เกษตรคิดนอกกรอบ! ทำเงินเข้ากระเป๋าได้ทุกวัน ด้วย "สะระแหน่" ปลูกง่าย ใช้พื้นที่น้อย ขายได้ทั้งปี!

LIEKR:

ทำเงินเข้ากระเป๋าง่ายๆ ได้ทุกวัน ด้วย "สะระแหน่"!

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปที่เกี่ยวข้องได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ 

        "ใช้ชีวิตในแบบง่ายๆ ใจจะได้เกิดสุข เพราะการสร้างเงื่อนไขในชีวิตมากมาย รังแต่จะทำให้เกิดทุกข์..."

        "สะระแหน่" เป็นพืชผักพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมรับประทานกันมาก มักนำมาประกอบอาหารเป็นเครื่องเคียง หรือ ใช้ตกแต่งหน้าตาอาหารให้สวยงามน่าท่านยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารจาน ลาบ น้ำตก ยำ ฯลฯ ด้วยมีกลิ่นหอม เย็นซ่าส์ ชื่นใจเป็นเอกลักษณ์ เมื่อนำมาประกอบเมนูดังกล่าว จึงช่วยดับคาวและเพิ่มความน่าทานให้อาหารจานอีสานได้หลายเมนู

 

Sponsored Ad

 

        สะระแหน่จึงกลายเป็นพืชที่ถูกปากคนไทยถิ่นอีสานไปโดยปริยาย การปลูกสะระแหน่ขายในพื้นที่เขตอีสาน จึงเป็นสิ่งที่ต้องโฉลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะตลาดมีความต้องการใช้ต่อเนื่อง ผู้ปลูกสะระcsน่ขายจึงมีเงินกินใช้ได้แบบรายวัน

        แม้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค แต่เกษตรกรกลับไม่ได้สนใจที่จะปลูกสะระแหน่กันมากนัก ส่วนใหญ่มักไปปลูกผักอย่างกะเพรา แมลงลัก ผักคะน้า ฯลฯ กันมากกว่า ทำให้สะระแหน่กลายเป็นผักกินใบที่ยังขาดตลาด ในบางฤดูกาลก็หาสะระแหน่ตามท้องตลาดทานไม่ได้เลย ยิ่งถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งที่มีอากาศร้อนจัด ยิ่งหาได้ยาก ส่งผลให้สะระแหน่ช่วงนั้นมีราคาแพงมาก

 

Sponsored Ad

 

        ด้วยเหตุนี้ทำให้เกษตรกรผู้สนใจปลูกพืชเสริมช่วงพักนาที่ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เลือกที่จะปลูกสะระแหน่ เพื่อสร้างรายได้ช่วงงดทำนาปัง แต่กลับพบว่ารายได้จากการปลูกสะระแหน่นั้นสร้างรายได้ดีกว่าการทำนาปัง และสร้างรายได้ให้แบบรายวัน ทำให้มีกินมีใช้ได้ทุกวันจนเกษตรกรหลายรายงดทำนาปังถาวรแล้วหันมาปลูกสะระแหน่หลังนาแทน
        เช่นเดียวกับคุณปทุม สนศิริ (ป้าปทุม) อายุ 52 ปี บ้านเลขที่ 67 หมู่ 12 ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65230 (โทร.08-7196-4336) ได้เล่าให้ฟังว่า ตนและครอบครัวยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก เดิมทำนา 30 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ กข 49 กข 41 และ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งก็ได้ราคาดีตกเกวียนละ 8,000-10,000 บาท แต่การทำนากลับประสบปัญหาภัยแล้ง ข้าวนาปังทำไม่ได้ ทำได้เฉพาะช่วงนาปี ประกอบกับปัญหาราคาข้าวในช่วงนาปังตกต่ำ จึงคิดหารายได้เพิ่มเติมในช่วงที่ไม่ได้ทำนา โดยใช้อาชีพปลูกผักสะระแหน่มาเป็นอาชีพเสริม

 

Sponsored Ad

 

