"สาวจบป.โท" ทิ้ ง ชีวิตเมืองกรุง มุ่งทำเกษตรแบบพอเพียง พัฒนาชุมชน ตามรอยพ่อหลวง!

LIEKR:

สุขไหนไม่เท่าสุขใจเรากับบ้านเกิดค่ะ!

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

        "ชลิตา ไทยแก่น" หรือ "คุณกระถิน" วัย 39 ปี สาวสวยดีกรีปริญญาโท ผู้ที่เรียกได้ว่าเป็นถึงไอดอลบ้านนา เธอจบปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และปริญญาโท วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม สาขา รปศ. บริหารปกครองท้องถิ่น M.P.A. (การบริหารการจัดการภาครัฐ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) 

        คุณกระถินนั้นรักบ้านเกิดและสนใจการทำเกษตรผสมผสานโดยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน “ทำความดีถวายพ่อ สานงานต่อตามศาสตร์พระราชา” โดยหลักการที่ว่า “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง”

 

Sponsored Ad

 

        กระถิน เล่าถึงที่มาที่ไปของการทำเกษตรผสมผสาน ว่า ตัวเองเริ่มสนใจการทำเกษตรตอนช่วงเรียนปริญญาตรี ได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงาน และเข้าอบรม ณ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง (บางคล้า) โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พร้อมกับได้ลงมือปฏิบัติ จึงมีความรู้สึกว่าตนเองชอบ หลังจากนั้นก็นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และคิดว่าเราน่าจะทำสิ่งดีๆ แบบนี้ในชุมชน ต.สิบเอ็ดศอกบ้าง

 

Sponsored Ad

 

        ดังนั้นจึงคุยกับคนในครอบครัว ตั้งปณิธานทำงานถวายพ่อ สละพื้นที่ 13 ไร่ พื้นที่ทำกิน ทดแทนคุณแผ่นดิน “ทำความดีถวายพ่อ สานงานต่อตามศาสตร์พระราชา” ช่วยเผยแพร่องค์ความรู้ เน้นความอยู่รอด ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ ให้คนรุ่นใหม่ที่อยู่ในชุมชน และนอกชุมชน ได้มาเรียนรู้ ทำให้คนรุ่นใหม่เห็นว่าคนทำเกษตรก็มีความสุขได้ “อาชีพเกษตรกร เป็นอาชีพที่อิสระ” ทำแล้วมีความสุข “ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี” จึงตัดสินใจปรับพื้นที่มาทำเกษตรผสมผสาน

 

Sponsored Ad

 

.

        หนึ่งในเกษตรกรต้นแบบของ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า เริ่มจากอาจารย์สมชาย ขอนดอน อาจารย์ที่ปรึกษา เข้ามาวางแผนการปรับพื้นที่ เดิมเป็นพื้นที่บ่อปลา 2 บ่อ ล้อมรอบด้วยต้นกล้วย ปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ 9 ฐาน ปัจจุบันมี 7 ฐานการเรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับเยาวชน และคนทั่วไปได้มาศึกษาเรียนรู้ โดยเริ่มต้นทำเมื่อปี พ.ศ. 2557 เริ่มต้นด้วยการปลูกหญ้าแฝกเพื่อไม่ให้ดินพังทลาย ตามโครงการของพ่อหลวงทั้ง 7 ฐานการเรียนรู้ให้กับบุคคลที่สนใจเรียนรู้มีดังนี้

        1. ฐานฅนรักษ์แม่ธรณี ซึ่งเป็นฐานเกี่ยวกับดิน ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์น้ำหมัก สมุนไพรไล่แมลง

 

Sponsored Ad

 

        2. ฐานฅนรักษ์ป่า เป็นฐานเกี่ยวกับการปลูกป่าผสมผสาน เรื่องป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งฐานนี้ทำงานร่วมกับธนาคารต้นไม้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ชาวบ้าน ที่มาให้ความร่วมมือ

