ครั้งแรกของโลก! Adidas เผยโฉม "รองเท้าวิ่ง" ที่ทำจากขยะรีไซเคิล 100%

LIEKR:

Adidas ลุยเปลี่ยนขยะทะเลเป็นรองเท้า-ชุดกีฬา รับยอดขายสินค้ารักษ์โลกพุ่งแรงทะลุล้าน

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ 

    สื่อต่างชาติเปิดเผยว่า Eric Liedtke ผู้บริหาร Adidas กล่าวว่าหลังจากที่เราทุกคนทิ้งรองเท้าไปแล้วรองเท้าคู่นั้นก็จะไปอยู่ในพื้นที่ฝังกลบขยะหรืออยู่ในเตาะเผาเพื่อทำลายแต่การกำจัดขยะด้วยวิธีการดังกล่าวสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร 

    เพราะฉะนั้นความฝันที่เป็นเป้าหมายการทำงานของ Adidas คือต้องการกำจัดปัญหาขยะจากการบริโภคหรือใช้สินค้าด้วยการที่คิดค้นนวัตกรรมการผลิตสินค้าที่ทำให้ผู้บริโภคสวมใส่รองเท้าที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลโดยที่ประสิทธิภาพของรองเท้าต้องดีขึ้นตามไปด้วย

 

Sponsored Ad

 

    ตั้งแต่ปี 2015 แบรนด์รองเท้าชุดกีฬาชื่อดังอย่าง Adidas ประกาศความร่วมมือกับ Parley for the Oceans องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ทำโครงการเปลี่ยนขยะพลาสติกในทะเลให้กลายเป็นสปอร์ตแวร์รักษ์โลก โดยขยะที่เป็นขวดพลาสติกจะถูกนำมารีไซเคิลเพื่อใช้ทดแทนโพลีเอสเตอร์ 

 

 

Sponsored Ad

 

    และในปี 2019 Adidas ย้ำว่าจะผลิตรองเท้าจากขยะทะเลให้ได้ 11 ล้านคู่ ซึ่งจะตอบโจทย์ตลาดคนรักษ์โลกที่แห่ซื้อรองเท้าขยะทะเลเกิน 1 ล้านคู่ในปี 2018 ที่ผ่านมา ตัวเลขนี้คาดว่าจะเติบโตต่อไป เช่นเดียวกับขยะพลาสติกในทะเลบางส่วนที่จะลดลงได้อีก เพราะ Adidas ใช้ขวดพลาสติกมากกว่า 11 ใบต่อการสร้างรองเท้า 1 คู่

 

    Adidas ก้าวไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัวรองเท้ารุ่นใหม่ FutureCraft.Loop ซึ่งมีจุดเด่นที่การเป็นรองเท้าวิ่งที่มี “closed loop” หรือวงจรการผลิตแบบปิดที่จะไม่มีการเพิ่มวัสดุใหม่เข้ามาในวงจร และรองเท้าในตระกูลนี้จะสามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้แบบ 100%

 

Sponsored Ad

 

    สถิติล่าสุดที่ Adidas เปิดเผย คือขณะนี้สินค้าแบรนด์ Adidas มากกว่า 40% ผลิตจากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล คาดว่า Adidas จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่ช่วยลดขยะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าใน 30 ปี โลกจะมีพลาสติกในมหาสมุทรมากกว่าปลา 

 

 

Sponsored Ad

 

    บริษัทสามารถป้องกันขยะพลาสติกมากกว่า 2,810 ตันไม่ให้หลุดรอดสู่มหาสมุทร ทั้งหมดเป็นขยะจากชายหาดและชายฝั่ง เช่น มัลดีฟส์ ซึ่งขยะจะถูกจัดเก็บและคัดเลือกพลาสติกเพื่อส่งไปยังโรงงานแปรรูปของ Adidas โดยชิ้นส่วนที่เหลือซึ่งไม่สามารถใช้งานได้ จะถูกส่งไปยังโรงงานรีไซเคิลปกติ

.

 

Sponsored Ad

 

ชมคลิป 1

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

 

ชมคลิป 2

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

 

ที่มา:teepr,positioningmag

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