หนึ่งเดียวในประเทศไทย ถนนต้นยางนาพันต้น อายุกว่า 150 ปี รุกขมรดกของแผ่นดิน

LIEKR:

รุกขมรดกของแผ่นดินไทย ใครเคยไปมาแล้วบ้าง?

        จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวหัวเมืองหลักทางเหนือของไทย ที่ถ้าพูดถึงแล้ว ไม่ว่าใครก็นึกถึงธรรมชาติบนยอดดอย วัดวาอารามกว่าพันแห่งในฐานะเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรล้านนา สถานที่ท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ต่างๆ วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ ยอดดอยอิทนนท์ หรืออุทยานแห่งชาติ โครงการหลวง โครงการในพระราชดำริต่างๆ มากมาย

        แต่เมื่อเอ่ยถึงเส้นทางหรือถนนเส้นหนึ่งที่เป็นประวัติศาสตร์มาช้านานและดูเหมือนจะมีแห่งเดียวในประเทศ คือเส้นทางเชื่อม จ.เชียงใหม่ กับ จ.ลำพูน ผ่านทาง อ.สารภี นั่นคือถนนสายอ.สารภีที่จะมี "ต้นยางนา" กว่าพันต้นอายุกว่า 150 ปี สูงตระหง่านเป็นแนวตลอดเส้นทางอย่างสวยงาม

 

Sponsored Ad

 

        แต่ด้วยความสูงใหญ่แม้จะสวยงามแต่ก็มี อั น ต ร า ย เมื่อยามมี พ า ยุ ฝนฟ้าคะนอง ประกอบกับการดูแลที่ไม่ต่อเนื่อง บางช่วงแทบไม่มีใครดูแล บางช่วงถูก ทำ ล า ย ก็ทำให้เราเห็นข่าวสารประจำว่า มีการ หั ก โ ค่ น ล้มทับบ้านเรือน และสิ่งของปลูกสร้างเสียหาย โ ช ค ร้ า ย ก็มีคนเ สี ย ชี วิ ต แต่สุดท้ายพลังของความหวงแหนและความเข้าใจต่อกันจึงส่งผลให้เกิดเป็นความร่วมมือของประชาชนกลุ่มต่างๆ ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ.รวมทั้ง เทศบาล อบต.ที่อยู่ตลอดแนว

 

Sponsored Ad

 

        อ.บรรจง สมบูรณ์ชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ม.แม่โจ้ เจ้าของฉายา “หมอต้นไม้” ที่พยายามสร้างความเข้าใจ ร่วมกับกลุ่มนักอนุรักษ์ธรรมชาติและเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจดูแลให้ความรู้ชาวบ้านว่าจะช่วยกันดูแลอย่างไรให้ปลอดภัยและรักษาสมดุลเหล่านี้ไว้กับธรรมชาติ เพราะบางครั้งความไม่รู้อาจเป็นการ ทำ ล า ย ได้

        อ.บรรจงเล่าว่า การทำความเข้าใจถือว่าสำคัญมากๆ ให้ชาวบ้านได้รู้ก่อนแล้วค่อยลงในเรื่ององค์ความรู้การดูแลรักษาที่ถูกต้อง เพราะแค่การตัดแต่งก็ต้องมีหลักวิธีและวิชาการเข้าช่วย มองผ่านๆ อาจดูยุ่งยาก แต่จริงๆถ้าเข้าใจในธรรมชาติก็ง่ายมาก เราจึงพยายามสร้างทีมรุกขกรให้ท้องถิ่นต่างๆ ไปด้วย ถือว่ากรณีถนนต้นยางนาแห่งนี้ได้พลังความร่วมมือดีมากๆ และเกิดความเข้มแข็งกระทั่งมีการตั้งสภายางนาขึ้นมาจากทุกส่วน ทุกหน่วย สำคัญสุดคือชุมชนต่างๆ เพราะทุกคนเข้าใจและรู้ถึงคุณค่า

 

Sponsored Ad

 

        ทีมจาก ม.แม่โจ้ได้ร่วมกับเครือข่าย เขียว สวย หอม เชียงใหม่ ภาคีภาคประชาชน และหน่วยงานเทศบาล ก่อตั้ง ‘โครงการการรักษาฟื้นฟูระบบรากและสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ยางนาถนนสายเชียงใหม่ – ลำพูน ให้อยู่คู่ชุมชนอย่างปลอดภัย สวยงาม และยั่งยืน’ ก็เข้ามาสร้างเครือข่ายในพื้นที่เพื่อร่วมกันดูแล มาตั้งแต่ปี 2556 – ปัจจุบัน