        3. ฐานการทำนาข้าวอินทรีย์ 1 ไร่ ฐานนี้จะทำนาหมุนเวียน สำหรับพันธุ์ข้าวที่ใช้ทำคือข้าวไรซ์เบอร์รี และข้าวหอมปทุมธานี ผลผลิตที่ได้จะนำไปรับประทานภายในครัวเรือน เหลือก็ทำเป็นข้าวกล้องจำหน่าย แปลงนา 1 ไร่ แบ่ง 4 แปลง รอบๆ แปลงนา จะปลูกทุกอย่างที่กิน ในน้ำปล่อยปลา

 

Sponsored Ad

 

        4. ฐานการกำจัดขยะอินทรีย์ ด้วยการเลี้ยงไส้เดือน ทางศูนย์การเรียนรู้ได้มีการเลี้ยงวัว ควาย ม้า เพื่อนำมูลสัตว์ มาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ก่อนจะมีการเลี้ยงสัตว์ ทางศูนย์เรียนรู้ได้ซื้อมูลสัตว์จากคนในชุมชน ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง ทางภาคีเครือข่าย ญาติธรรม ได้มาศึกษาดูงานเห็นว่าต้องซื้อมูลสัตว์ จึงได้ไถ่ชีวิตควายจากโรง ฆ่ า สั ตว์ มาให้เลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการนำมูลสัตว์มาทำปุ๋ยอินทรีย์

 

Sponsored Ad

 

        นอกจากนี้ยังเป็นสัตว์ที่เลี้ยงอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ดู ด้วยการขยายผลผลิตจากมูลสัตว์ โดยนำมูลสัตว์มาแช่น้ำ และทำเป็นอาหารไส้เดือน ก็จะได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน ที่ยังเอาไปต่อยอดได้ด้วยการนำปุ๋ยมูลไส้เดือนมาทำน้ำหมักจุลินทรีย์ ไว้ฉีดพืชผักทางใบ เก็บฉี่ไส้เดือน เพื่อนำมาฉีดเร่งดอกผล ขณะเดียวกัน ยังต่อยอดด้วยการนำปุ๋ยมูลไส้เดือน มาผสมเป็นดินเพาะปลูกด้วย เพื่อใช้แทนพีสมอส จากที่เคยซื้อใช้ก็จะได้ประหยัดรายจ่ายลงอีก การเลี้ยงไส้เดือนสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร โดยเกษตรกรที่เข้ามาดูงาน สามารถนำไปปรับใช้เองได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ประหยัด ลดต้นทุน แถมยังปลอดภัยต่อพืช ดิน และสิ่งแวดล้อม

Sponsored Ad

        5. ฐานคนมีน้ำยา ฐานนี้จะเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือน ทำน้ำยาอเนกประสงค์ สบู่สมุนไพร ฯลฯ คุณกระถินเล่าว่า บ้านกระถินได้ยกระดับขึ้นเป็นศูนย์ความยั่งยืนร่วมกับธนาคารเกษตรและสหกรณ์ และศูนย์ปราชญ์ของการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโพธิ์

        6. ฐานการแปรรูปเพื่อสร้างอาชีพ บ้านกระถินทำผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ เช่น ไข่เค็มใบเตย แหนมเห็ด ซึ่งเป็นเห็ดภูฏาน นางฟ้าเกาหลี ซึ่งเห็ด 2 อย่างนี้จะมีความโดดเด่นตรงที่มีความเหนียวหนึบ ทำเป็นแพ็ก แพ็กละ 50 บาท ข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี ข้าวกล้องหอมปทุม ไข่เค็มสมุนไพรใบเตย ซึ่งเป็ดเลี้ยงเองตามธรรมชาติ ไข่แดง ไม่เหม็นคาว นำไข่เป็ดที่มีอยู่มาแปรรูปเพิ่มมูลค่า นำมาประกอบอาหาร น้ำพริกเห็ด ผักสดไร้สารบ้านกระถิน

