ซื้อบ้านร้างอายุ 10 ปี เนรมิตใหม่กลายเป็น "บ้านในฝัน" ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัว

LIEKR:

บ้านเก่าไม่ได้มีชะตากรรมแค่รอทุบทิ้ง บ้านเก่าสามารถถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่

        เมื่อไม่นานมานี้ เว็บไซต์ต่างประเทศได้เปิดเผยเรื่องราวของ "เฉินหงเหวิน" เป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน ผู้หลงใหลในอาคารเก่าแก่และสไตล์ย้อนยุคปี 60

        ปี 2017 เขากับพ่อซื้อบ้านร้างหลังหนึ่งในเมืองผิงตง ที่ไต้หวัน ที่ถูกทิ้งร้างมา 10 กว่าปี ปรับปรุงบ้านใหม่ สำหรับคน 7 คน 4 รุ่น ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ด้วยกัน สองพ่อลูกช่วยกันทำไปทีละขั้น

 

Sponsored Ad

 

        การออกแบบบ้านหลังใหม่ สำหรับเฉินหงเหวินไม่ใช่เรื่องยาก แต่เขาเลือกที่จะซ่อมบ้านเก่า เก็บผนัง ประตู หน้าต่างที่มีรอยแตกเอาไว้ เขาเพิ่มวัสดุก่อสร้างเข้าไปใหม่ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้บ้านที่ถูกทิ้งร้าง

 

Sponsored Ad

 

        การตกแต่งภายในใช้เฟอร์นิเจอร์ยุโรปโบราณ นำเสนอการผสมผสานของสไตล์ทั้งเก่าและใหม่ ใช้เวลาถึง 2 ปีถึงทำเสร็จ ครอบครัว 7 ชีวิตเข้าไปอาศัยอยู่ร่วมกัน “บ้านเก่าไม่ได้รอชะตากรรมแค่การถูกทำลาย การรักษาบ้านเก่าคือการรักษาวัฒนธรรม และยุคที่สวยงาม”

.

 

Sponsored Ad

 

.

        เฉินหงเหวิน เป็นนักออกแบบตกแต่งภายในมา 10 ปีแล้ว โดยช่วยคนอื่นออกแบบบ้านมาโดยตลอด 

 

Sponsored Ad

 

        ทำให้เขาอยากมีโอกาสออกแบบบ้านให้ครอบครัวตัวเอง “บ้านที่ทั้งครอบครัวสามารถอยู่ด้วยกัน”

        สมาชิกในครอบครัวของเฉินหงเหวินมีคุณปู่ คุณพ่อคุณแม่ ภรรยา ลูกชาย ลูกสาว คน 4 รุ่นทั้งหมด 7 คน

 

Sponsored Ad

 

        ปี 2017 คุณพ่อซื้อบ้านเดี่ยวหลังนี้ โดยบ้านนี้ปลูกสร้างสไตล์โบราณแบบ san-he-yuan สร้างเป็นรูปตัว U มีหลังตรงกลาง ปีกสองข้าง และมีสวน

 

Sponsored Ad

 

        ก่อนที่พวกเราจะซื้อ มันถูกทิ้งร้างมา 10 กว่าปี เพดาน ผนังพังไปหมด กลายเป็นที่อยู่ของหมาแมวจรจัด เป็นเหมือนซากปรักหักพัง ที่เพื่อนบ้านไม่กล้าเข้าใกล้

        คุณพ่อเป็นวิศวกรที่ทำงานรีโนเวท ปรับปรุงโครงสร้าง เขาถามเฉินหงเหวิน “ลูกว่าจะเปลี่ยนเป็นยังไงได้ หรือจะทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ดี” 

Sponsored Ad


        เฉินหงเหวินบอกไม่ได้ เขาต้องการปรับปรุงมัน คืนสภาพดั้งเดิมให้มัน ตอนแรกพ่อรับไม่ได้ พ่อคิดว่าบ้านเก่ามากแล้ว สร้างใหม่ไปเลยน่าจะสบายกว่า แต่เฉินหงเหวินกลับรู้สึกว่า “บ้านร้าง” หลังนี้สวยมาก สามารถจินตนาการได้ว่าถ้าฟื้นฟูใหม่จะเป็นอย่างไร