        "ตอนนั้นมีเพื่อนบ้านนำเอาสะระแหน่มาปลูก เห็นว่าเขามีรายได้ดี วันหนึ่งเก็บสะระแหน่ได้วันละ 80-100 กำ ส่งขายในราคากำละ 5 บาท วันหนึ่งมีรายได้มากกว่า 300 บาท ถือว่าเป็นรายได้ที่ดีและได้เร็ว เลยอยากลองบ้าง"
        จึงไปขอพันธุ์จากเพื่อนบ้านมาหนึ่งตะกร้าในครั้งแรก นำมาปลูกและขยายพันธุ์เอง โดยพันธุ์หนึ่งตะกร้าตอนนั้นใช้ปลูกในพื้นที่ได้ประมาณ 1 งาน

        จากนั้นก็ค่อยๆ ขยายทำมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน รวมแล้วเท่ากับปลูกสะระแหน่มานานกว่า 6 ปี จนตอนนี้มีพื้นที่ปลูกสะระแหน่ทั้งหมด 1 ไร่ โดยบริหารจัดการให้ภายใน 1 ไร่ สามารถวนเก็บได้ทุกวัน สลับฝั่งไปมา เพื่อจะให้มีรายได้เกิดขึ้นทุกๆ วัน
        การขยายพันธุ์สะระแหน่ : ของคุณปทุม จะเริ่มจากการเก็บพันธุ์จากแปลงที่ปลูกอยู่เดิมมาปักชำในแปลงเพาะเสียก่อน ซึ่งต้องเลือกกิ่งสาระแหน่ที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป เด็ดมาจิ้มไว้ในแปลงเพาะชำ โดยปักให้กิ่งเอนทาบลงกับดิน วิธีนี้ทำให้ต้นไม่ได้รับการกระทบกระเทือนมาก รากไม่หลุดจากดินง่าย อาจใช้แกลบโรยทับบาง ๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้นของหน้าดิน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้ถึงกับแฉะ ใช้เวลาประมาณ 4 - 5 วัน ก็จะแตกรากและใบใหม่ แล้วจึงย้ายไปลงแปลงปลูก รดน้ำดูแลตามขั้นตอน จนแตกยอดเก็บขายได้ 

 

Sponsored Ad

 

        การเตรียมดิน : ขั้นตอนแรกต้องไถดะ ตากดินให้แห้งประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดงช่วยฆ่าเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในดินให้หมดเสียก่อน จากนั้นนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาใส่ พร้อมกับโรยปูนขาวทับบาง ๆ ด้วย ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน จึงไถพรวนและปรับหน้าดินให้เรียบ ซึ่งในขั้นตอนการปรับพื้นที่ปลูกสาระแหน่นี้ จะใช้ต้นทุนไม่สูงมากนัก เพราะเป็นการปรับหน้าดินแบบง่าย ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกเท่านั้น ไร่หนึ่งจึงมีต้นทุนในการเตรียมการแค่ประมาณ 500 บาท แต่ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวจัด ควรหาทรายมาผสมด้วยเล็กน้อย เพื่อทำให้ดินร่วยซุยขึ้น จะได้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของสาระแหน่ 
        ลักษณะนิสัยของสะระแหน่ : สาระแหน่เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีกับสภาพดินที่มีความร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ต้องการแสงสว่าง และชอบอากาศที่เย็น ดังนั้น แสงแดดที่ร้อนเกินไปจึงไม่เป็นผลดีต่อการปลูกมากนัก การปลูกในที่ร้อนจัดจึงโตไม่ดี การปลูกจำต้องอาศัยที่รำไร หรือกลางแสลนช่วยพรางแสงและฝนให้ด้วย เพราะหากโดนฝนมากไปก็จะทำให้เกิดโรคเชื้อราและใบเน่าได้

 

Sponsored Ad

 

