สื่อนอกชี้ "ลูกกลัว คนแปลกหน้า" ไม่ยอมทักทาย นี่ไม่ใช่เรื่องมารยาท พ่อแม่อย่าบังคับ

LIEKR:

แล้วควรชักจูงลูกอย่างไรดีล่ะ?

    กิจกรรมของเด็กๆ นั้นคงหนีไม่พ้นการพาเด็กๆออกไปเที่ยวนอกบ้าน และอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพบเจอก็คือการ พบปะกับผู้คนในชุมชนก็จะมีการทักทายกันเป็นธรรมดา แต่ทว่าหากเด็กไม่พูดสวัสดีหรือไม่ทักทายผู้ใหญ่จนพ่อแม่ต้องเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า หรือเด็กๆมีอาการเขินอายหรือกลัวคนแปลกหน้า คุณจะทำอย่างไร?

    สื่อต่างประเทศเปิดเผยว่า ความสามารถทางปัญญาที่กำลังมีการพัฒนานั้น ที่จริงแล้วมันเป็นปฏิกิริยาปกติสำหรับเด็กที่กลัวคนแปลกหน้า สำหรับก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาความสามารถทางปัญญาของเด็ก

 

Sponsored Ad

 

    โดยทั่วไปเมื่อทารกอายุ 2 ถึง 3 เดือน เมื่อเห็นผู้คนก็จะหัวเราะ ใครจะอุ้มทารกก็ไม่ปฏิเสธ แต่ทว่าเมื่อเติบโตขึ้นอีกนิด ประมาณอายุ 4 ถึง 5 เดือน ทารกจะเริ่มจดจำโลกนี้และจ้องมองสังเกตคนแปลกหน้านานขึ้น และเมื่อทารกเติบโตขึ้นและสมองได้รับการพัฒนาความจำและความสามารถในการคิด เด็ก ๆ สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างคนที่รู้จักกับคนที่ไม่รู้จัก

 

Sponsored Ad

 

    ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป นอกจากสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดกันแล้ว หากมีคนอื่นที่เขาไม่คุ้นหน้า ไม่รู้จักเข้าใกล้นิดเดียว ทารกก็จะหนีหน้า ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่ให้อุ้ม หรือบางคนก็ร้องไห้ออกมาทันที  เนื่องจากเด็กในวัยนี้เริ่มจดจำใบหน้าได้แล้ว และจะกลัวและต่อต้าน “คนแปลกหน้า” ในทางจิตวิทยาการแสดงอาการแบบนี้เรียกว่า "กลัวคนแปลกหน้า" เด็กเกือบทุกคนจะต้องผ่านขั้นตอน “การรู้จักจดจำใบหน้า” ในระยะเวลาหนึ่ง

    การอบรมในครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู การทักทาย ความสุภาพ การหวาดกลัวคนแปลกหน้า 

 

Sponsored Ad

 

    อาการกลัวคนแปลกหน้านั้น ส่วนใหญ่มากจาก “พันธุกรรม”

    อาจมีผู้ปกครองบางคนมักพูดว่า: ลูกของฉันยังดีนะ ไม่กลัวคนแปลกหน้าเลย นี่มันเกิดอะไรขึ้น? นั่นเป็นเพราะระดับและปฏิกิริยาของ "การกลัวคนแปลกหน้า" ของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เด็กบางคนร้องไห้ทันที แต่เด็กบางคนจะรอดูสักพักแล้วค่อยร้องไห้ ส่วนบางประเภทคือไม่กลัวคนแปลกหน้าเลย 

    ในการเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้าเด็กบางคนจะเต็มไปด้วยความจริงจังและความกังวลใจบางคนจะไม่หยุดร้องไห้และบางคนก็อยากลองและจ้องมองคนแปลกหน้าด้วยตาที่โตและแปลกตา ปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า

 

Sponsored Ad

 

    มีเหตุผลสำคัญว่าทำไมการเด็กๆถึงแสดงอาการที่แตกต่างกัน สิ่งนั้นคือ “อารมณ์” ของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน  อารมณ์ที่เรากำลังพูดถึงที่นี่เป็นศัพท์จิตวิทยาด้วยในแง่ของคนธรรมดามันเป็นบุคลิกภาพตามธรรมชาติของทารก