        พวกเขาใช้เวลา 2 ปี ถึงปี 2019 ถึงทำเสร็จ เพื่อนบ้านต่างไม่อยากเชื่อ ทำไมถึงมีคนใช้เวลาตั้งสองปี ซ่อมแซมบ้านผุๆ

        เพราะว่าการฟื้นฟูซ่อมแซมบ้านเก่า ต้องหาวัสดุที่เหมาะสม เฟอร์นิเจอร์ ต้องวางสายไฟ ท่อน้ำใหม่ โดยไม่ทำลายโครงสร้างเป็นสิ่งที่ยากมาก เฉินหงเหวินกับพ่อแบ่งหน้าที่กัน เขารับผิดชอบด้านการออกแบบ พ่อมีหน้าที่ทำออกมาให้เป็นจริง

        เฉินหงเหวินชอบบ้านเก่ามา ชอบสำรวจการดำเนินชีวิตจากบ้านเก่า

        จากรูปแบบของบ้าน san-he-yuan ห้องจะค่อนข้างเล็ก พื้นที่ส่วนกลางเช่นห้องรับแขก ห้องทานข้าว สวนจะค่อนข้างใหญ่ เพื่อให้คนในครอบครัวมาใช้เวลาอยู่ด้วยกัน แถมทุกห้องเปิดหน้าต่างไปที่สนามหญ้า ทุกคนสามารถเห็นกันและกัน ความสัมพันธ์ในครอบครัวแนบแน่น บ้านในยุคปัจจุบันไม่สามารถหาการดีไซน์แบบนี้ได้

        เฉินหงเหวินรู้สึกว่าแบบนี้ดีมาก แถม san-he-yuan เป็นบ้านชั้นเดียว ไม่มีบันได เหมาะกับคนชราและเด็กๆ อายุไม่เป็นตัวจำกัด ก็เลยตัดสินใจรักษารูปแบบบ้าน san-he-yuan เอาไว้ รวมถึงลักษณะการแบ่งพื้นที่ใหญ่เล็ก และขนาดประตูหน้าต่าง นอกจากผนังที่พังแล้ว ถึงได้ทุบทำใหม่

        จากนอกประตูสามารถมองเห็นสวนด้านในทั้งหมด รูปแบบของบ้าน san-he-yuan หลังนี้ไม่เหมือนแบบดั้งเดิมที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่บ้านด้านขวาจะยาวกว่าด้านซ้าย นี่เป็นสาเหตุที่เฉินหงเหวินชอบที่นี่เป็นพิเศษ

        ห้องตรงกลางก็คือห้องรับแขก ถ้าข้างนอกฝนตก ทุกคนในครอบครัวสามารถมานั่งพูดคุยพักผ่อนที่นี่

        กำแพงนี้เดิมทรุดไปแล้ว เพราะความชื้นทำให้มีมอสและต้นไม้เล็กๆขึ้น ผมเก็บฐานกำแพงที่เหลือไว้ และใช้อิฐก่อขึ้นไปใหม่ เพื่อสร้างความรู้สึกของการผสมผสานระหว่างเก่ากับใหม่

        สองข้างของห้องรับแขกคือห้องนอน มีทั้งหมด 4 ห้อง แต่ก่อนในห้องนอนไม่มีห้องน้ำ มีแค่ห้องน้ำห้องเดียวข้างนอก ทุกคนใช้ด้วยกัน แต่มันไม่ตรงกับความต้องการของชีวิตในปัจจุบัน

.