        มีการสำรวจสุขภาพต้นยางนาตลอดทั้งเส้น ตั้งแต่ ต้นทางสนามกอล์ฟฮิมคานา ตัวเมืองเชียงใหม่ริมฝั่งน้ำปิงด้านตะวันออก ถึง ต.สารภี สายเชียงใหม่-ลำพูน รวม 949 ต้น จะมีการติดสติกเกอร์เอาไว้เป็นสี แดง ส้ม เขียว ตามคุณภาพ สีแดงคือ ต้นที่ ป่ ว ย ห นั ก ฉุ ก เ ฉิ น ต้องได้รับการรักษา 359 ต้น ส่วนใหญ่คือระบบรากมีปัญหา มีคอนกรีตทับล้อมรอบโคนต้น มียางมะตอยเททับ การดูแลก็จะทำการเปิดโคนต้น 2 x 2 เมตร ขุดลึก 50 ซม. เอาโครงสร้างดินและคอนกรีตออก ปรุงดินใหม่แทนดินเดิม เพิ่มเติมธาตุอาหาร ส่วนสีส้มคือ มีปัญหารองลงมามีกว่า 400 ต้น เช่น มีคอนกรีตโบกทับ มี แ ผ ล จากรถเ ฉี่ ย ว ช น มีรอยเจาะ และ สีเขียวคือ ไม่มีปัญหาหรือสมบูรณ์ดีซึ่งมีประมาณกว่า 100 ต้น

 

Sponsored Ad

 

        ทั้งนี้ ทีมหมอต้นไม้ เข้าไปเยียวย า ร่วมกับ เทศบาล 5 แห่งตลอดแนวคือ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลตำบลหนองหอย เทศบาลตำบลหนองผึ้ง เทศบาลตำบลยางเนิ้ง เทศบาลตำบลสารภี เพื่อเข้าไปฟื้นฟูระบบราก ร่วมกับชุมชน ได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม มีระยะ 2 ปี รวม 120 ต้น ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 80 ต้น ที่เหลือจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค.2563

        ส่วนการปลูกเพิ่มเติมใหม่ก็ทำได้ไม่มากราว 50-60 ต้น สำหรับการดูแลทั้งระบบที่ทำอยู่คือ การเติมปุ๋ย เติมธาตุอาหาร ลำต้น ตัดกาฝาก ตัดแต่งกิ่งให้สมบูรณ์ การปลูกทดแทนต้นเดิม ทุกขั้นตอนเราให้ความรู้แลประชาชนมีส่วนร่วมทั้งหมดรวมทั้งเด็กๆ เยาวชนก็มาร่วมเรียนรู้เพื่อการส่งต่อด้วย ซึ่งสภายางนาเราหารือกันจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อระดมทุนในการดูแลต้นยางที่เหลือ ในวันที่ 26 ม.ค.63 เป็นการวิ่งการกุศลเพื่อระดมทุนบนถนนสายต้นยางนาแห่งนี้

 

Sponsored Ad

 

        ซึ่งทุกก้าวได้รับความร่วมมือที่ดีมากๆ ขณะนี้เป็นการจัดการช่วยบรรเทา แต่ต้องดูสาเหตุที่ทำให้ต้นยางเสื่อมโทรมด้วย ต้องทำการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนการฟื้นฟูทำได้หลายวิธี แต่ต้องคำนึงถึง เรื่องโครงสร้างของดินข้างใต้ต้นยางด้วย ดินต้องมีชีวิต ซึ่งอาจจะต้องเติมจุลินทรีย์ เ ชื้ อ ร า ไมคอเรซ่า เพื่อให้ต้นยางสามารถดึงอาหารไปใช้ได้ สองต้องดูเรื่องโครงสร้าง ต้องเผื่อระบบที่อยู่ใต้ดิน สาธารณูปโภค ระบบน้ำ ระบบระบายน้ำ ระบบการเก็บน้ำ ที่ต้นไม้จะสามารถนำมาใช้ได้ในหน้าแล้ง หรือจะเป็นน้ำสำรองสำหรับสูบขึ้นมาใช้ก็ได้

 

Sponsored Ad

 