        การปลูก : หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้วให้ขุดหลุมปลูก แบบไม่ต้องกว้างมาก ใช้ยอดสะระแหน่ที่ปักชำจนมีรากเดินแล้วประมาณ 5 - 6 ยอดต่อหลุม วางระยะปลูกให้มีความห่างระหว่างหลุม 1 คืบ โดยวางต้นพันธุ์ทาบลงบนพื้นดิน เมื่อต้นที่ปลูกแตกยอดใหม่ ก็จะเลื้อยคลุมหน้าดินเต็มพื้นที่ในพื้นที่ 1 ไร่ ของคุณปทุม จะไม่ปลูกพร้อมกันทั้งหมด หากแต่จะปลูกครึ่งไร่ก่อน แล้วเว้นระยะห่างประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ ถึงจะค่อยปลูกพื้นที่ที่เหลือ ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เว้นระยะการให้ผลผลิต จะได้สามารถวนเก็บผลผลิตจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน

 

Sponsored Ad

 

        ใช้เวลาประมาณ 40 วัน ก็จะสามารถตัดยอดขายทำเงินได้แล้ว โดยสะระแหน่ 1 รุ่นจะให้ผลผลิตได้นาน 1 ปี จากนั้น จะทำการไถดินกลบ แล้วปลูกพืชอย่างอื่นแทนเพื่อปรับสภาพดิน ส่วนสะระแหน่ก็จะย้ายไปปลูกในแปลงอื่นที่เตรียมดินไว้แทน เพื่อลดปัญหาเรื่องดินปลูกในรอบถัดไป

        การดูแล : ไม่ยุ่งยากเลย แค่หมั่นรดน้ำเช้า-เย็นหลังปลูกด้วยระบบสปริงเกอร์ ก็ทำให้จัดการเรื่องน้ำกลายเป็นเรื่องง่ายและสะดวก โดยเปิดสริงเกอร์ให้น้ำครั้งละ 10-15 นาทีในช่วงปลูกใหม่ แต่เมื่อสาระแหน่เริ่มติดยอดประมาณ 1 สัปดาห์ ให้ลดการให้น้ำเหลือวันละครั้งในช่วงเย็นเท่านั้น 

Sponsored Ad

        นอกจากรดน้ำแล้วการดูแลสะระแหน่จะมีการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ภายในแปลงด้วย อาจทำได้โดยการตัดหรือถอน แต่ควรทำอย่างระมัดระวังเพราะสาระแหน่เป็นพืชที่มีระบบรากตื้นและแผ่กระจายตามหน้าดิน หากทำรุนแรงอาจทำให้รากได้รับความเสียหาย มีผลต่อการเจริญเติบโตและอาจทำให้ต้นตายได้ 

        โรค-แมลง : สาระแหน่เป็นพืชที่ไม่มีแมลงศัตรูทำลายมากนัก แต่มีโรคที่สำคัญก็คือ โรคเชื้อราหรือใบเน่า ซึ่งมีสาเหตุมาจากความชื้นเป็นหลัก ดังนั้นไม่ควรให้น้ำมากเกินไปจนน้ำขังในแปลง ในฤดูฝนควรทำร่องระบายน้ำช่วย ซึ่งเรื่องความชื้นในหน้าฝนนั้นทำได้ค่อนข้างยาก จึงควรทำการป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม นับจากการเตรียมดินปลูก ควรทำแปลงให้มีการระบายน้ำดี มีแสลนพรางแสงและป้องกันฝน รวมถึงต้องมีการฉีดยาป้องกันเชื้อราร่วมด้วย โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดหากไม่มีการนำสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรามาใช้ จะทำให้เชื้อราแพร่กระจายทั่วทั้งสวนได้อย่างรวดเร็ว 
        การให้ปุ๋ย : คุณปทุมจะใช้สูตร 15-15-15 กับ 46-0-0 อัตราส่วน 1 ต่อ 1 คลุกเคล้าให้เข้ากันหว่านทุก 15 วัน หว่านแบบบาง ๆ ไร่หนึ่งประมาณ 1-2 กิโลกรัมก็เพียงพอ ไม่ควรใส่มากเกินไป เพราะทำให้ต้นเหี่ยวและตายได้

