรับปรุงแหล่งน้ำ ทำฝายชะลอน้ำ และระบบกระจายน้ำคลองไส้ไก่ในพื้นที่ รวมทั้งมีการฝึกอบรมสร้างกระบวนการเรียนรู้การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหารธรรมชาติ

.

 

Sponsored Ad

 

     รวมถึงการส่งเสริมอาชีพ การเพาะพันธุ์กล้าไม้ การจัดตั้งเป็นกลุ่มเครือข่ายต่างๆขึ้น เช่น คณะกรรมการคนรักป่าธนาคารอาหารชุมชนมีการจัดตั้งเป็นฐานเรียนรู้ให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษา อาทิ ฐานรักษ์ไม้พื้นบ้านสืบสานพระราชปณิธาน ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และอนุรักษ์ไม้ท้องถิ่น ฐานต่อยอดพฤกษ์พนา คุณค่าพันธุ์ไผ่ เรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไผ่และการใช้ประโยชน์จากไผ่ ฐานสมุนไพรถิ่นไทย ประโยชน์มากหลากหลาย เป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร เป็นต้น

 

Sponsored Ad

 

 

    วันนี้บ้านกองแหะได้ป่าที่อุดมสมบูรณ์คืนมา และกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกันเพื่อรักษาป่า เช่น ห้ามตัดต้นไม้ ห้ามเผาป่า ห้ามทิ้งขยะ นอกจากนี้ได้ประสานความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียนในชุมชน เข้ามาปลูกฝังแนวคิดไปสู่เด็กๆ

 

Sponsored Ad

    โดยทาง ส.ป.ก.เข้ามาช่วยอบรมความรู้ในการเป็นมัคคุเทศก์น้อย เพื่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวให้ทราบถึงเรื่องราวชีวิตในการปกป้องรักษาป่าไม้ของคนบ้านกองแหะ.

 

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ที่มา : thairath

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