        ที่น่าชื่นชมคือในพื้นที่มีการรวมพลังเพื่อสร้างเครือข่ายและองค์ความรู้ที่ถูกต้องจากรุ่นสู่รุ่น มีการทำศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้นำเกษตรกร พื้นที่หมู่ที่ 9 ต.สารภี อ.สารภี ด้วย ตอนนี้กลายเป็นวาระของจังหวัดไปเรียบร้อยแล้ว ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็มาร่วมดูแลทั้งต้นยางนาและเส้นทาง ภูมิทัศน์ต่างๆ ของถนนเส้นนี้

        ที่น่ายินดีคือชาวบ้านสองข้างทางได้ช่วยกันดูแลต้นยางนากันมาอย่างจริงจัง มีการใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่อาศัย อำนาจตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ในปีพ.ศ.2558 เป็นระยะเวลา 5 ปี ที่กำลังประเมินผลและมีแนวโน้มว่า จะต่ออายุไปอีก 5 ปีข้างหน้า

Sponsored Ad

        อีกทั้งถนนเส้นนี้ถูกคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นถนนสายสำคัญของประเทศไทยแล้ว เป็น “รุกขมรดกของแผ่นดิน” เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเมื่อปี 2560 เป็น 1 ใน 65 แห่ง ในโครงการ “วัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกขมรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี” ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ ในการให้คำแนะนำ แผนการพัฒนา บำรุงรักษาให้ถนนสายนี้มีการขับเคลื่อน กลุ่มอนุรักษ์ดูแลยางนา เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของคนที่อยู่กับต้นยางและสัญจรไปมา ที่ต้องคำนึงถึงสุขภาพที่ดีของต้นยาง และต้องมีรุกขกรหรือผู้เชี่ยวชาญร่วมการดูแลด้วย ถือว่าปัจจุบันการทำงานร่วมกันดีกว่าแต่ก่อนมาก เพราะชุมชนเข้มแข็งเอาจริง

        ด้านนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ถนนสายนี้เป็นความภาคภูมิใจของคนเชียงใหม่-ลำพูนก็ว่าได้ สะท้อนสิ่งดีงามได้หลายอย่างมาก ซึ่งทางจังหวัดเคยแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางปรับปรุงและแก้ไขปัญหาต้นยางนาบริเวณถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ตามคำสั่งจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 1011/2546 เมื่อวันที่ 25 เม.ย.2546 มาแล้ว

        ล่าสุดก็มอบหมายหน่วยงานเกี่ยวข้องได้พิจารณาเพื่อเตรียมทำเป็นถนนเฉลิมพระเกียรติฯ อีกเส้นทางหนึ่งของจ.เชียงใหม่ด้วย ซึ่งแผนในการจัดการถนนทั้งสายในระยะยาวจะต้องทำให้เห็นคุณค่าของต้นยางไม่ใช่แค่การชื่นชม ต้องสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ชาวบ้าน และสร้างให้คนอยากมาศึกษาเรียนรู้ ตอนนี้มีการกำหนดจุด และจะพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ยางนา ที่เป็นที่รอบรวมความรู้ ให้คนได้มาศึกษาเรื่องยางนาในอนาคต 

        แน่นอนว่าการพัฒนาเส้นทางนี้อยู่ในแผนและวาระจังหวัดด้วย ทั้งนี้มี อบจ.เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลร่วมกับส่วนต่างๆ มีกำหนดแผนงานเป็นระยะๆ ช่วงนี้กำลังดูแลฟื้นฟูยางนา ฟื้นฟูระบบราก ใช้บล็อกพรุนซึมน้ำได้ 15 ลิตรต่อนาทีมาคลุม รวมถึงออกแบบให้มีทัศนียภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม ส่วนระยะที่สอง ทำถึงถนนด้วยการยกระดับพื้นถนนขึ้นมา โดยเปลี่ยนเป็นบล็อกตัวหนอนขนาด 10 เซนติเมตร เพราะปัจจุปันเป็นแอสฟอลต์คอนกรีต รางยางจึงโป่งขึ้นมา ควรจะยกระดับถนนขึ้น ปรับเป็นทางราบเชื่อมเข้าบ้าน โดยจะเสนอทำถนนทั้งเส้น สร้างพื้นที่สีเขียว ทางจักรยาน ให้ภูมิทัศน์สวยงามมากขึ้น