        ดังนั้นเฉินหงเหวินจึงใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทางเดินด้านหลัง ทำเป็นห้องน้ำ ในขณะเดียวกันก็ทำให้แสงธรรมชาติสามารถส่องเข้ามาในห้อง ทำให้การหมุนเวียนในห้องดีขึ้น

        ห้องด้านซ้ายที่ค่อนข้างสั้น เป็นห้องเด็กเล่น และมีเครื่องดนตรี บางครั้งมีคุณครูมาสอนเด็กๆที่บ้าน ก็สามารถเล่นที่นี่ได้

.

        ปีกด้านขวาเป็นครัว ห้องทานข้าว ห้องหนังสือ

        ครัวในสมัยโบราณปิดมิดชิด เกี่ยวกับค่านิยมที่เชื่อว่าครัวเป็นพื้นที่ของผู้หญิง เพราะงั้นต้องมืดๆหน่อย แต่เฉินหงเหวินอยากให้โปร่งๆ

        เขายังรักษาเตาแบบดั้งเดิมไว้ กระเบื้องเดิมของมันหลุดร่อนหมดแล้ว พวกเขาก็ซ่อมแซมใหม่ นอกจากด้านบนที่เปลี่ยนเป็นเตาแก๊สแบบใหม่ อย่างอื่นก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง

        ผนังทำเป็นหน้าต่างแบบยาวจรดพื้น ออกแบบเป็นกระจกวงกลม เขามักจะมานั่งดื่มกาแฟกับภรรยาที่นี่ ครัวเป็นพื้นที่ๆพวกเขาชอบ

        ในห้องอาหารวางโต๊ะกลมตัวใหญ่ ทั้งครอบครัวสามารถนั่งกินข้าวด้วยกัน ให้ความรู้สึกของ “บ้าน”

        ปรับปรุงบ้านเก่า ไม่จำเป็นต้องใช้เฟอร์นิเจอร์เก่า ในส่วนของภายใน เนื่องจากเก็บรักษาพื้นหินขัดเก่า หน้าต่างเหล็กดัด หน้าต่างไม้เอาไว้

        ดังนั้นผมก็เลยใช้โซฟาหนัง ผสมกับโคมไฟแบบยุโรป สิ่งประดิษฐ์จากหวายชิ้นเล็ก ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกย้อนยุคและความทันสมัยของทั้งเก่าและใหม่

        เฉินหงเหวินชอบของเก่า โดยเฉพาะของในยุค 50 60 ทีวีเก่า เครื่องทำน้ำแข็งใสโบราณ กล้องจุลทรรศน์ ตู้ยาจีน ล้วนเป็นของสะสมของเขา

        เขาเริ่มต้นทำธุรกิจหลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัย ทำงานมาตลอด 10 ปี จากนั้นก็แต่งงานมีลูก ทำให้เขาให้ความสำคัญกับครอบครัวมากขึ้นเรื่อยๆ : ครอบครัวต้องอยู่ด้วยกัน

        ลูกชายของเฉินหงเหวินเป็นเด็กซน พ่อทำสไลเดอร์ไว้ให้เขาในสวน ปู่กับหลานมักจะมาเล่นด้วยกัน ในบ้านยังมีของเล่นอื่นๆ ทุกคนในบ้านจะมาเล่นในสวนด้วยกัน โดยไม่ต้องนั่งเล่นมือถือทั้งวัน

        ตอนนี้พวกเขาทั้งครอบครัวอาศัยอยู่ร่วมกัน ให้ความรู้สึกเหมือนกลับไปเป็นเด็ก เฉินหงเหวินบอกกับพ่อว่า “ผมอยากเก็บความทรงจำที่ดีนี้ไว้ ผมอยากให้ลูกของผม หลานของพ่อ เมื่อโตขึ้นแล้ว ยังรู้ว่าสมัยปู่กับย่าใช้ชีวิตยังไง”

        บ้านเก่าไม่ได้มีชะตากรรมแค่รอทุบทิ้ง บ้านเก่าสามารถถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ให้เหมาะสมกับความต้องการของคนในยุคปัจจุบัน การเก็บรักษาบ้านเก่าไว้ เท่ากับการเก็บรักษารากเหง้า เก็บรักษาวัฒนธรรม

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