        ต้นทุนการผลิต

        รวมแล้วต้นทุนการปลูกและการจัดการดูแล จะตกอยู่ที่ไร่ละประมาณ 10,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบน้ำที่นำมาใช้ด้วย ซึ่งสวนคุณปทุมใช้ระบบสปริงเกอร์ ทำให้มีราคาค่อนข้างสูง แต่ทำงานได้สะดวกและมีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน แต่สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีเงินทุน สามารถใช้สายยางฉีดแทนได้ ก็จะทำให้มีต้นทุนต่ำลงไปอีก

        “มีหลายๆ คนคิดว่าอาชีพนี้มันง่าย รดน้ำเช้า-เย็นก็เสร็จ จึงเลือกทำ แต่ก็ไปไม่รอด ดังนั้น การจะทำเกษตรเราต้องเข้าใจว่า ดิน น้ำ ผัก คือสิ่งมีชีวิต เราต้องดูแลให้ดี เพื่อที่จะได้ผลผลิตที่ดีตามมา อย่างที่บอกตลาดคืออีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ต้องดูก่อนว่าปลูกแล้วไปขายที่ไหน ขายได้เท่าไหร่ คุ้มกับการลงทุนไหม อย่างที่สวนปลูกสะระแหน่ 1 ไร่ ลงทุนกางสแลน บวกค่าเสา ค่าสปิงเกอร์ ก็อยู่ราว ๆ 20,000 บาท แต่ใช้ได้ในระยะยาว เรารอ 40 วัน ก็ขายผักรุ่นแรกได้แล้ว รายรับจึงมีเรื่อย ๆ ไม่นานก็ได้ทุนคืน ทำครั้งหนึ่งก็อยู่ได้หลายปี คิดง่าย ๆ ปีแรกก็คืนทุนแล้ว ปีต่อ ๆ ไปก็ถือว่าเป็นกำไร คิดแบบนี้มันถึงจะทำได้อย่างมีความสุข เมื่อมีความสุขแล้วไม่ว่าจะทำอะไรก็ดีไปทุกอย่าง” ป้าปทุม กล่าวในที่สุด....

        แผนการตลาด

        เรื่องตลาดจะมีแม่ค้ามาวิ่งรับซื้อ ซึ่งแม่ค้าที่ว่านี้ก็จะมารับซื้อถึงบ้านแล้วนำไปขายต่อในตัวจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งการตลาดนี่เป็นส่วนที่สำคัญมาก หากจะปลูกหรือจะทำอาชีพอะไร ต้องหาที่รับซื้อก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าหรือผลผลิตที่จะผลิตออกมานั้นสามารถขายได้ แล้วจึงลงมือปลูก การทำสะระแหน่ช่วยให้มีอาชีพเสริม ช่วยค่ากลับข้าวรายวัน และมีรายได้เข้ามาช่วยในช่วงรอการทำนา ซึ่งช่วยได้เยอะมาก วันหนึ่งตัดสะระแหน่ได้ 120 กำ คิดเป็นรายได้วันละ 600 บาท สำหรับพื้นที่ พื้นที่ 1 ไร่จะได้ผลผลิตอย่างน้อยวันละ 120-250 กำ วนเวียนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหมดรุ่น

        บทสรุป/ข้อเสนอแนะ

        ไม่ว่าเราจะเลือกทำอาชีพอะไรต้องมีความอดทนเป็นหลัก อย่าท้อ เพราะถ้าท้อก็จะไม่มีความสำเร็จ อาชีพปลูกผักเป็นอาชีพที่เหนื่อย ไม่มีเวลาพัก ต้องอดทน วันทั้งวันต้องอยู่ในสวน เก็บผัก มัดผัก ถอนหญ้า แต่มันเป็นงานในร่ม ตัดเสร็จก็ไปนั่งมัดในร่ม ไม่ร้อนไม่ลำบาก แถมมีรายได้ทุกวัน เห็นรายได้ก็มีความสุข…

ชมคลิป...

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก <<< 

ข้อมูลและภาพจาก rakbankerd

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