        7. ฐานการเพาะเห็ด เกษตรยุค 4.0 ได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานได้ด้วย เช่น ที่นี่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในเรื่องการทำฟาร์มเมล่อน ด้วยการใช้เครื่องวัดความชื้นมาวัดความชื้น ซึ่งจะดูแลผ่านโทรศัพท์มือถือ ไฟฟ้าที่ใช้ก็จะได้จากโซลาร์เซลล์ โรงเรือนที่แปรรูป ก็จะใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ อนาคตจะใช้โซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟมาปั๊มน้ำเพื่อรดผักเช่นกัน

        กระถิน ชลิตา กล่าวอีกว่า การทำเกษตร ด้วยการนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ คนที่ทำต้องมีใจรัก ใช้ความเพียรพยายาม มานะ อดทน และใฝ่ศึกษา ไม่ใจร้อน เพื่อจะได้เดินไปอย่างมั่นคง และยั่งยืน ตามแนวคิดที่ว่า “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง” มาเตือนใจ ไม่ทำอะไรแบบก้าวกระโดด อย่ามองงานเป็นภาพธุรกิจให้มองว่าเป็นการทำงานให้ครอบครัว เช่น จะทำนาข้าว ให้คิดว่าจะทำอย่างไรให้คนในบ้านได้กินข้าวปลอดสาร อาหารปลอดภัย “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” ดีต่อสุขภาพ ห่างไกลโรคร้าย ลดรายจ่ายในครัวเรือน 

        "เทคนิคการสร้างแรงจูงใจ ให้คนเข้ามาเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านกระถิน โดยใช้ความสัมพันธ์อันดี และมีความเป็นกันเอง ให้กับทุกคนที่มาดูงาน หากมีคนมาศึกษาดูงานในช่วงผลผลิตออกมากๆ ทางศูนย์จะให้นักท่องเที่ยวหรือคนที่มาศึกษาดูงานได้ถือตะกร้าคนละใบ เพื่อเก็บผลผลิตที่มีอยู่ในสวนด้วยตนเอง หากท่านใดต้องการจะเก็บผลผลิตอะไรกลับบ้านท่านสามารถเก็บพืช ผัก เหล่านั้นด้วยตนเอง เป็นการให้นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสของจริง ราคาผลผลิตก็ย่อมเยา และใช้วัสดุธรรมชาติห่อผักจากใบตอง มัดด้วยเชือกกล้วย นอกจากปลูกไว้ทานเอง ยังแบ่งปันเพื่อนบ้าน และแปรรูป เหลือจึงค่อยจำหน่าย โดย กระถินบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะว่า “ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี” จะมีความสุขจากการให้ เพราะให้ด้วยใจ, จะมีมิตรภาพ, จะมีเครือข่าย เพิ่มมากขึ้นศูนย์ทั้งหมด" เกษตรกรต้นแบบที่ฉะเชิงเทรา กล่าว

        กระถิน กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ผลผลิตทั้งหมดการันตีความปลอดภัย ด้วย "ผักเบอร์ 8" ไร้สารบ้านกระถิน ได้รับรางวัลการันตีด้วยการปลูกผักปลอดภัยสูง ของโครงการผักเบอร์ 8 ของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 60 ผักเบอร์ 8 คืออะไร หากท่านที่ไม่เคยไปเยี่ยมเยือนเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา จะไม่รู้ว่า ผักเบอร์ 8 คืออะไร คำว่า "ผักเบอร์ 8" คือ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีความปลอดภัยสูง ไร้ ส า ร เ ค มี ไร้ปุ๋ย เ ค มี ไร้ ย า ฆ่ า แมลง ปลอดปนเปื้อน น้ำปลอดภัย ดินปลอดภัย กระบวนการผลิตปลอดภัย และตรวจรับรองมาตรฐานปลอดภัยนั่นเอง


ชมคลิปเพิ่มเติม 

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ข้อมูลและภาพจาก thairath