    นักจิตวิทยานชาวอเมริกัที่รู้จักกันดี Philip Zimbardo สิ่งที่ทำให้ชัดเจนว่าทารก "กลัวคนแปลกหน้า" สาเหตุโดยทั่วไปเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 

 

Sponsored Ad

 

    มีการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กอายุ 1 ขวบครึ่งที่ "กลัวคนแปลกหน้า" เมื่ออายุ 4 ขวบก็ยังคงมีอาการนี้อยู่ แต่หลังจากอายุ 6 ปีขึ้นไปแล้ว ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวอีกนัยหนึ่งเด็กหลังจากนี้ไปแล้ว ยังกลัวคนแปลกหน้าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการชี้นำของพ่อแม่และการศึกษามากกว่า

    หากเด็กกลัวคนแปลกหน้า พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี?

 

Sponsored Ad

 

    1.สิ่งสำคัญก็คือ อย่าใช้คำว่า “ไม่มีมารยาท” มาตัดสินพฤติกรรมนี้ เพราะหลายครั้ง การที่เด็กไม่ทักทาย และฝ่ายตรงข้ามก็ไม่ได้ว่าอะไร คนที่เป็นพ่อแม่อย่างเรากลับตีโพยตีพาย โวยวายไปเอง อ้าปากก็ต่อว่าเด็ก “ทำไมไม่มีมารยาท” .... “ใจไม่กล้าเลย ใจเล็กเท่าใจปลาซิว” ...“ทำแบบนี้ไม่มีใครรัก ไม่มีคนชอบนะ” ทราบหรือไม่ว่าคำพูดเหล่านี้ต่างหากที่ทำให้เด็กรู้สึกกดดันมาก หากพ่อแม่ตั้งความคาดหวังให้กับเด็กมากไป จนทำให้เด็กไม่กล้าทักทายผู้อื่น และวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้าก็ยิ่งไม่กล้าทักทายมากขึ้น

Sponsored Ad

    2. ต้องมีความอดทนหน่อย อย่าใช้การบีบบังคับให้พูดทักทาย สำหรับเด็กหลายคนที่ไม่เต็มใจจะกล่าวคำทักทาย บ่อยครั้งที่สาเหตุเพราะพวกเขาต้องสื่อสารกับคนแปลกหน้าอย่างกระทันหัน จึงทำให้เกิดความเขินและรู้สึกอาย

    ในเวลานี้เองเราต้องให้เด็กทักทายในแบบหรือวิธีที่เขาต้องการ เพื่อไม่เพิ่มการกดดันให้กับเด็ก เด็กจะได้ทักทายแบบสบายใจที่สุด เช่น แค่จับมือ การไหว้ หรือ บางคนแค่ยิ้มให้ ให้เด็กเป็นคนตัดสินใจเอง ผู้ปกครองอาจทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดูก็ได้ เพื่อให้เด็กเริ่มสนใจและเปิดอกยอมรับอย่างยินดี

    3. หากสุดท้ายแล้วเด็กก็ไม่ยอมทักทาย ผู้ปกครองก็อาจทักทายก่อน และตอนจะกลับก็ค่อยให้เด็กบอกลาก็ได้ นี่ก็เป็นอีกวิธีที่ดีอย่างหนึ่ง 

จำไว้ว่าหากเด็กไม่ได้ไปทำกิริยาที่ไม่เหมาะสมเช่น ถ่มน้ำลายใส่คนอื่น เตะ ต่อยคนอื่น ผู้ปกครองก็เริ่มการสนทนาเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจในตัวเด็กออกไป 

    ท้ายที่สุดแอดอยากฝากไว้ว่า: ผู้ใหญ่อย่างเราบางทีก็ยังเกิดความระแวงหวาดกลัวคนแปลกหน้าเลย แล้วนับประสาอะไรกับเด็กน้อยที่กลัวคนแปลกหน้าเช่นกัน 

ที่มา:line

แปลและเรียบเรียงโดย LIKER

บทความที่คุณอาจสนใจ