        น.ส.ลักขณา ศรีหงส์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเชียงใหม่เขียว สวย หอม กล่าวว่า ทุกคนทำงานกันหนักตลอดเวลาจนทุกอย่างลงตัว ตอนนี้เราพยามจะตั้งกองทุนยางนา เพื่อชดเชยความเสียหาย ดูแลคนที่อยู่รอบต้นยาง พร้อมเสนอร่าง และที่มาของของเงินทุน คือ 1.กองทุนสมัครสมาชิก รายครอบครัวในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลตำบลหนองหอย เทศบาลตำบลหนองผึ้ง เทศบาลตำบลสารภี ครอบครัวละ 30 บาท/เดือน 2.ขอสนับสนุนจากเทศบาล 3.ขอจากรัฐบาล โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ4.การระดมทุน ซึ่งมีแผนจะจัดวิ่งมาราธอนปี 2562 จัดปั่นจักรยาน

        และโครงการด้านจัดการท่องเที่ยวเพื่อจะไปช่วยคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของสมาชิกสามัญ สอง อุ บั ติ เ ห ตุ ที่เกิดจากต้นยางนา และพื้นฟูสภาพยางนา หากแข็งแรงแล้วกองทุนนี้จะไปช่วยพัฒนาชุมชนต่อไป เรามีสภายางนาที่โตขึ้น แต่เราก็ยังใช้คณะทำงานที่มีการประชุมหารือกันต่อเนื่อง เครือข่ายจึงเข้มแข็งและโตขึ้น

        ป้านฤมล คลังวิเชียร ( ป้าแดง ) อาสาสมัครหมอต้นไม้ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ที่ใจของทุกคนที่มีความรักต่อต้นไม้และการจัดการกับการสิ่งที่เปลี่ยนแปลง โครงการดังกล่าวหาใช่แค่การมีผู้เชี่ยวชาญมาร่วมดูแลต้นไม้อย่างเดียว หากหัวใจสำคัญยังอยู่ที่การชักชวนผู้คนทุกภาคส่วน มาร่วมอนุรักษ์ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งพลังจากทางโซเชียลมีเดีย และในการลงมือปฏิบัติจริงผ่านโครงการอาสาสมัครพิทักษ์ต้นยางนา ซึ่งเป็นโครงการชักชวนคนรุ่นใหม่และบุคคลที่สนใจมาอบรมและเรียนรู้วิธีการดูแลต้นไม้ ทั้งการตรวจเช็คสุขภาพ การฟื้นฟูรากด้วยการเติมอากาศ

        รวมไปถึงการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมพื้นที่สีเขียวให้แก่เมือง เป็นต้น ตนเองก็รักต้นไม้ก็เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครโดยที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่นี้ด้วย เราคนเก่าแก่ก็ได้เรียนรู้สิ่งใหม่และความเชื่อเดิมที่เป็นกุศโลบายดีคือ ปราชญ์ชาวบ้านใช้เรื่องพิธีสืบชาตาเก๊าไม้ใหญ่ พิธีกรรม “บวชป่า” ด้วยการนำผ้าสบงจีวรสีเหลืองไปพันต้นยางนา เป็นสัญลักษณ์ของการขอบิณฑบาตชีวิต ปลูกฝังความเชื่อเรื่อง “ขึด” คือผู้ ทำ ล า ย ต้นไม้ใหญ่เท่ากับ ทำ ล า ย เทวดาอารักษ์ของคนหมู่มาก

        สำหรับถนนต้นยางนาถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน (ทางหลวงหมายเลข 106) เริ่มปลูกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2425 โดยมหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาสุรสีห์ วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ไปจนจรดเขตจ.ลำพูน ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ราชการได้นำต้นยางนามาให้ราษฎรช่วยกันปลูกเพิ่มเพื่อความร่มรื่น สวยงามตลอดสองข้างทางในเขตจ.เชียงใหม่ และปลูกต้นขี้เหล็กในเขตจ.ลำพูน จนกลายเป็นเอกลักษณ์งดงามของถนนสายนี้จวบจนถึงปัจจุบัน

        นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความพยายามของคนเชียงใหม่หลายๆ รุ่น หลายกลุ่มก้อนที่ร่วมกันอนุรักษ์ทิวต้นไม้ใหญ่ต้นยางนาริมถนนสายสำคัญ ให้คงอยู่ต่อไปอย่างสวยงามและเปี่ยมคุณค่าทั้งต่อทัศนียภาพของเมือง และต่อหัวใจของผู้คนที่มาพบเห็นกับเส้นทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ที่มีแห่งเดียวในประเทศ

.

ที่มา : posttoday

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